Natural Swimming Pool สระว่ายน้ำธรรมชาติ

ความสนใจที่เริ่มก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 1-2 ปีมานี้ ก็คือการทำสระว่ายน้ำ…

เฮ้ย มันมาถึงจุดนี้ได้ยังไง

ได้สิ คือตอนนี้บ้านที่กำลังสร้างอยู่แม่งงบไม่พอ ก่อนหน้านี้ในแปลนเขียนว่าอยากให้มีสระว่ายน้ำเล็กๆ อยู่กลางบ้าน ซึ่งก็ไปดูงานบ้านและสวนเอย งานสถาปนิกเอย นับได้ 3 ปีแล้วก็พบว่า เออ บ้านเรานอกจากจะที่ไม่พอแล้ว ตังค์ยังไม่พออีก

แต่พอโครงการก่อสร้างสารพัดที่เริ่มเป็นชิ้นเป็นอันเรื่อยๆ (ก็ตามระยะเวลาและกำลังทรัพย์น่ะเนอะ) ในที่สุดก็มาเล็งโปรเจ็กต์นี้ครับ ปักไว้เต็มพินเทอเรสต์เลย 55555

ก่อนอื่นแนะนำตัวก่อนว่าอะไรคือ Natural Swimming Pool


(ภาพนี้หาต้นตอไม่เจอ ก๊อปกันเกลื่อนเน็ต)

คืองี้ครับ สระว่ายน้ำที่เราเห็น เรารู้จักกันนั้น เราจะเห็นว่าหลักการมันคือ ทำไงดีหนอให้น้ำใสจนคนเล่นได้ ควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในน้ำให้เป็นมิตรกับมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของ ดังนั้นในเชิงพาณิชย์ เขาก็เลยนิยมบำบัดน้ำอยู่สองระบบ คือระบบที่เติมคลอรีนลงไปในน้ำ กับระบบเกลือ ซึ่งสุดท้ายในทางเคมีมันก็สร้างคลอรีนเหมือนกัน แต่เป็นมิตรกว่าแบบแรก

แน่นอนว่าทั้งสองวิธีนั้นใช้เงินมหาศาลในการสร้าง และยังมีค่าใช้จ่ายในการดูแลต่อเดือนอีก ที่สำคัญคือต้องใส่ใจดูแลต่อเนื่อง เกิดไม่อยู่สักสามเดือนกลับมาดูนี่ สระน้ำกลายเป็นขี้เลยนะ

และแล้ว ระบบบำบัดแบบที่กำลังฮิตมากในยุโรป (ใช้คำนี้แล้วดูตามตูดฝรั่งดี) ก็เกิดขึ้นมา มันคือ “Natural Swimming Pool” (NSPs) นี่แหละครับ อะ กดดูใน Pinterest ก่อนเพื่อกระตุ้นกิเลส

ถ้าแบบคลิป แนะนำอันนี้ที่ออสเตรีย (เลือกมาเพราะว่ามีสาวบิกินีดำผุดดำว่ายนั่นเอง)

ในคลิปจะเห็นได้ว่าพอมีสาวบิกินีดำผุดดำว่ายเสร็จแล้ว อีตาลุงก็ชวนเพื่อนก้มลงไปตักน้ำดื่มได้เฉยเลย (ทำไมดูจิตๆ) ซึ่งนั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่าระบบบำบัดโดยธรรมชาตินั้นมันทำให้น้ำสะอาดใสแจ๋วและเป็นมิตรต่อร่างกายจริงๆ (ไม่ใช่ว่าอีกห้าปีลุงแกตายนะ)

แล้วมันคืออะไรยังไง

สระว่ายน้ำแบบธรรมชาตินั้นไม่ได้ใช้เคมีบำบัดครับ แต่เปลี่ยนคำว่าเคมี เป็นธรรมชาติแทน เปลี่ยนจากการเติมคลอรีนหรือเติมเกลือ (จนแบคทีเรียในน้ำตายห่าหมด น้ำจึงสะอาดใส) กลายเป็นใส่พืชน้ำให้มาบำบัด และเติมออกซิเจนอากาศลงไป อาจจะด้วยการทำปั๊มน้ำผุด น้ำพุ น้ำตก หรือกังหันน้ำก็ว่าไป แต่แกนของมันก็คือปล่อยให้ธรรมชาติสร้างสมดุลขึ้นมาเอง

ขุดสระ – เติมน้ำ – ปลูกไม้น้ำ แล้วจ้างพระเจ้าดูแลต่อฟรี จบแล้ว!

ซึ่งเอาจริงๆ ทั้งหมดทั้งปวงที่ว่ามานี้ มันก็คือ Pond (หนองน้ำ) ธรรมดาๆ นี่เอง ปัดโธ่

แต่เดี๋ยวก่อน สระว่ายน้ำ กับสระน้ำ มันต่างออกไปนิดหน่อยนะครับ สระว่ายน้ำเป็นสมบัติของมนุษย์ ผู้ไม่ยอมให้มีสัตว์อื่นเข้ามากล้ำกรายไม่ว่าจะเป็นกบ เขียด หรืองู! แน่นอนว่ามันต้องใสแหนว ว่ายน้ำได้สบายใจ

เท่าที่อ่านมานี่เจอกระทั่งว่าทำมา 3 ปีแล้ว พี่แกขุดลึกถึง 24 ฟุต แต่น้ำก็ยังใสจนมองเห็นกรวดใต้น้ำอยู่เลย!

ดังนั้นในขั้นตอนของการขุดสระ จึงต้องเตรียมพื้นให้เคลียร์ ไม่มีฝุ่นดินเลนเข้ามาปะปน โดยอาจจะขุดเสร็จ เคลียร์พื้นให้เรียบ แล้วปูผ้ายางสำหรับทำบ่อเลี้ยงปลา หรือไม่ก็ก่อผนังด้วยอิฐหรือซีเมนต์ไปเลย (ถ้าอยากให้พื้นสระดูใสสว่างก็ใช้สีอ่อนๆ เช่นพวกเทอร์ราซโซตราเสือ)

คลิปการสร้างสระแบบนี้ในเมืองไทย (เจ้าของคลิปเป็นฝรั่ง)

อันล่างนี่เป็นการทำสระที่อเมริกา มีเขียนกระดานดำให้ดูหลักการด้วย

เสร็จแล้วก็เผื่อพื้นที่ไว้ปลูกไม้น้ำ ส่วนนี้จะเป็นส่วนบำบัด ที่อยู่นอกเหนือจากส่วนเล่นน้ำ — ตรงนี้ผมยังไม่มีความรู้จริงๆ ครับว่าบ้านเราต้องปลูกต้นอะไรบ้าง ใครทราบรบกวนช่วยบอกเป็นวิทยาทานต่อยอดกันนะครับ ส่วนในยุโรปหรืออเมริกาที่เห็นเขาทำๆ กันนั้นก็ไม้น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาตินี่แหละ ต้นกก ต้นบัว ฯลฯ ปลูกมันไว้ตรงส่วนน้ำล้นขึ้นมาตื้นๆ


(ที่มา)

อันนี้คลิปที่ดูเคลียร์มาก (แต่น้ำไม่ค่อยใสเท่าไหร่)

ถ้าพูดถึงเรื่องของคุณภาพน้ำ น้ำในสระว่ายน้ำเราต้องควบคุมระดับความเน่าได้ (ว่าต้องไม่ให้เน่า) คือจะต้องไม่ไปปะปนกับแหล่งน้ำข้างนอกที่เราควบคุมให้สมดุลตลอดเวลาไม่ได้ ถ้าเผอิญอยู่ติดแหล่งน้ำ เราทำระบบน้ำล้นออกไปสู่ภายนอกได้ แต่ไม่เอาน้ำข้างนอกเข้ามาข้างใน อีข้างในนี่เราขอคุมเอง เก็ตนะ

ด้วยความที่ข้อจำกัดมันน้อยมาก การดูแลก็แค่มาดูว่าธรรมชาติมันสมดุลดีไหม มีกบลงไปวางไข่ไหม ตะไคร่ขึ้นหรือเปล่า (เห็นว่ามีบริษัทที่รับทำความสะอาดสระแบบธรรมชาตินี่ด้วย) ฯลฯ

สุดท้าย ทำยากไหม?

ไม่รู้สิ คลิปนี้พี่แกทำ(แทบจะ)คนเดียว ก็เสร็จเป็นสระสวยๆ หลังบ้านได้ โคตรดี

ปิดท้ายด้วยสระในไทย (แม่ริม เชียงใหม่) บ่อลึก 2 เมตร สระกว้าง 2.80 x 5.00 เมตร (ซื้อแบบมาจากอังกฤษ) คลิปนี้เพิ้งอัปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้เอง

เออ แถมอีกอย่าง มีตำราเป็น PDF ให้อ่านด้วย เห็นเขาแชร์กันใน Pinterest

ส่วนผมคงนั่งอ่านและรอดูคนทำในไทยไปก่อน อีก 10 กว่าปีเจอกันแน่นอน ถ้ายังไม่แก่จนถือจอบไม่ไหวน่ะนะ 5555

คอมเมนต์