รักษาอาการเสพติดมือถือ ด้วยแอปมือถือ (งงไหม)

เข้าเรื่องทันที… แอปนี้ชื่อว่า UBhind ครับ โหลดฟรีเช่นเคย

เรื่องของเรื่องก็คือ มีอยู่พักนึงที่ชาว #ทีมโน้ตสี่ ในกรุ๊ปไลน์ (มีอยู่แค่ 6 คน) ลุกขึ้นมาแข่งกันว่าในแต่ละวัน ใครจะสามารถลดละเลิกการเสพติดมือถือได้มากกว่ากัน แน่นอนว่ามันก็คงมีแอปอะไรที่สร้างขึ้นมาตอบโจทย์แบบนี้อยู่แล้ว เลยลองดูหลายๆ แนวทาง

บางแอปคิดออกมาได้ซิมเปิลมาก ก็คือดักพฤติกรรมการกด unlock ว่าเราเปิดจอดูวันละกี่ครั้ง บางแอปก็เพิ่มลูกเล่นขึ้นมาอีกหน่อยคือมีเปรียบเทียบกะวันก่อนๆ เป็นกราฟได้ บ้างก็มีปุ่มแชร์ให้ชาวบ้านดู อะไรก็ว่ากันไป

แต่อี UBhind นี่คือขั้นสุดครับ พอลงปั๊บมันจะแอบทำงานอยู่เบื้องหลัง (กินแบตและทรัพยากรเครื่องแน่นอน อันนี้ต้องดูว่าจะยอมแลกกับความสามารถที่มันให้มาไหม พอดีมือถือแบตอึดน่ะนะ เลยไม่ซี) แล้วแอบบันทึกสถิติการใช้งานของเราหลายอย่างมาก เช่น

UBhind

ดูว่าวันหนึ่งเราใช้มือถือไปกี่ชั่วโมง ใช้ดาต้าไปกี่กิ๊ก ไวไฟไปเท่าไหร่ เปิดหน้าจอวันละกี่ครั้ง เปิดแอปอะไรไปกี่นาทีกี่ชั่วโมง! คืออันหลังนี่โหดเลยครับ มันจะบอกว่าเราซื้อมือถือมาทำอะไรบ้าง พฤติกรรมการใช้งานในแต่ละวันคุ้มตังค์ไหม 5555 แต่พอดีเมื่อวานนี้ผมทำงาน (นี่ทั้งเดือนเพิ่งได้มานั่งทำงานจริงจังก็เมื่อวาน ชีวิตสลอธน่ะนะ) ก็เลยเปิดยูทูบไปเป็นเพื่อน สรุปคือล่อไป 5 ชั่วโมงรวด

งั้นลองสุ่มมั่วเอาของวันก่อนๆ ละกันครับ เหตุการณ์ปกติ กราฟจะออกมาทำนองนี้ Continue reading รักษาอาการเสพติดมือถือ ด้วยแอปมือถือ (งงไหม)

ลองทำคลิป Hyperlapse ด้วยแอปของ Microsoft

ก่อนอื่นดูคลิปนี้นะ เขาทำมาสักพักละ

เป็นโครงการเจ๋งๆ ของไมโครซอฟท์ที่ทำให้การถ่ายวิดีโอมีความราบรื่นจนน่าตกใจเหมือนใช้อุปกรณ์กันสั่นเมพๆ (แต่อันนี้ไม่ต้องลงทุนอะไรนอกจากมือถือ) หลักการทำงานคือ โปรแกรมมันจะซอยคลิปที่เราถ่ายมาแบบสั่นๆ นี่แหละ แล้วคำนวณ ปะผุ ซ่อมสภาพแวดล้อมโดยอาศัยเนื้อภาพจากเฟรมก่อนหน้าและถัดไป ผลออกมาจึงทำให้คุณต้องอึ้ง! เมี้ยว (พ่อง)

จนในที่สุดพอเห็นข่าวนี้ที่ Droidsans (ถ้าขี้เกียจกดไปอ่าน ข่าวเขาบอกว่า แอปนี้ออกรุ่นทดสอบแล้ว ใครมีมือถือรุ่นที่แอปรองรับ แล้วอยากลองเล่นก็เชิญ) ก็เลยตื่นเต้นกระพือปีก ว่าเฮ้ย เขาทำมาแจกเลยว่ะ ต้องโหลดมาลองเล่นดูบ้าง

จะว่าไปก็เคยเจอประสบการณ์ที่ดีกับบริษัทนี้มาแล้วเมื่อหลายปีก่อน กับโปรเจ็กต์ Microsoft ICE ในยุคที่ยังไม่มีโปรแกรมไหนที่ต่อพาโนรามาได้ดีเลย (สมัยนั้นยังโหลดเถื่อนมาแคร็กเล่นอยู่ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีเถื่อนตัวไหนที่ดีเลย) แล้วอีบ้าตัวนี้ก็ทำออกมาแจกฟรี!

กลับมาเข้าเรื่อง คราวนี้เป็นตัวแอปบนแอนดรอยด์บ้าง ไปกดเข้าร่วมทดสอบรุ่นเบต้าได้ที่ Microsoft Hyperlapse Mobile for Android Preview

แล้วก็โหลดมา ถ่าย กดเรนเดอร์ เสร็จแล้ว! ประทับใจที่มันเย็บและผลิตออกมาเร็วมาก ทีแรกคิดว่าจะคิดเยอะ ช้า อืด อะไรแบบนี้ แต่ไม่เลย


เร่งความเร็วเป็น 8x แล้วดูความเนียน น่ารักดี รถวิ่งดุ๊กดิ๊กๆ

.


นี่เร่ง 16x ภาพเนียนมาก เหมือนคลิปเก่าๆ เลย (ว่าแล้วก็เปิด YuTube Editor แล้วย้อมเป็นสีซีเปีย)

เสียดายไม่ได้เก็บต้นฉบับตอนถ่ายดิบๆ เอาไว้ แต่ช่างมัน เพราะมีเสียงพูดจากน้องเมียที่กำลังนินทาคนนั้นคนนี้ลอดเข้ามาด้วย มันจะไม่งาม

ทีนี้ใครถ่ายพระอาทิตย์ตกดินแบบเร่งสปีด (Time-lapse) หรือพาทัวร์อาคารสถานที่แบบเก๋ๆ ก็คงง่ายขึ้นกว่ามานั่งถ่ายภาพนิ่งทีละแชะๆๆ แล้วหาทางเย็บติดกันเป็นคลิป หรือต้องไปพึ่ง After Effects (เสียเงิน) แล้วลงนั่นนี่ให้เมื่อยละ ใช้ไอ้ตัวนี้เจ้าเดียวอยู่

LINE WebToons / ยุคใหม่ของวงการการ์ตูนและเว็บในบ้านเรา

หลังๆ มานี้ไม่ค่อยได้เขียนอะไรเนิร์ดๆ เพราะลาออกจากวงการเว็บและแอปแล้ว งานอดิเรกที่ชอบคุ้ยหาแอปเจ๋งๆ หรือเครื่องมือพัฒนาเว็บดีๆ ก็เลยจางหายไปด้วย แต่ปริมาณการอ่านการ์ตูนก็ยังคงเส้นคงวา คือไม่ได้เยอะเหมือนนักอ่านสายจริงจัง แต่เรียกว่าอ่านแทบทุกครั้งที่มีเวลาว่าง(อันน้อยนิด)จากการเลี้ยงลูก

แต่ส่วนตัวเป็นคนไม่อ่านการ์ตูนละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะอะไรไม่รู้ รู้สึกว่าจะเป็นศักดิ์ศรีค้ำคอของคนทำงานสายสร้างสรรค์ (ก็เป็นข้ออ้างที่น่าจะฟังขึ้น)

ที่สำคัญคือการอ่านการ์ตูนที่สร้างมาเพื่อให้ได้อรรถรสเต็มเปี่ยมเมื่ออยู่บนกระดาษ แต่แม่งดันมาเลื่อนๆ ดูในจอ มันไม่ใช่อะ กระดาษมันต้องพลิกอ่านสิวะ

webtoons

แอป LINE WebToons นี่ ผมรู้จักครั้งแรกก็ตอนที่เล่นไลน์ตามปกติ แล้วพอดีมันอยู่ในหน้าแจกเหรียญฟรี ด้วยความโลภอยากเก็บเล็กผสมน้อยเพื่อโหลดสติกเกอร์ฟรี ก็เลยโหลดมา ลองเปิดดู พบว่ามันเจ๋ง เลยกลายเป็นแอปที่เปิดเสพเป็นอันดับแรกๆ ของทุกๆ วันไปแล้ว (สารภาพว่าเพิ่งรู้ว่ามันมีเว็บก็เมื่อกี้ตอนค้นกูเกิลว่าชื่อมันเขียนยังไงนี่แหละครับ แล้วเวอร์ชันเว็บกฌเสือกครบกว่าในแอปมือถือที่ทำมาดีมากๆ อยู่แล้วอีกด้วย)

การได้เจอแอปดังกล่าว ความคิดที่ว่า “อ่านการ์ตูนมันก็ต้องสัมผัสกับกระดาษสิวะ ถึงจะได้อารมณ์” ก็เปลี่ยนไปตลอดกาล

เปล่าหรอก ไม่ได้บอกว่าการจับกระดาษ สูดกลิ่นน้ำหมึก และพลิกหน้าไปนิ้วดำไปอย่างที่ทำในทุกวันนี้มันไม่ดี แต่วัฒนธรรมรากฐานการผลิตงานการ์ตูนในรูปแบบของ “หนังสือเล่ม” นั้น เขามีกรอบที่เป็นกติกาอยู่

คือเวลาอ่าน มันต้องพลิก / เสพภาพรวม / แล้วค่อยเก็บรายละเอียดด้วยการกวาดสายตา มองซ้าย มองขวา (หรือกลับกันถ้าเป็นการ์ตูนที่อ่านจากขวามาซ้าย) แล้วพลิก / แล้วเสพ / ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆ จนจบเล่ม (ฟินไหม ฟินเนอะ) ซึ่งสิ่งนี้ดันทำได้ไม่ดีเมื่อมาอยู่ในจอคอมหรือมือถือซะยังงั้น เช่นเดียวกับพวกอีแม็กกาซีนต่างๆ ที่ดูยังไงก็ยังยึดติดกับภาพเก่าๆ ว่ามันต้องมีหน้าขวา หน้าซ้าย — หรือแม้แต่จะต้องมีแนวคิดแบบ “หน้า” อยู่เสมอ

ผมเองไม่ชอบเลย เวลาเห็นนิตยสารที่จัดเลย์เอาต์เป็นหน้าๆ เรียบร้อยเหมาะสำหรับการอ่านในเล่ม แต่นี่คือสแกนมาเป็น PDF แล้วเอามาให้อ่านบนจอ คือมันไม่ใช่อะตึ๋ง

ซึ่งพอมาอ่านการ์ตูนในแอปเว็บตูนส์นี่ แม่งเปลี่ยนความคิดเลย

การ์ตูนแต่ละเรื่อง (มีมาจากหลายสัญชาติ รวมถึงไทยด้วย แบ่งแนวเรื่องไว้เรียบร้อย) ใช้วิธีการดำเนินเรื่องแบบที่เหมาะกับการอ่านผ่านหน้าจอมือถือโดยเฉพาะ เพราะมันเป็นภาพนิ่งยาวๆ ต่อๆ กัน (ส่วนมากจะเขียนสวยมากๆ จนชักอยากรู้ค่าต้นฉบับ)

เวลาอ่านก็คืออ่าน หรือกวาดสายตาเสพภาพที่ปรากฏในหน้าจอมือถือ พอเสพจนจืด ก็รูด เลื่อนไปยังจอถัดไป หรือบางโอกาสอาจจะเลื่อนนิดเดียวก็ได้ หรือบางโอกาสก็ต้องเลื่อนลงไปยาวมากๆ ก็มี แต่ละภาพไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีจำกัดว่าตอนนึงจะต้องมีจำนวนหน้าเท่าไหร่ เพราะบางทีก็เจอทั้งสั้นบ้างยาวบ้าง ขาวบ้างดำบ้าง และสีบ้าง แต่หนึ่งตอนคือเหมือนเราดูซีรี่ส์จบหนึ่งเฮือกพอดี

จะเห็นประสิทธิภาพของการออกแบบประสบการณ์การอ่านนี้ได้ชัดกว่าปกติในการ์ตูนแนวระทึกขวัญครับ เพราะบางทีผู้เขียนก็เว้นจังหวะภาพด้วยการทิ้งที่ว่างไว้มืดๆ ยาวๆ ให้รูดปื้ด ปื้ด ปื้ดดดดดด ไล่ลงมา อึดใจที่รูดก็มีช่วงเวลาที่เราอินไปกับเนื้อเรื่องไปด้วย นั่นก็เป็นอารมณ์หนึ่ง

บางทีก็มีภาพที่เขียนไว้ภาพเดียวยาวๆ แบบพาโนรามาแนวตั้ง เช่นเรื่องวันสิ้นโลกหรืออะไรแนวนี้ (จำชื่อไม่ได้ ขี้เกียจหยิบมือถือมาดู) เวลารูดดูยาวๆ นอกจากจะตื่นตาตื่นใจกับงานภาพแล้ว มันยังทำให้เราจมไปกับเนื้อเรื่องเหมือนเป็นผู้แพนมุมกล้องด้วยตัวเองอีกด้วย

เหี้ย มันเจ๋งมากครับ ประสบการณ์อ่านแบบนี้ ตอนนี้เลยติดหนึบหนับอยู่หลายเรื่องเลย

แถมการ์ตูนก็มีหลายเรื่อง อัปเดตทุกวัน ตื่นมาปั๊บ เอาละ เห็นโนติของเรื่องที่ fav ไว้เด้งขึ้นมา ก็อ่านไปขี้ไป เพลินมากครับ ปริมาณ 1-2 เรื่อง/ตอน มันกำลังเหมาะกับการขี้อย่างพอดิบพอดี คือมึงคิดมาจบมาก

เข้าใจว่าวิธีการผลิตสื่อแบบนี้ในญี่ปุ่นหรือเกาหลีคงมีมานานแล้ว เพราะเขาเป็นสังคมมือถือมาก่อนบ้านเรา การรูดอ่าน และการออกแบบ UX ของแอปแนวๆ นี้คงมีให้เห็นอีกหลายเจ้า (แต่ผมเคยเห็นแค่ไม่กี่อัน นอกนั้นจะเป็นพวก Manga Reader ซึ่งยังไงก็ยังเป็นการพลิกแบบ “หน้ากระดาษ” อยู่)

แต่ของบ้านเรานี่ สถิติการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเอาชนะการเข้าผ่านหน้าจอคอมไปตั้งแต่ปีก่อน (เมื่อก่อนพูดเรื่องนี้จะตกใจและนึกภาพกันไม่ออก แต่ทุกวันนี้มันคือเรื่องธรรมดาแล้ว) ดังนั้นนโยบาย mobile-first นี่คือปัจจุบันแล้ว “มึง ทำเว็บให้มือถือก่อนสิโว้ย” ได้ตั้งนานแล้ว

เพราะต้นทุนการผลิตนิตยสารมันแพงมากๆ แถมผู้อ่านกลุ่มสำคัญยังเลิกอ่านกระดาษ หันไปอ่านผ่านจอ(เถื่อน)แทน นั่นเลยทำให้บูมเจ๊ง และนิตยสารการ์ตูนไทยเกิดมาทีไรก็เจ๊งกันแทบทุกเจ้า เจ้าที่ยังเหลืออยู่ก็ร่อแร่กันทั้งนั้น

ดังนั้นถ้าใครเห็นจุดพลิกผันเมื่อปีที่แล้วนี้ (คนอ่านมือถือ (ไม่ใช่จากคอมนะ) มากกว่าอ่านจากกระดาษ) นั่นคือโอกาสอย่างดีของค่ายนิตยสาร ไม่ว่าจะเป็นแนวการ์ตูนหรือไม่ก็ตาม

คีย์เวิร์ดสำคัญคือทุกคนมีมือถือ มีหน้าจอส่วนตัวกันเรียบร้อยแล้วนะครับ – เฮ้ย โคตรน่าสนุกกกก

ป.ล.
ในเว็บตูนส์นี่ ที่ชอบมีหลายเรื่องนะ ชอบสุดตอนนี้คือเรื่องลูกเต๋า กับเรื่องเซียนเกม ส่วนเรื่องที่เหี้ยมาก แนะนำสำหรับส่งให้เพื่อนที่เกลียด (นี่คือคำชม) คือเรื่องเทพบุตรมิติที่ 10 อะไรสักอย่าง แม่งอุมาก อุจนอยากปามือถือทิ้ง (แต่ก็กด fav และรอคอยการอัปเดตของมันอย่างเหนียวแน่น) ลองโหลดดูครับ อ่านดูสักเรื่อง

ป.อ.
สมัยผมเลิกทำเว็บเฟล ตอนนั้นเป็นช่วงที่เฟซบุ๊กกำลังเริ่มเข้ามามีอิทธิพล และกลืนกินเว็บใหญ่ๆ ตายห่าตายเหี้ยน เว็บเฟลก็โดนผลกระทบพอสมควร (ตอนที่เพิ่งเริ่มทำเฟล นั่นคือแค่มีปุ่มแชร์ขึ้นเฟซบุ๊กทวิตเตอร์ก็โคตรเจ๋งแล้ว) แต่พอมาถึงวินาทีนี้ อยู่ดีๆ ก็มีเว็บ “นอกเฟซบุ๊ก” ผุดขึ้มาเป็นปริมาณมหาศาล โอเคมันมีหลายเว็บที่ “ลอก” BuzzFeed มา แต่ก็ต้องไม่ปฏิเสธว่าการมีอยู่ของเว็บพวกนี้ มันทำแล้วโคตรประสบความสำเร็จเลย โมเดลการหารายได้มันเลี้ยงชีพได้จริงๆ จนน่าเอามาประยุกต์ใช้กับเว็บที่มีเนื้อหา “เป็นของตัวเอง” (อย่างสำนักพิมพ์ที่มีนักเขียนในสังกัด) และใช้โซเชียลต่างๆ ที่ตอนนี้เบ่งบานและสำแดงพลังกันเต็มที่ในขณะนี้ มาช่วยรับรองความสำเร็จ คือถ้าคนทำมีกึ๋นพอ มีเนื้อหาสักตอนสองตอนที่มันดังเปรี้ยงขึ้นมาจนยี่ห้อของตัวเองติดลมบน เท่านี้ก็สนุกสุดๆ ไปเลยนะครับ

ป.ฮ.
เออๆ ให้นึกถึงเว็บดราม่าก็ได้ เพราะอยู่มาตั้งแต่ยุคก่อนเฟซบุ๊กครองประเทศ จนตอนนี้มาถึงยุคมือถือสดๆ ร้อนๆ แล้ว จุดแข็งสำคัญยังคงเป็นการใช้ประโยชน์จากทั้งโซเชียลเองมาเป็นแขนขาเสริมกำลังให้กับเว็บ และใช้กระแสของเนื้อหาที่คัดมาแล้วว่าเป็นของขายได้ตลอด ทำให้มันอยู่ได้ …ไม่ใช่อยู่ได้ธรรมดา แต่อย่างแข็งแรงล่ำซำ มีแฟนคลับและเหล่าสาวกเหนียวแน่นมากๆ ด้วย (ที่จริงไม่ได้ตามอ่านดราม่ากันหรอก แต่คือคอยดูจ่าพิชิตว่าจ่ามันจะซื้ออะไร จะได้รอสักพักให้ลดราคางี้ โคตรศักดิ์สิทธิ์)

รีวิว TSwipe-Pro Keyboard for Android (คร่าวๆ)

เมื่อคืนนี้ดู WWDC2014 (ที่จริงไม่ได้ดูสดหรอก มันชนเวลาทำงานพอดี เลยมานั่งอ่านสรุปเอาหลังงาน) แล้วมีฟีเจอร์นึงของ iOS 8 ที่ผมว่าเจ๋งมาก คือเราสามารถ “เปลี่ยนคีย์บอร์ด” ไปใช้คีย์บอร์ดนอกได้แล้ว!!!! มหัศจรรย์!!! นี่ถ้าจะแขวะกันก็คงบอกว่า แอนดรอยด์แม่งทำได้มาห้าสิบกว่าปีแล้ว แต่เราจะไม่ทำ เพราะอะไรดีๆ เราก็อยากให้ก็อปกันครับ ผู้ใช้ได้ประโยชน์นี่นา

เผอิญว่ามีคนสงสัยว่าคีย์บอร์ด iOS แต่เดิม (ที่ฉันก็ว่ามันเลิศอยู่แล้วนะ)เนี่ย มันสู้ของแอนดรอยด์ไม่ได้จริงๆ เหรอ ก็จะบอกว่าสู้ไม่ได้เลยครับ ห่างชั้นกันมากๆ (แต่ต่อจากนี้ไปจะสู้ได้และแซงไปด้วยซ้ำ) เพราะมือถือแอนดรอยด์นั้นให้อิสระกับผู้ใช้ในการเลือกแป้นพิมพ์สำหรับ input ค่าต่างๆ ลงในระบบได้มาแต่ไหนแต่ไร มันก็เลยมีคนที่ออกแบบคีย์บอร์ดสารพัดยี่ห้อ และหลากหลายเทคโนโลยี ไม่เว้นแม้แต่นักพัฒนาไทยที่ทำออกมาก็หลายเจ้า

ส่วนของผมเองนั้นใช้ของ TSwipe ครับ เป็นคีย์บอร์ดที่ทำอะไรได้เยอะมากกกก มากจนนั่งอธิบายให้ฟังหรือทวีตเกทับกันสั้นๆ คงมีเวลาไม่พอ ผมเลยทำคลิปนี้ขึ้นมาอวดครับ

ถ้าขี้เกียจฟังน้ำๆ ก็จิ้มเอาเฉพาะช่วงเวลาได้นะ

2:32 ทดลองเปลี่ยนฟอนต์ได้นะ
3:30 เปลี่ยนตีม
4:30 การเพิ่มลบคำศัพท์ลงไป
5:40 การจัดการคลังคำศัพท์
6:49 อีโมจิ และความสามารถอื่นๆ
7:28 โหมดภาษา / สัญลักษณ์ / Navigation tools
8:10 การพิมพ์ข้อความด้วยเสียง (อันนี้สาธิตแล้วแป้ก)
9:10 Web key (พิมพ์ข้อความผ่าน url)

ที่จริงยังมีฟีเจอร์อีกเยอะแนะเลยครับ หรือแม้แต่ความเมพของการ swipe ภาษาไทยที่แม่นมากๆ และฉลาดขึ้นเรื่อยๆ ตามนิสัยของผู้ใช้เอง แต่ตอนอัดคลิปดันลืมโชว์ เฮ้ย 5555 :05:

รายนามแอปในมือถือแอนดรอยด์ของข้าพเจ้า

กาแล็กซี่ที่สามของข้าพเจ้า

พอดีเพิ่งซื้อ Note 3 มาน่ะครับ (ปากก็บอกว่าไม่ได้เป็นสาวกซัมซุง แต่ก็ใช้ทั้งโน้ต 1 ยันโน้ต 3 นะ)

ก็เลยเอาโน้ต 2 เครื่องเดิมไปขาย แล้วไหนๆ จะจากกันทั้งทีเลยขอลิสต์รายการแอปที่ลงไว้ และชอบจนจะลงในเครื่องใหม่อีกที ทั้งนี้ก็เป็นการแนะนำโลกของแอนดรอยด์ให้คนที่ไม่รู้จัก หรือค่อยได้เล่นอะไรกะมันไปด้วยเลย ขอเตือนว่าบล็อกนี้ยาวอีกชัวร์ แถมยังเต็มไปด้วยอคติและรสนิยมส่วนตัวเช่นเคยครับ

AirDroid

แอประดับห้าดาว (เดี๋ยวนี้เหลือ 4 ดาวครึ่งแล้ว) สุดยอดขวัญใจตลอดกาลตัวนึงของข้าพเจ้า เอาไว้โอนไฟล์ข้ามกันระหว่างมือถือกับคอม และจัดการนั่นนี่ได้เยอะมาก ภายใต้หน้าตาที่สวยงาม ใช้ง่าย เอาไว้ข่มพวกใช้ไอโฟน และกันตายได้หลายรอบละ

Delicious

เอาไว้เก็บลิงก์เด็ดจากแอปอ่านฟีดบ้างไรบ้าง แล้วเด้งเข้าทวิตเตอร์ในนาม #aroi ให้เอง (ผ่าน IFTTT)

Facebook + Facebook Messenger ข้ามไปเนอะ เพราะรู้จักกันหมดแล้ว

GALAXY Gift

แอปสำหรับคนใช้มือถือซัมซุงที่ชอบกินฟรี หรือกินของถูก ดูหนังถูกอะไรงี้ คือลงไว้เพื่อโชว์เหนือว่ากูเป็นอภิสิทธิ์นได้เพียงใช้มือถือยี่ห้อนี้ ถือเป็นแอปที่ดีและใช้งานได้จริงๆ ในชีวิตประจำวัน ยกให้เป็นโบแดงของซัมซุงไทยเลยครับ

Google+, Hangouts, Line ข้ามไป

Photo Frame Free:Easy Collage

เอาไว้จัดภาพถ่ายใส่เฟรมสามช่องสี่ห้าช่องก็ว่าไป เวอร์ชันที่ใช้เองนี่ฟรี แต่อันที่เสียตังค์คือซื้อให้ในเครื่องเมีย แล้วขี้เกียจจ่ายของตัวเอง เลยใช้ของฟรี ซึ่งก็ดีพอแล้ว

SolCalendar – Android Calendar

หลังจากหาแอปปฏิทินที่ใช้ง่ายจริงๆ และหน้าตาไม่ขี้เหร่จริงๆ มานาน ก็เจอตัวนี้ (ของกูเกิลเองสวย แต่ใช้ไม่ง่าย ผิดหวังนะ ส่วนของซัมซุงกลับกันคือใช้ง่ายแต่ไม่สวย) บ้าจริง เป็นปฏิทินสัญชาติเกาหลีที่หน้าตาดีมากกกกก ของเล่นกุ๊กกิ๊กเยอะมาก และความสามารถครบเท่าที่เราผู้นัดหมายอะไรไว้ในปฏิทินตลอดเวลาได้ซูฮกกับมัน ใครไม่เคยลอง ลงเลย อันนี้แนะนำมาก

WordPress อันนี้ก็ข้ามไป

อ้าว เพิ่งเห็นว่าแอปข้างบนนี่คือมันเพิ่งอัปเดต เลยรายชื่อมันขึ้นมาบนๆ ฉิบ ไม่ไล่ตามตัวอักษรซะงั้น งั้นต่อไปนี้จะเป็น A-Z ละนะครับ

“ราคาทอง” Gold price

เมื่อก่อนทองกำลังขึ้นเลยลงแอปนี้ไว้ดูราคาหนุกๆ พอซื้อปั๊บ แม่งลง ติดดอย อีห่า แอปกาก

Android Lost

เอาไว้หามือถือหาย ส่งพิกัด ส่งเสียง ข้อความ ถ่ายรูป ฯลฯ ได้หลายอย่างมาก ออกมาก่อนที่กูเกิลจะออก

Android Device Manager

ซึ่งพอทำได้เหมือนกันแต่ไม่เก่งเท่า เผอิญมีดีที่หน้าตาสวยกว่าเท่านั้นแหละ

AppGratis

เอาไว้แนะนำแอปที่ปกติเขาทำมาขาย แต่ไม่รู้ไปทำไงมาให้เขาแจกฟรีรายวัน วันละตัว ก็ดีนะ

Baby Sleep Music Lullaby Box

เอาไว้กล่อมเด็กที่บ้านให้หลับตั้งแต่ยังเป็นเบบี๋ ซึ่งมีหลายตัวในท้องตลาดนะ แต่ตัวนี้เพลงโอเคสุดแล้ว ซึ่งตอนนี้ก็ไม่ได้ใช้แล้ว เพราะแม่มันตัดสินใจซื้อแอปนิทานก่อนนอน ซึ่งได้ผลกับเด็กคนดังกล่าวตั้งแต่ขวบครึ่งเป็นต้นมา

Barcode Scanner

ไม่มีอะไรพิเศษ ลงไว้เพราะได้ใช้

Beautiful Timer

จัดอยู่ในหมวดแอป “สวยโคตร แต่เมื่อไหร่จะได้ใช้วะ” แต่มันสวยจริงๆ คือลงไว้ให้หนักเครื่องเล่นก็ได้ เพื่ออวดรสนิยม

Camera 360, Chrome ข้ามไปนะ

eBay

น่าตกใจที่หลังๆ มานี้ แอปนี้สวยขึ้นมากๆ ก็เลยใช้บ่อย เสียเงินบ่อยซะงั้น

Facebook Pages Manager

เหตุผลที่ต้องลงเพราะเมียโยนร้านสกรีนเสื้อให้ดูแลต่อแทน ก็เลยลงไว้ใช้คุยกะลูกค้า ซึ่งก็ดีนะ คือแอปมันแย่มากแหละ แต่มีไว้ก็ดีเพราะสถานการณ์บังคับ (ตรงที่ “ใครๆ ก็อยู่ในเฟซบุ๊ก”)

File Wrangler

แอป File Manager ที่หน้าตาเรียบๆ ดีไซน์แบบกูเกิลแท้ๆ เลย แต่ก็ทำได้หลายอย่างแบบที่กำลังพอดี คือไม่มากไป ไม่น้อยไป และเรารักความเร็วแบบนี้ (แต่ไอคอนน่าเกลียดจนอยากด่า)

Flickr

เอาไว้เก็บไฟล์ภาพถ่ายหรือภาพวาดเพื่อประกอบบล็อก (เช่นบล็อกตอนนี้ก็เช่นกัน) ข้อดีคือทุกอย่างสามารถทำได้จบในมือถือเลย และดีด้วย ถือเป็นบริการของค่าย Yahoo ที่น่าชม

Foursquare ข้ามไปนะ

Full Screen Caller ID – BIG!

เอาไว้โชว์หน้าตาคนโทรเข้ามาแบบเต็มๆ แน่นอนที่ต้องลงไอ้แบบนี้เยอะแยะเพราะหน้าตาของซัมซุงมันแย่มาก แต่โชคดีที่นี่คือแอนดรอยด์ ไม่ชอบอะไรก็ไปหามาสวมซะให้เป็นของเรา ซึ่งน่าเสียดายมากที่แอปนี้ไปโหลดมาในวันที่ AppGratis มันแจกให้ฟรีวันนึง พอน่จะลงใหม่ในเครื่องใหม่ มันดันเป็นรุ่นที่มีโฆษณา ก็เลยบ๊ายบายไปก่อนนะ

Gmail, Google Adsense, Google Analytics, Google Calendar, Google Drive, Google Earth, Google Maps, Google Text-to-speech, Google Translate ข้ามไป (รู้เลยว่าเป็นสาวก)

Google Keep

น่าจะเป็นลูกเมียน้อยอีกตัวของกูเกิล เมื่อก่อนเราใช้ GTasks ที่มันไปเชื่อมกับ Google Tasks แต่นั่นก็ท่าจะโดนปลดระวางไปแล้ว และหันมาชูไอ้ตัวนี้ได้แป๊บๆ แต่ก็ไม่มีลิงก์เข้าตรงๆ ผ่านปุ่มเก้าเม็ดของกูเกิล เลยสงสัยว่ามึงจะดันจริงหรือเปล่า แต่ก็ใช้บ่อยนะ ทุกวันแหละ เอาไว้จดทิ้งขว้างและ sync ข้ามเครื่อง (มันคือ EverNote ของกูเกิล)

GoPro App

เอาไว้ต่อกล้อง GoPro หนุกๆ

InstaFontMaker Font Maker Free

ทำฟอนต์ลายมือไว้ใช้งานเองในแอนดรอยด์ (และเอามาโมเล่นในคอมได้ด้วยแหละ) อ้อ ในทีมงานของแอปนี้มีคนไทยด้วย ดีใจมาก กรี๊ดกร๊าดเลย

Instagram

ลงไว้เพื่อคอมเมนต์ชาวบ้านแท้ๆ เลย

Lapse It • Time Lapse • Pro

เอาไว้ถ่าย Time-lapse เล่นหนุกๆ รู้สึกจะซื้อมาตอนมันลดราคานะ

MX Player

แอปดูหนังที่เหมาะมือที่สุดแล้วอันนี้ ชอบที่มันใช้นิ้วแถกลงไปบนจอเพื่อปรับเสียง ปรับตำแหน่ง ปรับความสว่างได้ ซึ่งแอปอื่นมันยุ่งยากกว่านี้

My Tracks

เอาไว้บันทึกเวลาและเส้นทางการขี่จักรยาน เสร็จแล้วเปิดดูเป็น Google Earth ได้ด้วย เวลาเห็นเส้นทางที่ตัวเองวิ่งปรู๊ดไปบนแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเป็นแอนิเมชันนี่ แม่งอลังการมาก! แถมยังสำรองข้อมูลไว้บน Google Drive อีกแน่ะ อย่างหลังนี่ชอบมาก (แต่ก็เชื่อว่าแอปนี้จะอยู่ได้ไม่นาน เพราะไม่เห็นมีการปรับดีไซน์อะไรตามแอปอื่นๆ ของกูเกิลเลยมานานแล้ว)

Nova Launcher + Nova Launcher Prime

อย่างที่บอกว่าเกลียดดีไซน์ของซัมซุง เลยลงตัวนี้ แล้วชีวิตก็ดีขึ้นมาก สะดวกมาก สนุกมาก เร็วมาก

OLYMPUS Image Share

คล้ายๆ แอปโกโปร แต่อันนี้คือกล้อง E-P5 ซึ่งมันถ่ายหันหน้าหาตัวเองไม่ได้ ก็ได้แอปนี้แหละช่วย

Pinterest

ในคอมใช้บ่อยมากถึงขั้นเสพติด เลยลงเวอร์ชันมือถือไว้ด้วย นานๆ จะได้นั่งเปิดดูสักที ส่วนมากจะเป็นการแชร์รูปภาพออก เดี๋ยวนี้สนิทพอๆ กัน หรือไม่ก็เผลอๆ สนิทมากกว่า Delicious ด้วยซ้ำ

Pocket

แอปสำรองอ่านที่ดีมากๆ ตุนไว้อ่านเยอะๆ แก้ว่างได้ดีนักแล

Poweramp Music Player

เอาไว้ฟังเดอะช็อกตอนแว้นไปนอกบ้านและทำงานง่วงๆ (ล่าสุดลองเปลี่ยนมาใช้ Clean Music Player ที่ไร้ระบบ Library แต่เล่นไฟล์จากโฟลเดอร์เอาเลยง่ายดี ซึ่งดี แต่ยังไม่สนิท)

Quickoffice

ชุดออฟฟิศที่โอเค อ่านไฟล์ PDF ได้ดีก็น้ำตาไหลแล้ว

QuickPic

แอปดูรูปที่ใช้สะดวกมือที่สุด ปรับนู่นนี่ได้เยอะ และใช้ง่ายกว่าแอป Gallery หลักของแอนดรอยด์ซึ่งน่ารำคาญมาก แม้จะเปลี่ยนมารวมกะ Google+ เป็นชื่อ Photos ก็ยังน่ารำคาญอยู่ เลยใช้ตัวนี้แหละ ใช้มานมนาน ตั้งกะสมัยมี hTC Legend แล้ว เมื่อก่อนใช้ดูภาพและอ่านการ์ตูน แต่อัปเดตล่าสุดนี่คอนโทรลไฟล์คลิปด้วยการลากนิ้วซ้ายขวาขึ้นลงได้ด้วย จบเลย แอปเดียวจบจริง

Reader+ | Reader Plus

แอปอ่านฟีดลูกเมียน้อย (คือเวลาค้นแล้วชื่อมันจะไม่ค่อยติดที่แรกๆ) ที่ผมว่าดีที่สุดเท่าที่จะหาได้แล้วแหละ ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นฝีมือนักพัฒนาชาวเวียดนาม

SketchBook Pro

ที่จริงของโน้ตสามก็มีแอปนี้เหมือนกันแต่เป็นเวอร์ชันในนามซัมซุง ก็โอเคนะ แต่เคยจ่ายเงินซื้อมันทั้งรุ่นโปรรุ่นไม่โปรมาแล้ว ก็เลยใช้ต่อละกันจะได้ดูเท่ ตัวนี้ใช้บ่อยมาก และยืนยันว่ามันเทพจริงๆ สุดๆ โคตรๆ รีดความเจ๋งของปากกาโน้ตสามมาได้สุดยิดมิดด้าม

Snapseed

ใครที่ชอบถ่ายภาพง่ายๆ ด้วยโทรศัพทพ์มือถือ แต่ขี้เกียจแต่ง ขี้เกียจยัดและเลือกฟิลเตอร์ (ผมคนนึง) แต่อยากได้ภาพที่มันดูดีๆ หน่อย ต้องแอปนี้เท่านั้นครับ กล้ายืนยันด้วยเกียรติของพนักงานพับเสื้อยืดเลย ถ้าใครที่เคยใช้ก็คงไม่ตองบรรยายละ แต่ดูแล้วเป็นแอปที่แต่งภาพได้ดีและสะดวกรวดเร็วๆ สุดๆ และได้ผลงานออกมาสวยงามที่สุด เป็นความสวยงามที่สวยจริงๆ ไม่ใช่สวยแบบอัดฟิลเตอร์เพื่อปิดบังข้อบกพร่องอย่าง Camera360 หรือ อตก นู่น (โดนสาวกกระทืบ)

Super-Bright LED Flashlight

ในตลาดมีแอปไฟฉายประมาณ 100000 ตัว ผมว่าตัวนี้มันง่ายดี ไอคอนไม่เลว หน้าตาโอเค มีใครเสนอตัวอื่นไหมครับ

SuperBeam | WiFi Direct Share

ไว้แชร์สารพัดของกันระหว่างเครื่อง สะดวกๆๆ ยิ่งมี NFC หรือทำ Wifi Hotspot ได้ก็จะยิ่งชอบแอปนี้

Thailand Radio

เอาไว้ฟังเพลง ฟังรายการ อ.วีระ (จบ)

Timely Alarm Clock

แอปนาฬิกาปลุกที่สวยงามสง่าท้าแดดฝนที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้

True iService

เอาไว้เช็กว่าเดือนนี้จ่ายค่ามือถือหรือยัง ใช้เน็ตไปเท่าไหร่แล้ว และเผลอๆ ก็เอาไว้จ่ายบิลออนไลน์ผ่านบัตรเครดิตในแอปซะเลย

TSwipe-Pro keyboard

ใช้มาตั้งแต่สมัยแรกสุดที่รู้จักมือถือฉลาดยี่ห้อแอนดรอยด์เหมือนกัน ทุกวันนี้พิมพ์ข้อความด้วยคีย์บอร์ดตัวนี้ เร็วกว่า และสะกดถูกต้องกว่าพิมพ์บนคอมไปแล้ว ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ นี่ถ้าผมตายไปฝากบอกลูกหลานให้เผามือถือที่ลงแอปนี้ไปให้ด้วยนะ เดี๋ยวจะโชว์สกิลการเป็นผีถ้วยแก้วให้ดู ลากเส้นเป็นคำได้มันส์มาก

Tumblr

เอาไว้อัปบล็อกการ์ตูนนินทาลูก และถ่ายภาพจักรยานตามสถานที่ต่างๆ สมเป็นวิถีสลิ่ม (แต่ไม่ได้แชร์ไปที่อื่นนะ ด้วยความสันโดษแบบแปลกๆ คือมึงจะโซเชียลหรือไม่กันแน่ก็ไม่รู้ 5555)

Twilight

เอาไว้ปรับสีจอให้เป็นสีส้มๆ เพื่อถนอมสายตาเวลาเล่นกลางคืนๆ หรือนอนคลุมโปงเล่นมือถือ ถ้าไม่เชื่อ ลองลงดู ในแอปมีผลวิจัยนั่นนี่รังสีสเปกตรัมให้อ่านด้วย

Twitter

หลักฐานที่บอกว่าเราเสพติดสังคมออนไลน์คือสิ่งนี้แหละ ใช้เวลาอยู่กับมันนานพอๆ กับการเปิด Reader+ เพื่ออ่านข่าว (เผลอๆ ก็อ่านข่าวเสร็จ แชร์มาทวีตงี้ ดูเหมือนเป็นคนมีความรู้ขึ้นมาทันที ง่ายเนอะ)

Vine

แอปถ่ายเล่นที่ถูกลืม ที่จริงชอบนะ สนุกดี 6 วินาทีเอง ถ่ายอะไรแม่งไม่ทันสักอย่าง สัส