ถ้าชอบคุยไลน์ตอนขี้ “นี่คือสติกเกอร์ของคุณ”

20160609-Banner

ไม่คิดว่าการที่ตัวเองจะทวีตเรื่องขี้บ่อยๆ จนเป็นนิสัย มันจะสร้างช่องทางทำกินได้แบบนี้…

วันนั้นคุณบัฟโฟ่ @buffotoon แห่งบันลือสาส์น ได้ติดต่อมาถามว่าอยากทำสติกเกอร์ไหม–โอเค (ตอบกลับไปในเสี้ยววินาที) ก็เลยได้ทำในนามของ Vithita by Banlue Publications ซะเลย (ให้มืออาชีพเขาขายให้ดีกว่า สำหรับคนขยันอย่างเรา แฮ่)

พอเสร็จออกมาเป็นอันๆ แล้วก็ตื่นเต้น ส่งสแปมไปแม่งทุกกรุ๊ป นี่ยังเหลือกรุ๊ปผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลลูกอีกอันที่ยังไม่กล้า เดี๋ยวเขาตกใจ 555555

"Happy Toilet" Line Sticker

สำหรับคอนเซปต์เอยอะไรเอยของผลงานนั้น ขอก๊อปมาจากที่คุยกับบัฟโฟ่เลย

บฟ:
แอนครับ การตลาดอยากให้แอนตอบคำถาม 2 ข้อ
เอาไปประกอบข่าวครับผม รบกวนหน่อย
1.คอนเซปต์ในการวาดสติกเกอร์ชุดนี้คืออะไรครับ
2.แรงบันดาลใจในการทำสติกเกอร์ชุดนี้มาจากไหนครับ

อ: ช่างแบบว่า…
บฟ: อ่านคำถามแล้ว…

อ:
1. คอนเซปต์คือภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง
ที่เราพบเห็นกันได้บ่อยๆ ตามห้องน้ำสาธารณะ
เป็นการระเบิดพลังแห่งความอัดอั้นตันใจสู่แดนสุขาวดี
2. จากส้วมครับ

ก็นั่นแหละครับ…

เอ้าขายของสิ โหลดเลยครับ! สามสิบบาทเท่านั้น หรือใครเป็น #ทีมเหรียญฟรี สะสมเหรียญเหริญแต้มเติ้มได้มากพอ ก็ไปจิ้มโหลดกันเลยยย

Happy Toilet (ชื่อไทย: สุขาสุขี)
http://line.me/R/shop/detail/1278212

ขอบคุณครับ

ป.ล.
ถ้าสังเกตดีๆ ในสติกเกอร์ชุดนี้ไม่มีคำว่าขี้เลยครับ ทำไมน่ะรึ เพราะไลน์ไม่ให้ผ่านไงล่ะ!

LINE WebToons / ยุคใหม่ของวงการการ์ตูนและเว็บในบ้านเรา

หลังๆ มานี้ไม่ค่อยได้เขียนอะไรเนิร์ดๆ เพราะลาออกจากวงการเว็บและแอปแล้ว งานอดิเรกที่ชอบคุ้ยหาแอปเจ๋งๆ หรือเครื่องมือพัฒนาเว็บดีๆ ก็เลยจางหายไปด้วย แต่ปริมาณการอ่านการ์ตูนก็ยังคงเส้นคงวา คือไม่ได้เยอะเหมือนนักอ่านสายจริงจัง แต่เรียกว่าอ่านแทบทุกครั้งที่มีเวลาว่าง(อันน้อยนิด)จากการเลี้ยงลูก

แต่ส่วนตัวเป็นคนไม่อ่านการ์ตูนละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะอะไรไม่รู้ รู้สึกว่าจะเป็นศักดิ์ศรีค้ำคอของคนทำงานสายสร้างสรรค์ (ก็เป็นข้ออ้างที่น่าจะฟังขึ้น)

ที่สำคัญคือการอ่านการ์ตูนที่สร้างมาเพื่อให้ได้อรรถรสเต็มเปี่ยมเมื่ออยู่บนกระดาษ แต่แม่งดันมาเลื่อนๆ ดูในจอ มันไม่ใช่อะ กระดาษมันต้องพลิกอ่านสิวะ

webtoons

แอป LINE WebToons นี่ ผมรู้จักครั้งแรกก็ตอนที่เล่นไลน์ตามปกติ แล้วพอดีมันอยู่ในหน้าแจกเหรียญฟรี ด้วยความโลภอยากเก็บเล็กผสมน้อยเพื่อโหลดสติกเกอร์ฟรี ก็เลยโหลดมา ลองเปิดดู พบว่ามันเจ๋ง เลยกลายเป็นแอปที่เปิดเสพเป็นอันดับแรกๆ ของทุกๆ วันไปแล้ว (สารภาพว่าเพิ่งรู้ว่ามันมีเว็บก็เมื่อกี้ตอนค้นกูเกิลว่าชื่อมันเขียนยังไงนี่แหละครับ แล้วเวอร์ชันเว็บกฌเสือกครบกว่าในแอปมือถือที่ทำมาดีมากๆ อยู่แล้วอีกด้วย)

การได้เจอแอปดังกล่าว ความคิดที่ว่า “อ่านการ์ตูนมันก็ต้องสัมผัสกับกระดาษสิวะ ถึงจะได้อารมณ์” ก็เปลี่ยนไปตลอดกาล

เปล่าหรอก ไม่ได้บอกว่าการจับกระดาษ สูดกลิ่นน้ำหมึก และพลิกหน้าไปนิ้วดำไปอย่างที่ทำในทุกวันนี้มันไม่ดี แต่วัฒนธรรมรากฐานการผลิตงานการ์ตูนในรูปแบบของ “หนังสือเล่ม” นั้น เขามีกรอบที่เป็นกติกาอยู่

คือเวลาอ่าน มันต้องพลิก / เสพภาพรวม / แล้วค่อยเก็บรายละเอียดด้วยการกวาดสายตา มองซ้าย มองขวา (หรือกลับกันถ้าเป็นการ์ตูนที่อ่านจากขวามาซ้าย) แล้วพลิก / แล้วเสพ / ทำแบบนี้วนไปเรื่อยๆ จนจบเล่ม (ฟินไหม ฟินเนอะ) ซึ่งสิ่งนี้ดันทำได้ไม่ดีเมื่อมาอยู่ในจอคอมหรือมือถือซะยังงั้น เช่นเดียวกับพวกอีแม็กกาซีนต่างๆ ที่ดูยังไงก็ยังยึดติดกับภาพเก่าๆ ว่ามันต้องมีหน้าขวา หน้าซ้าย — หรือแม้แต่จะต้องมีแนวคิดแบบ “หน้า” อยู่เสมอ

ผมเองไม่ชอบเลย เวลาเห็นนิตยสารที่จัดเลย์เอาต์เป็นหน้าๆ เรียบร้อยเหมาะสำหรับการอ่านในเล่ม แต่นี่คือสแกนมาเป็น PDF แล้วเอามาให้อ่านบนจอ คือมันไม่ใช่อะตึ๋ง

ซึ่งพอมาอ่านการ์ตูนในแอปเว็บตูนส์นี่ แม่งเปลี่ยนความคิดเลย

การ์ตูนแต่ละเรื่อง (มีมาจากหลายสัญชาติ รวมถึงไทยด้วย แบ่งแนวเรื่องไว้เรียบร้อย) ใช้วิธีการดำเนินเรื่องแบบที่เหมาะกับการอ่านผ่านหน้าจอมือถือโดยเฉพาะ เพราะมันเป็นภาพนิ่งยาวๆ ต่อๆ กัน (ส่วนมากจะเขียนสวยมากๆ จนชักอยากรู้ค่าต้นฉบับ)

เวลาอ่านก็คืออ่าน หรือกวาดสายตาเสพภาพที่ปรากฏในหน้าจอมือถือ พอเสพจนจืด ก็รูด เลื่อนไปยังจอถัดไป หรือบางโอกาสอาจจะเลื่อนนิดเดียวก็ได้ หรือบางโอกาสก็ต้องเลื่อนลงไปยาวมากๆ ก็มี แต่ละภาพไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีจำกัดว่าตอนนึงจะต้องมีจำนวนหน้าเท่าไหร่ เพราะบางทีก็เจอทั้งสั้นบ้างยาวบ้าง ขาวบ้างดำบ้าง และสีบ้าง แต่หนึ่งตอนคือเหมือนเราดูซีรี่ส์จบหนึ่งเฮือกพอดี

จะเห็นประสิทธิภาพของการออกแบบประสบการณ์การอ่านนี้ได้ชัดกว่าปกติในการ์ตูนแนวระทึกขวัญครับ เพราะบางทีผู้เขียนก็เว้นจังหวะภาพด้วยการทิ้งที่ว่างไว้มืดๆ ยาวๆ ให้รูดปื้ด ปื้ด ปื้ดดดดดด ไล่ลงมา อึดใจที่รูดก็มีช่วงเวลาที่เราอินไปกับเนื้อเรื่องไปด้วย นั่นก็เป็นอารมณ์หนึ่ง

บางทีก็มีภาพที่เขียนไว้ภาพเดียวยาวๆ แบบพาโนรามาแนวตั้ง เช่นเรื่องวันสิ้นโลกหรืออะไรแนวนี้ (จำชื่อไม่ได้ ขี้เกียจหยิบมือถือมาดู) เวลารูดดูยาวๆ นอกจากจะตื่นตาตื่นใจกับงานภาพแล้ว มันยังทำให้เราจมไปกับเนื้อเรื่องเหมือนเป็นผู้แพนมุมกล้องด้วยตัวเองอีกด้วย

เหี้ย มันเจ๋งมากครับ ประสบการณ์อ่านแบบนี้ ตอนนี้เลยติดหนึบหนับอยู่หลายเรื่องเลย

แถมการ์ตูนก็มีหลายเรื่อง อัปเดตทุกวัน ตื่นมาปั๊บ เอาละ เห็นโนติของเรื่องที่ fav ไว้เด้งขึ้นมา ก็อ่านไปขี้ไป เพลินมากครับ ปริมาณ 1-2 เรื่อง/ตอน มันกำลังเหมาะกับการขี้อย่างพอดิบพอดี คือมึงคิดมาจบมาก

เข้าใจว่าวิธีการผลิตสื่อแบบนี้ในญี่ปุ่นหรือเกาหลีคงมีมานานแล้ว เพราะเขาเป็นสังคมมือถือมาก่อนบ้านเรา การรูดอ่าน และการออกแบบ UX ของแอปแนวๆ นี้คงมีให้เห็นอีกหลายเจ้า (แต่ผมเคยเห็นแค่ไม่กี่อัน นอกนั้นจะเป็นพวก Manga Reader ซึ่งยังไงก็ยังเป็นการพลิกแบบ “หน้ากระดาษ” อยู่)

แต่ของบ้านเรานี่ สถิติการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเอาชนะการเข้าผ่านหน้าจอคอมไปตั้งแต่ปีก่อน (เมื่อก่อนพูดเรื่องนี้จะตกใจและนึกภาพกันไม่ออก แต่ทุกวันนี้มันคือเรื่องธรรมดาแล้ว) ดังนั้นนโยบาย mobile-first นี่คือปัจจุบันแล้ว “มึง ทำเว็บให้มือถือก่อนสิโว้ย” ได้ตั้งนานแล้ว

เพราะต้นทุนการผลิตนิตยสารมันแพงมากๆ แถมผู้อ่านกลุ่มสำคัญยังเลิกอ่านกระดาษ หันไปอ่านผ่านจอ(เถื่อน)แทน นั่นเลยทำให้บูมเจ๊ง และนิตยสารการ์ตูนไทยเกิดมาทีไรก็เจ๊งกันแทบทุกเจ้า เจ้าที่ยังเหลืออยู่ก็ร่อแร่กันทั้งนั้น

ดังนั้นถ้าใครเห็นจุดพลิกผันเมื่อปีที่แล้วนี้ (คนอ่านมือถือ (ไม่ใช่จากคอมนะ) มากกว่าอ่านจากกระดาษ) นั่นคือโอกาสอย่างดีของค่ายนิตยสาร ไม่ว่าจะเป็นแนวการ์ตูนหรือไม่ก็ตาม

คีย์เวิร์ดสำคัญคือทุกคนมีมือถือ มีหน้าจอส่วนตัวกันเรียบร้อยแล้วนะครับ – เฮ้ย โคตรน่าสนุกกกก

ป.ล.
ในเว็บตูนส์นี่ ที่ชอบมีหลายเรื่องนะ ชอบสุดตอนนี้คือเรื่องลูกเต๋า กับเรื่องเซียนเกม ส่วนเรื่องที่เหี้ยมาก แนะนำสำหรับส่งให้เพื่อนที่เกลียด (นี่คือคำชม) คือเรื่องเทพบุตรมิติที่ 10 อะไรสักอย่าง แม่งอุมาก อุจนอยากปามือถือทิ้ง (แต่ก็กด fav และรอคอยการอัปเดตของมันอย่างเหนียวแน่น) ลองโหลดดูครับ อ่านดูสักเรื่อง

ป.อ.
สมัยผมเลิกทำเว็บเฟล ตอนนั้นเป็นช่วงที่เฟซบุ๊กกำลังเริ่มเข้ามามีอิทธิพล และกลืนกินเว็บใหญ่ๆ ตายห่าตายเหี้ยน เว็บเฟลก็โดนผลกระทบพอสมควร (ตอนที่เพิ่งเริ่มทำเฟล นั่นคือแค่มีปุ่มแชร์ขึ้นเฟซบุ๊กทวิตเตอร์ก็โคตรเจ๋งแล้ว) แต่พอมาถึงวินาทีนี้ อยู่ดีๆ ก็มีเว็บ “นอกเฟซบุ๊ก” ผุดขึ้มาเป็นปริมาณมหาศาล โอเคมันมีหลายเว็บที่ “ลอก” BuzzFeed มา แต่ก็ต้องไม่ปฏิเสธว่าการมีอยู่ของเว็บพวกนี้ มันทำแล้วโคตรประสบความสำเร็จเลย โมเดลการหารายได้มันเลี้ยงชีพได้จริงๆ จนน่าเอามาประยุกต์ใช้กับเว็บที่มีเนื้อหา “เป็นของตัวเอง” (อย่างสำนักพิมพ์ที่มีนักเขียนในสังกัด) และใช้โซเชียลต่างๆ ที่ตอนนี้เบ่งบานและสำแดงพลังกันเต็มที่ในขณะนี้ มาช่วยรับรองความสำเร็จ คือถ้าคนทำมีกึ๋นพอ มีเนื้อหาสักตอนสองตอนที่มันดังเปรี้ยงขึ้นมาจนยี่ห้อของตัวเองติดลมบน เท่านี้ก็สนุกสุดๆ ไปเลยนะครับ

ป.ฮ.
เออๆ ให้นึกถึงเว็บดราม่าก็ได้ เพราะอยู่มาตั้งแต่ยุคก่อนเฟซบุ๊กครองประเทศ จนตอนนี้มาถึงยุคมือถือสดๆ ร้อนๆ แล้ว จุดแข็งสำคัญยังคงเป็นการใช้ประโยชน์จากทั้งโซเชียลเองมาเป็นแขนขาเสริมกำลังให้กับเว็บ และใช้กระแสของเนื้อหาที่คัดมาแล้วว่าเป็นของขายได้ตลอด ทำให้มันอยู่ได้ …ไม่ใช่อยู่ได้ธรรมดา แต่อย่างแข็งแรงล่ำซำ มีแฟนคลับและเหล่าสาวกเหนียวแน่นมากๆ ด้วย (ที่จริงไม่ได้ตามอ่านดราม่ากันหรอก แต่คือคอยดูจ่าพิชิตว่าจ่ามันจะซื้ออะไร จะได้รอสักพักให้ลดราคางี้ โคตรศักดิ์สิทธิ์)

#กรุ๊ปไลน์ครอบครัว

เมื่อเช้าทวีตไปว่างี้ครับ

คือพ่อผมชอบส่งอะไรแบบนี้มา แต่ละวันจะมีคำทักทายพร้อมแนบภพในสไตล์ที่ทำให้สงสัยอยู่เสมอว่าเฮ้ย ทำไมชีวิตเราถึงไม่เคยผ่านสังคมที่มีภาพพวกนี้เลยวะ แต่พ่อกลับเป็นคนที่ส่งอะไรแบบนี้มาได้ทั้งวัน ในแวดวงไลน์ของพ่อจะต้องมีอะไรแบบนี้เป็นทรัพยากรอยู่อีกเยอะแหงๆ เลย

แล้วก็มีชาวทวิตภพทยอยแบ่งปันภาพจากประสบการณ์ส่วนตัวมาเพื่อช่วยย้ำให้มั่นใจว่า #กรุ๊ปไลน์ครอบครัว นั้น ช่างคัลต์อย่างน่ามหัศจรรย์ Continue reading #กรุ๊ปไลน์ครอบครัว