ยืมหนังสือดีๆ มาอ่านฟรีจากห้องสมุดออนไลน์ โครงการอ่านเปลี่ยนโลก

ผมดูรายการสัมภาษณ์คุณช่อสักรายการ จำไม่ได้แล้ว ตอนจบรายการ คุณช่อโฆษณาโครงการนึงของคณะก้าวหน้า ชื่อว่า Reading Revolution อ่านเปลี่ยนโลก

ใจความของโครงการที่ทำให้สนใจก็คือ เขาเป็นห้องสมุดออนไลน์ที่คัดหนังสือดีน่าอ่านมาให้เราได้ อันฟรีถึงบ้านเพียงกดยืมในเว็บให้เวลาอ่านหลายวันมากด้วยนะเสร็จปั๊บก็ส่งคืนทางไปรษณีย์ไทยซึ่งเขาแนบซองติดแสตมป์มาให้ด้วยเท่ากับเราอ่านฟรีไม่ต้องเสียตังค์อะไรเลยสักบาทเดียว

นี่พิมพ์ด้วยเสียง ลูกสาวได้ยินเข้าเลยหันมาถามว่า “แล้วเขาจะมีรายได้ยังไง”

คำตอบคือเขาเปิดรับบริจาคจากประชาชนทั่วไปแล้วมีสปอนเซอร์ใหญ่ที่ให้ทุนเยอะก็คือโก๋แก่ (ลูกถามว่าคือใครเหรอ) — เป็นขนมถั่วๆ น่ะ หนูเคยเห็นไหมที่เคยขายในเซเว่นน่ะ / ใช่ที่เป็นรูปลุงมีผมยาวๆ ปะ / ใช่ๆ (นี่ประทับใจเลยขอชื่นชมเขาหน่อย)

ผมไม่แน่ใจว่าโครงการนี้มีที่มาที่ไปยังไงเพราะไม่ได้ติดตามมาก่อน แต่พอรู้ว่ามีหนังสือดีๆ ให้อ่านฟรี เรามันชอบของฟรี ก็เลยกดเข้าไปดูในเว็บทันทีที่คุณช่อพูดว่า เอ่อ

ปรากฏว่าหนังสือที่ลิสต์ไว้ในหน้าเว็บ มีแต่หนังสือที่น่าอ่านทั้งนั้นเลยจริงๆ ด้วย! (ตัวอย่างหนังสือดี 21 เล่ม) ก็เลยลองจิ้มๆ จัดมาก่อน 1 เล่มโดยการกรอกแบบฟอร์มในเว็บ

สักพักก็มีอีเมลมายืนยัน แล้วไม่นานก็มีหนังสือมาส่งถึงบ้านจริงๆ!

แน่นอนว่ามีซองและแสตมป์แถมมาให้ด้วย แถมยังมีโปสการ์ดแถมมาอีกแผ่น

ประทับใจจนอยากบอกต่อ มายืมหนังสือกับโครงการนี้กันครับ!

ส่วนข้างล่างนี้ก๊อปมาจาก description ยูทูบข้างบน :

“อ่านเปลี่ยนโลก” (Reading Revolution) คือ โครงการส่งต่อหนังสือ ขยายพรมแดนความรู้ เปิดจินตนาการความเป็นไปได้ใหม่ๆ ผ่านการอ่านของ Common School โดย คณะก้าวหน้า

เราคัดเลือกหนังสือที่กระตุ้นให้เกิดจินตนาการถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อนำมาแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่านในรูปแบบการยืมและส่งต่อ (Book Sharing) หลังจากนั้น จะมีการจัดวงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน (Reading Group)

การเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ ไม่สามารถอาศัยกำลังทางกายภาพและจำนวนปริมาณเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีความคิดชี้นำเพื่อไปสู่ความเปลี่ยนแปลงใหม่ การทำงานทางความคิดจึงเป็นขบวนการสำคัญ ดังที่ Lenin กล่าวไว้ว่า “หากปราศจากทฤษฎีปฏิวัติ ย่อมไม่มีขบวนการปฏิวัติ” หากความคิดความเชื่อแบบเดิมยังคงดำรงอยู่ การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น การต่อสู้แย่งชิงเพื่อแตกหักกับความเชื่อเดิม สร้างความคิดความเชื่อใหม่จึงจำเป็น

การอ่าน คือ วิธีการเข้าถึงความรู้ วิธีการบ่มเพาะความคิดความเชื่อ ดังนั้น ความคิดใหม่จะเกิดขึ้นได้ ย่อมขึ้นกับว่าเราอ่านอะไร อ่านกับใคร และเข้าถึงการอ่านได้อย่างไร

ยืมหนังสือฟรี! pgmf.in.th/https://progressivemovement.in.th/article/common-school/3350/reading-revolution/

—–

สนับสนุนการทำงานของ Common School ได้ทางบัญชีธนาคารกรุงศรี ชื่อบัญชีมูลนิธิคณะก้าวหน้า เลขที่บัญชี 493-1-08675-7

ป.ล. รู้สึกว่าพิธีกรจะถามคุณช่อว่า “ถ้าหนังสือหาย ชำรุด หรือคนที่ยืมไปแล้วไม่คืนล่ะจะทำยังไง” คุณช่อตอบว่า “ก็ต้องช่วยๆ กัน…”

#ปิดเล่มแล้วจะเขียนอะไรก็ได้ ตอน The Final Countdown

ดูสิ กะว่าปิดเล่มเสร็จแล้วจะเขียนบล็อกถี่ๆ วันละตอนให้ได้เลย แต่พอเอาเข้าจริง ดันมีงานนู่นนี่ที่อั้นไว้ตอนยังเขียนต้นฉบับไม่เสร็จ จนต้องผัดงานนู้นงานนี้ไปต่อท้าย

แล้วกรรมก็สนองออกมาเป็นความไม่ว่างอย่างแรงด้วยงานที่พอกไว้อีกหลายวันต่อเนื่อง โครงการเขียนบล็อกวันละตอนก็เลยเป็นหมันไป

ช่างมัน เอาเป็นว่าคราวนี้ขอเขียนสั้นๆ เช่นเคย (เคยตอนไหนวะ) ว่าตอนใกล้ปิดเล่มนั้น ผมพบว่าวิธีการทำงานให้มีสมาธิและเพลิดเพลินมากๆ นั่นคือการเปิดอะไรฟังไปเป็นเพื่อนด้วย รับรองว่าอยู่ได้ทั้งคืนไม่มีง่วง และ พ.ศ.นี้ “อะไร” ที่ว่านั้น หวยมาออกที่พอดแคสต์ครับ… ซึ่งเรื่องพอดแคสต์นี่มีอะไรจะเล่าเยอะมาก ขอยกยอดไปครั้งถัดไป เดี๋ยวยาว

และอีกอย่างที่ทำให้ไม่เถลไถลไม่แวะไปนั่งทวีตเล่นหรือนั่งอ่านนู่นอ่านนี่ให้เสียเวลา นั่นคือการเปลี่ยนวอลเปเปอร์แบบโหดๆ ให้ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือสลับหน้าจอโปรแกรม ต้องเห็นภาพบาดตานี้

ทีแรกผมใช้เป็นภาพตารางเวลา ปฏิทินเส้นตายที่ได้มาจากบอกอกาย กะว่านี่โหดแล้ว เปิดมาทีไรก็เห็นเดดไลน์ต่อหน้าต่อตา

แล้วก็พบว่า เฮ้ย มันยิบไปว่ะ มันไม่ตูมใส่สมองในเสี้ยววินาทีแรกที่เห็น

จน 2-3 วันสุดท้ายที่ตั้งเวลาไว้กับตัวเองว่ากูต้องทำต้นฉบับให้เสร็จให้ได้ ก็เลยต้องผลิตนวัตกรรมอีกแบบขึ้นมา และมันได้ผลว่ะ

นั่นคือวอลเปเปอร์อันนี้

final-countdown

เท่านั้นยังไม่พอ ในหน้าโฮมของโครม อันเป็นโปรแกรมที่พาเราเข้าสู่โลกแห่งความเถลไถล ผมเปลี่ยนให้เป็นลิงก์คลิปยูทูบนี่

เปิดมาให้เล่นเพลงเลยครับ! คือเพลงนี้แม่งเป็นเพลงที่เคยใช้เปิดวนทั้งคืนเพื่อปลุกใจสมัยทำธีสิสตอนเรียนในช่วงท้ายๆ ดังนั้นจึงผูกพันกับมัน และเป็นเพลงที่ฟังยังไงก็ไม่เบื่อ ไม่เอียน หลอนอยู่ในหัวเท่าไหร่ก็ไม่เอียน แต่กลับกระตุ้นว่าเฮ้ย มึง ชีวิตมงอีกแค่นิดเดียวก็จะผ่านมันไปได้แล้วนะ!

ทั้งหมดนี้เลยเป็นอีกสูตรนึงที่ผมทำมาแล้วได้ผล เลยเอามาบอกต่อสำหรับคนที่อย่ในภาวะ Final Countdown เหมือนกันครับ

ทั้งนี้ขอแจกไฟล์วอลเปเปอร์นี้ขนาดเบิ้มๆ ไปให้ใช้กันด้วย เอ้าโหลด

อันนี้โฆษณา

อันนี้รีวิวจากผู้ใช้

อันนี้มีการดัดแปลงไปใช้ตามใจชอบ

ขอให้ทุกท่านผ่านพ้นวิกฤตการณ์ Final Countdown ไปได้ด้วยดี
สวัสดี.

แต่เอ๊ะ มัวแต่มาอ่านบล็อก งานมึงจะเสร็จไหมล่ะ

// แถมๆๆ
เดี๋ยวพอเล่มจริงเสร็จแล้วจะมาอวดอีกที ที่นี่แหละ (เล่มศิลป์ซิตี้ลืมเขียนถึงเฉยเลย แง)

#ปิดเล่มแล้วจะเขียนอะไรก็ได้ ตอน การซื้อหนังสือการ์ตูนไม่ใช่เรื่องแมสๆ อีกต่อไป

บอกไว้ก่อนว่านี่ก็เป็นการบ่นซ้ำๆ ในเรื่องที่เราก็รู้ๆ กันนั่นแหละ คือวงการหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นแบบที่เราคุ้นๆ กันมาหลายสิบปี มันกำลังหายใจรวยรินเต็มที

แต่ถึงรู้แบบนั้น จะบ่นซ้ำอีกก็คงไม่เป็นไรเนอะ เพราะอีกเดี๋ยวก็จะไม่มีให้บ่นแล้ว สถานะของเรื่องที่บ่นอยู่นี่ก็จะเหลือไว้แค่เพรยงความทรงจำ ที่อีกพักนึงก็ลืม ผ่านไปห้าปีสิบปี กลับมาอ่านก็จะไม่เก็ต ซึ่งน่าเสียดายยิ่ง

ก็เลยบ่นละกันเนอะ

bookstore

ณ ชั่วโมงนี้ ร้านการ์ตูนประจำที่เคยแวะเวียนเป็นประจำมากกว่า 20 ร้าน ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด “เกือบทั้งหมด” ปิดกิจการลงในช่วง 1-3 ปีมานี้ ยังคงเหลือเจ้าที่ยังแวะเวียนอยู่บ่อยๆ แค่สามเจ้า คือ B-Books ข้างเมเจอร์รัชโยธิน, ร้านรัตนาภรณ์ ซอยเสนา และร้านบาร์ใหม่ ม.เกษตร

ในย่านซอยเสนาเคยมีร้านหนังสือทั้งแบบซื้อ แบบเช่า รวมกัน 6-7 ร้าน เอาเฉพาะร้านขายก็มี 3-4 ร้านได้เนอะ ตอนนี้ร้านที่ยังคงยืนหยัดขายหนังสือ นิตยสาร (และอุปกรณ์เครื่องเขียน + ลายแทงหวย) ก็คือรัตนาภรณ์

ร้านรัตนาภรณ์ (แผนที่) เป็นร้านที่ผมชอบมากที่สุดตลอดสิบปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มาอาศัยอยู่แถวๆ นี้ แม้เดี๋ยวนี้พอย้ายบ้านออกมา ก็ยังหาโอกาสแวะเวียนไปฟังเสียงหวานๆ ของเจ๊แป้น สาวแว่นใจดีตัวเล็ก ที่จำผมได้ตั้งแต่สมัยนู้น จนเดี๋ยวนี้แม้จะห่างหายกันไปนาน เพราะผมย้ายบ้านออกมาอยู่ไกลจากแถวนั้น แต่เดือนสองเดือนพอแวะไปทีนึง แกก็ยังจำได้อยู่เสมอ

การจำลูกค้าได้ และทักทาย หรือบางทีไม่ทักทายก็ไม่เป็นไร แต่รู้นะว่าจำได้ ประสบการณ์นี้หาที่ร้านหนังสือตามห้างไม่ได้นะครับ

วันนี้ผมมีธุระแถวนั้น เลยขอวะสักหน่อย ก่อนแวะก็เช็กดูว่าเรื่องที่ติดตามอยู่มีออกเล่มใหม่หรือยัง (ผมใช้แอป miimai – มีไหม ซึ่งเวิร์กมากๆ ช่วยชีวิตคนที่เผลอพลาดซื้อการ์ตูนซ้ำเล่มได้ดีมากๆ) ก็โอเค ซื้อไซโคเมทเธอร์ เล่ม 13 แล้วก็พบว่า

แม่งขึ้นราคาเป็น 70 บาท

เหี้ย 70 บาท นี่กูยังจำได้อยู่เลยว่ามันเพิ่งขึ้นจาก 25 เป็น 30 บาทสมัยโคนันแรกๆ จนเลิกซื้อไป (มึงก็แก่ไป)

หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นกับเด็กตอนนี้ก็เริ่มหาความเชื่อมโยงกันยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะจำนวนเงิน 70 บาทนี่ถือว่าสูงมากๆ เข้าใจว่ามันติดบ่วงวงจรอุบาทว์ และงูกินหางตัวเองไปเรื่อย (ยอดขายน้อยลงมากๆ สวนทางกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น) ก็สรุปได้เลยว่าในระยะเวลาอันใกล้มากๆ นี้ วงการการ์ตูนญี่ปุ่นฉบับลิขสิทธิ์ที่ยังขายแบบเดิมๆ แบบที่เราค้นเคยกันมาตั้งแต่เด็กๆ ก็กำลังรอวันล่มสลายเนอะ

ไหนจะซีคิดส์ที่ฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้าย ถามเจ๊แป้นแล้วแกบอกว่าเล่มนี้ดันขายดีเพราะมีคนซื้อเก็บ เนี่ย หมดร้านเลย เดี๋ยววันจันทร์(มะรืนนี้) จะไปรับมาใหม่ น้องมาอีกรอบนึงนะ

แม้แต่เจ้าแห่งนิตยสารขายดีอย่างคู่สร้างคู่สมเองก็บอกไว้สักแห่งว่าโดนผลกระทบไม่น้อยเลยเช่นกัน เพราะโฆณาน้อยลง ก็ต้องลดการผลิตลง เนื่องจากคนอ่าน “มีตัวเลือกอื่นๆ มากขึ้น” ไม่เห็นต้องอ่านนิตยสารเลย

เราเลยได้ลาก่อนเปรียว ลาก่อนสกุลไทย ลาก่อนพลอยแกมเพชร อินสไตล์ วอลุ่ม ไรต์เตอร์ คอสโม่ ลาก่อนวีว่า บูม ซีคิดส์ และลาก่อนการ์ตูนรวมเล่มดีๆ หลายสำนักพิมพ์ที่โดนลอยแพไปเพราะแบกรับต้นทุนไม่ไหว

จะว่าก็ว่าเถอะ นิตยสารหลายๆ หัวที่เจ๊งไป บางฉบับนั้นดี แต่บางเจ้ามันก็กากจริงๆ นะครับ เนื้อหาแบบเดียวกับที่อ่านได้ในเน็ตอยู่แล้ว แต่ซื้อแบบกระดาษมาก็ต้องมาสคิปข้ามโฆษณาไปค่อนเล่ม อีห่า ชุ่ยเกิน ตายไปเลยไป

แต่อีเหี้ย ที่ยังรับความจริงของโลกนี้ไม่ได้ก็คือ เม็ดเงินโฆษณาหลายๆ พันล้านในแต่ละปีที่ตอนนี้โยกจากสื่ออื่นไปออนไลน์กันมากขึ้นเรื่อยๆ เนี่ย ดันไปหวยออกที่เหล่าแอดมินเพจเฟซบุ๊กจนแม่งรวยเอาๆ 5555 เห็นแล้วเหม็นยังไงก็ไม่รุ้ รู้สึกว่านี่มันเป็นสภาวะระบบนิเวศน์ที่บิดเบี้ยวผิดที่ผิดทางอยู่ ยังไม่ลงตัวลงล็อกบางอย่าง อารมณ์เหมือนมีคนปล่อยปลาซักเกอร์(เบิร์ก) ลงมาในแหล่งน้ำสาธารณะ แล้วตอนนี้แม่งขยายพันธุ์ยั้วเยี้ยเต็มไปหมด มองเข้าไปทั้งจากสายตาชาวบ้าน และสายตากำนันผู้ใหญ่บ้านก็บอกเลยว่าไม่รู้จะทำยังไงดี ไม่รู้คนอื่นรู้สึกไหม หรือแฮปปี้กันดีวะ โอ๊ยพูดงี้เดี๋ยวโดนด่า 55555

ถาม: แล้วมึงเดือดร้อนอะไร อิจฉาเหรอ เดือดร้อนเหรอ เปล่าเลยนี่
ตอบ: เดือดร้อนสิครับ เรื่องอิจฉานั่นเรียกว่าหมั่นไส้ดีกว่า 55555 เอาแค่มันส่งผลกระทบต่อวงจรนิตยสารประจำที่ติดตามอยู่ทยอยปิดตัวลง แค่นี้ก็เดือดร้อนมากๆ แล้ว ไหนจะการ์ตูนขึ้นราคาขนาดนี้อีก นี่ไม่ได้มองวงกงวงการอะไรเลยนะ มองแค่ตัวเองที่หนังสือเล่มโปรดทยอยหายไป การ์ตูนดีๆ หลายเรื่องที่รอให้มันออกไลเซนส์ไทย แต่ไม่มีใครกล้าเอามาขายเพิ่มซะทีเนี่ย โอ๊ยเดือดร้อนจะตายชัก

ทางออกที่สำนักพิมพ์บางเจ้ากำลังดิ้นอยู่ก็คือ การแปลงตัวเองเป็นอีบุ๊ก อันไหนได้รับความนิยมหน่อยก็ค่อยทำออกมาเป็นเล่มจริงวางขาย ไม่รู้เหมือนกันว่าเวิร์กไหม แต่ก็ภาวนาพุทโธมากๆ ว่าจงอยู่รอดปลอดภัย และต่อสู้กับพวกแปลเถื่อนได้สักหน่อยเหอะ

แต่เอ้อ อยากจะบอกว่า เท่าที่ผ่านมา โมเดลการแปลงตัวเองจากสำนักพิมพ์กระดาษไปเป็นอีบุ๊ก อีแม็กกาซีน หรือแพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ นี่ ดูมาหลายปีมากๆ ออกมากี่แพลตฟอร์ม เท่คูลแค่ไหร ก็ยังไม่เห็นเจ้าไหนอยู่รอดหรืออยู่ได้เลยครับ ก็อย่างที่รู้กันนะว่าเรามีทัศนคติกันว่าโลกออนไลน์มันต้องฟรี …แต่มึงเสียตังค์ซื้อสติกเกอร์ไลน์และเติมเงินในเกมกันนะ ก็ซื้ออะไรอ่านดูไหมล่ะ

ที่พูดนี่คือผมเองยังไม่ซื้อเลย 555555 ไม่ชอบหนังสือไฟฟ้าง่ะ ความรื่นรมย์มันต่างกันมากๆ

ก็ได้แต่ภาวนาว่าที่ผ่านมามันเป็นการมาก่อนกาลนะครับ ตอนนี้คุณกาลกรุณาพร้อมได้แล้ว เริ่มเห็นการปรับตัวของนิตยสารหลายๆ ฉบับ เช่น WAY เปลี่ยนตัวเองเป็นแนว bookgazine นานๆ ออกที แพงหน่อยแต่แน่นเปรี๊ยะ หรือบางฉบับเปลี่ยนเป็นฟรีก๊อปปี้ คนซื้อไม่ต้องซื้อ แต่อ่านหนังสือที่มีโฆษณาเยอะหน่อย แฮปปี้ดี แบบเดียวกับพวกแอปมือถือเลยที่คนชอบแอปฟรีแต่มีโฆษณามากกว่าแอปเสียเงิน

หรือแม้แต่บางฉบับที่ประกาศว่าฉันจะโกออนไลน์เต็มตัว ต่อไปจะเป็น content provider ให้คนอ่านอ่านฟรี พยายามกระตุ้นให้เกิดยอดวิวเยอะๆ แล้วเวลาขายโฆษณาก็ขายแพ็กพ่วง อวดการแชร์ อวดยอดวิวงั้นงี้ว่าไป เอาตังค์โฆษณามาเลี้ยงชีพ (ซึ่งอันนี้แหละคือโมเดลที่ดูโอเคมั้งใน พ.ศ.นี้ แต่ก็นะ พอตัวเลขพวกนี้มันชัดและชูโรง มันเลยไปทำอะไรที่ทุ่มเทลงทุนเจาะลึกมากไม่ได้ และก่อกำเนิดการพาดฉาบฉวยหัวล่อคลิกมากมาย ไม่เว้นแม้สำนักข่าวที่ดูมีมาตรฐานก็ยังทำหำๆ แบบนี้เลย) ทั้งหมดนี้ก็ขอเอาใจช่วยละกันครับ

แต่ก็นั่นแหละ อย่างไรก็ตามถ้ามองจากมุมคนอ่านการ์ตูน และสะสมการ์ตูนเต็มผนังบ้าน นี่คือความเศร้า แต่ถ้าถอยออกมามองจากสายตา (สายตาใครดีวะ พระเจ้างี้เหรอ จะจบหล่อๆ แต่นึกไม่ออก) มันก็คือกฎการคัดเลือกตามธรรมชาติธรรมดาๆ แค่นั้นเอง คนที่แพ้ก็ตายจากไป และเผ่าพันธุ์ที่ปรับตัวได้และแข็งแกร่งพอเท่านั้นที่จะอยู่รอด ออกลูกออกหลาน และวิวัฒนาการต่อไปได้

ก็ขอภาวนาพุทโธ

จบ

ป.ล.
ความเครียดคือ หาซื้อเอย์จิ (ภาค 2) เล่ม 11 ไม่ได้ คือจำไม่ได้ว่าซื้อมาแล้ว วางไว้ที่ไหนสักแห่งแต่ยังไม่ได้อ่าน เอ๊ะหรืออ่านแล้ววะ กะว่าจะปิดต้นฉบับให้เสร็จก่อนแล้วค่อยอ่าน พอเปิดเล่ม 12-13 แล้วงง เล่มก่อนเนื้อเรื่องมันไปถึงไหนแล้ววะ คือเรื่องมันต่อกัน มันอ่านข้ามไม่ได้ไง ทำไงดีวะ ทวีตถามก็ท่าจะไม่มีคนรู้เลย เพราะการซื้อการ์ตูนอ่านมันไม่ใช่กิจกรรมกระแสหลักมาพักใหญ่แล้ว ฟวยมาก

ป.อ.
ก็เลยต้องกูเกิลดู และได้รู้ว่ามีกระทู้สปอยล์ในพันทิปว่ะ เลยเข้าไปส่องๆ ดู เออ โอเค เล่ม 11 ยังไม่ได้อ่าน ถ้าหาไม่เจอจะซื้อใหม่ ถึงแม้ในแอป miimai เราลงไว้ชัดเจนว่าซื้อแล้วก็ตาม (เศร้าอยู่ดี)

ป.ฮ.
โอ๊ย คิดถึงการเขียนบล็อกเพ้อเจ้อไหลยาวไปเรื่อยๆ ไม่ได้ประเด็นแก่นสารไม่ต้องตรวจทานแบบนี้มาก ตอนปั่นต้นฉบับก็ว่าจะแวะมาเขียนแต่แม่งไม่ได้สักที งั้นตั้งชื่อหัวข้อว่างั้นละกัน เดี๋ยวจะมาต่ออีกหลายเรื่อง เรื่องยูธูปก็ยังไม่ได้เขียน อยากเล่าโว้ย

[Get Talks] โตแล้วยังอ่านการ์ตูนอีก?

อารัมภบทเกี่ยวกับรายการ Get Talks กันนิดนึง
ตอนนี้ตอนทำงานหรือขับรถ ผมนิยมฟัง Podcast (ก็คือรายการวิทยุนั่นแหละ แต่เป็นแบบออนไลน์) ไปด้วย เพราะมันสะดวกดี มือทำอย่างอื่น ตาทำอย่างอื่น แต่หูว่าง ก็เปิดฟังเพลินๆ ตอนนี้ติดตามอยู่ 3-4 รายการ เช่น WitCast, BATCast, Omnivore, JUSTดูIT., GM Cast, RadioMANGA (เกินยังวะ) (ทั้งหมดดูเป็นชื่อรายการฝรั่ง แต่พูดไทยทั้งหมดนะครับ ผมภาษาอังกฤษยังไม่ได้แข็งแรงพอจะฟังฝรั่งคุยกันยาวๆ ได้เถอะ)

และสุดท้ายที่นึกออกและเราจะมาอวยกันวันนี้คือ “Get Talks” ของสองพิธีกร แซมมี่และกตัญญู ซึ่งต่างคนก็ต่างมีหน้าที่การงานกันดีอยู่แล้วแหละนะ แล้วมึงมาจัดรายการกันทำไม ว่างเหรอ

คืองี้ครับ วันก่อน คุณแซมติดต่อเข้ามาชวนคุยเรื่องการอ่านการ์ตูน ผมก็งงๆ ไม่กล้ารับปากมัน เกรงว่าเราจะไปรู้อะไรเรื่องการ์ตูนนักวะ เพราะตัวเองก็แค่คนหนึ่งในท่ามกลางผู้คนอีกมากมายหลายล้านที่ต่างก็เติบโตและอ่านการ์ตูนมาตั้งแต่เด็กจนโตมาเหมือนๆ กัน คือมันเป็นเรื่องที่หันไปทางไหนก็เจอแต่คนที่รู้เยอะกว่าผมแน่นอน

พอไอ้แซมเห็นผมอึกอักทำท่าจะรับปากแหล่ไม่รับแหล่ มันก็ให้เหตุผลที่รู้สึกว่าเออ ผมยอมรับได้ นั่นก็คือ “ก็ผมรู้จักพี่คนเดียว”

GetTalks-iannnnn

พอถึงวันนัด ทีมงาน Get Talks ก็ยกสตูดิโอ (ก็มีสองคนนั่นแหละ กะมือถือเครื่องนึงไว้อัดเสียง) มานั่งสัมภาษณ์กันอย่างจริงจังที่บ้านลาดปลาเค้า ถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายๆ เดือนที่ผมได้นั่งคุยกับมนุษย์นานขนาดนี้ แถมยังเป็นเรื่องที่ตัวเองก็ประหม่าอยู่ใช่ย่อย

แต่พอเริ่มปริปาก โอ้โห ต้องขอกล่าวอย่างสุภาพเลยครับว่าเย็ดเป็ด ความทรงจำของวัยรุ่นยุค 90s (เห็นกำลังฮิตแซะกันใช่มะตีมนี้) ก็พรั่งพรูทะลักทลายพรวดพราดออกมาอย่างรุนแรงเหมือนดั่งเพิ่งอัดน้ำยาดีท็อกซ์สวนเข้าไปในรูตูด อั้นไว้ 3 นาทีแล้วตัดสินใจคลายการเกร็งหูรูด พุ่งมากๆ! พุ่งมากๆ!

มากไป!

มากไปจนกลายเป็นว่า ตลอดเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่งของรายการนั้นเต็มไปด้วยเนื้อหาดักแก่ และความโรแมนติกข้นคลั่กของอดีตเด็กที่โตมากับวัฒนธรรมการอ่านการ์ตูน ทั้งการ์ตูนสายหลัก สายรอง สายโป๊ (<--ดอกจัน) รวมถึงการพยายามลิสต์รายชื่อการ์ตูนโปรดของแต่ละคน แทนที่จะเลยไปเรื่องอื่นที่มันร่วมสมัย เช่นว่าด้วยการล่มสลายของอาณาจักรการ์ตูน หรือวงการการ์ตูนดิจิทัล พวกเว็บตูนงี้ นี่กลายเป็นว่ามาโชว์กันว่าใครจะรำลึกความหลังได้มากกว่ากันซะยังงั้น แต่นั่นกลับกลายเป็นว่า เออแม่งสนุกฉิบหายเลย 5555 คือทุกคนต่างแลกเปลี่ยน ต่างจากเทปอื่นๆ ที่แขกรับเชิญจะเชี่ยวชาญเรื่องอะไรสักอย่างสัสๆ ที่น่าเสียดายมากก็คือ พอคุยๆ ไป เวลามันผ่านล่วงเลยไปเร็วมาก ก็ยังรู้สึกว่ามีการ์ตูนอีกหลายเรื่องที่ปลิวหลุดไปจากความทรงจำ บางเรื่องถูกยกขึ้นมาพูดแล้วก็นั่งนึกกันอยู่นาน แต่พอร้องอ๋อปั๊บ เฮ้ย เรื่องนี้กูอินเว้ยยยยย แต่กับบางเรื่อง กดหยุดเทปอัดจบรายการ ก็มานั่งสบถกันด้วยความเสียดายว่าเฮ้ย เมื่อกี้ลืมพูดถึงเรื่องนี้ว่ะะะะะ อารมณ์ประมาณว่า มีนักท่องเที่ยวมาถามว่าประเทศยูมีอะไรฮาๆ มั่ง ให้เวลาเล่าแป๊บนึง เชื่อเถอะว่าเล่ายังไงก็ไม่หยด (แค่หมวดการปกครองก็ฮาจนหมดเวลาแล้ว) ก็เลยเหมือนเป็นการเปิดช่องให้คนฟัง (ใช่แล้ว คุณนั่นแหละครับถ้าเกิดทนฟังได้จนจบ) ได้ร่วมสนุก ร่วมแชร์ และแบ่งปันประสบการณ์ของคุณกันบ้างเนอะ ขอบคุณทั้งสองท่านนะครับที่ให้เกียรติ และขอบคุณที่เอาพลังงานมาฝากอย่างล้นเหลือ ฟังเลยครับ

ป.ล.
หลังจากจบการบันทึกรายการ เดินไปส่งอีสองคนนี้หน้าบ้าน กำลังจะปิดรั้ว ผมก็บอกอีแซมไปว่า เออ ทำรายการงี้ก็สนุกดีเหมือนกันแฮะ น่าทำมั่งว่ะ 555

ป.อ.
ไอ้แซมบอก เอาดิพี่

ป.ฮ.
คืนนั้นเลยได้ชื่อและโลโก้รายการเรียบร้อย รวมถึงผู้ดำเนินรายการแล้วด้วย ก็คือแซมกะผมนี่แหละ ไม่ได้หาจากที่ไหนไกลเล้ย 55555 เอาไว้เดี๋ยวให้มันเสร็จสักตอนแล้วมาอัปเดตกันอีกทีครับ

กามาผาโด้

เพิ่งเคยได้ยินใช่ไหมครับชื่อนี้ ผมก็เพิ่งเคยได้ยินเมื่อ 10 นาทีที่แล้วนี่เองเหมือนกัน

พอดีตอนเช้ามีอีเมลมาจากฝ่ายสมาชิกของอมรินทร์บุ๊กส์ที่ผมเป็นสมาชิกนิตยสารอยู่ เนื้อหาข้างในพูดถึงโครงการรับบริจาค ซื้อหนังสือ (จากอมรินทร์นั่นแหละ) ส่งไปให้กับห้องสมุดโรงเรียน




เรียน ท่านสมาชิก
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ อณัญญา
โทร. 02- 423 9999 ต่อ 6141 , 02-4239889 ต่อ 4
E-mail : ananya-r@amarin.co.th

มีเอกสารแนบเป็นไฟล์เวิร์ดด้วย

พอดีผมไม่มีเวิร์ดเลยเปิดไม่ได้ พรีวิวจับภาพในอีเมลได้อย่างเดียว เลยเมลไปบอกเขาว่าโอเค ผมเอาด้วย เหมาหมดเลยครับ แต่ไม่สะดวกกรอกเอกสาร ต้องทำยังไงบ้าง

สักพักฝ่ายสมาชิกเขาโทรมา น้ำเสียงหลั่นล้ามาก เดาว่าคงไม่ค่อยมีคนติดต่อกลับไปแบบนี้

คุยกันกับคุณอมรินทร์ ก็เลยให้เลือกว่าจะระบุโรงเรียนไหนไหม หรือจะรับเป็นหนังสือไปบริจาคเอง หรือว่าจะให้ทางสำนักพิมพ์เป็นธุระจัดส่งให้ เราก็หยอดเงินไปอย่างเดียวก็พอ

พอดีไม่มีโรงเรียนไหนเป็นพิเศษ เลยเลือกอย่างหลังไป ปลายสายหันไปปรึกษาทีมงานสักครู่ก็บอกว่า ในอมรินทร์มีคนที่จบจากโรงเรียนนี้ / หรือคนที่เคยไปบริจาคของโรงเรียนนี้อยู่คนนึง แต่เป็นโรงเรียนที่ไม่สะดวกออกเอกสารอนุโมทนาบัตรใดๆ กลับมานะคะเพราะเขาอยู่ไกล (ผมบอกไม่เป็นไร ไม่เอา)

โรงเรียนนี้ชื่อ โรงเรียน ตชด.บ้านกามาผาโด้ ลองกูเกิลดูนะคะ… ได้ครับ

มีสตอรี่ประกอบหน่อยนึงว่า โรงเรียนนี้อยู่ไกล กันดารอย่างที่เห็นในคลิปนี้ครับ ที่เคยมีไปบริจาคของน้องๆ มาก็พบว่า แค่ขนมถุงเดียวน้องมาเห็นก็ตาลุกวาว แบ่งกันกินได้ทั้งโรงเรียนแล้ว

ก้มลงมองขนมตัวเองข้างจอคอม…

เลยฝากมาบอกข้อมูลต่อว่าถ้าจะบริจาคอะไรอย่างอื่น เช่นเสื้อผ้า ขนม ฯลฯ ก็ฝากไปได้เช่นกันครับ ยังไงติดต่อตามข้อมูลข้างบนนะครับ หรือถ้าจะซื้อหนังสือบริจาคโรงเรียนที่คุณรู้จักก็ได้ครับ

ผมอินกับสิ่งนี้มากกว่าการทำบุญที่วัดประมาณ 80 ล้านเท่า