สมมติว่ามีอะไรแบบนี้จะช่วยให้หาเครื่องบินเจอไหมครับ

นี่นึกได้เลยบล็อกไว้นะครับ อาจจะเป็นเรื่องไร้สาระอีกเรื่องที่อ่านผ่านๆ ก็ได้

พอดีได้อ่านข้อความจากสักที่ บอกว่าเทคโนโลยีและกำลังการค้นหาเครื่องบินที่สูญหายไปในตอนนี้มันงมเข็มในมหาสมุทรสุดๆ เปรียบเหมือนปล่อยหนูแฮมสเตอร์เข้าไปในสนามฟุตบอลเพื่อหาเป้าหมาย (เห็นภาพชัดดี ไม่รู้สเกลจริงจะมากน้อยแค่ไหน) เลยนึกได้ว่า เออ เทคโนโลยีการระบุพิกัดเพื่อส่งสัญญาณ เพื่อค้นหา ฯลฯ ในโลกนี้มันอาจจะยังมีข้อจำกัด แต่เทคโนโลยีด้านอื่น เช่นอินเทอร์เน็ต มันน่าจะช่วยอะไรได้

ที่สำคัญคือเพิ่งฟังข่าวตอนขับรถ เห็นว่าทางการจีนจะให้ดาวเทียมกำลังสูงของตัวเองตั้งหลายดวง เอามาใช้ในการค้นหา เลยจดไอเดียนี้ขึ้นมาแปะในบล็อก

ป.ล.
ผมไม่ได้ตามข่าวแบบเกาะติดเลยไม่ทราบว่าตอนนี้เขาไปถึงไหน เพราะอยู่ดีๆ ก็มีข่าวน้องโฟกัสมาแทรก…

ป.อ.
เขียนเพิ่มนิดหน่อยหลังจากคุยกับหลายๆ ท่านในทวิตเตอร์ เห็นว่าตอนนี้มีโครงการระดมอาสาสมัครแล้ว (เย้) แต่คีย์เวิร์ดที่สำคัญคือ “ถ้าใช้พลังจากหน้าแรกของกูเกิล” หรือเฟซบุ๊ก หรือ ฯลฯ ล่ะ! (ทำไมต้องไปหวังพึ่งเอกชนก็ไม่รู้เนอะ)

ไอเดียแก้ปัญหาการทำผิดกฎจราจรและการทุจริตของเจ้าหน้าที่

death-app

วันนี้คิดเรื่องนี้ไว้ แล้วมันวนเวียนในหัวรุนแรงมากขึ้นทุกที รู้สึกเลยว่าถ้าไม่ระบายออกมาในบล็อกคงอกแตกตาย พอกลับมาถึงบ้านเลยเปิดคอมเขียนเลย ไม่สนใจลูกเต้าที่กำลังแหกปากร้องละครับ

คือผมเพิ่งได้มีโอกาสอ่านหนังสือ “พลังกลุ่มไร้สังกัด” (แปลจาก Here Comes Everybody) ฝีมือแปลและเสริมวงเล็บของพี่ยุ้ย @Fringer ที่เคารพ ถึงมันจะเป็นหนังสือที่ขายมาสองปีแล้ว แต่เนื้อหาข้างในที่พูดเรื่องระบบความสัมพันธ์แบบใหม่ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์โดยการมาถึงของเครือข่ายสังคม และพฤติกรรมการรวมกลุ่มทำอะไรสักอย่างของคน โดยไม่ต้องไปเจอระบบระเบียบความยุ่งเหยิงขององค์กร แต่กลับง่ายแบบที่คนที่เกิดไม่ทันยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กไม่มีทางเก็ต อย่างเช่น

  • การที่อยู่ดีๆ ก็มีคนไปสร้างอีเวนต์อะไรในเฟซบุ๊ก แป๊บเดียวก็รวมตัวกันได้มหาศาลแล้วโดยไม่ต้องพึ่งบริษัทออแกไนเซอร์เลย แค่คอมหรือมือถือต่อเน็ตได้ก็จบแล้ว
  • การประกาศล่าตัวคนร้าย ที่หนังสือเล่มดังกล่าวหยิบยกกรณีศึกษาของฝรั่งในปี 2006 ขึ้นมา ดังนี้: เจ๊คนนึงมือถือหาย / ซื้อเครื่องใหม่มาล็อกอิน ก็เจอในระบบ ว่านางโจรกำลังเล่นมือถือตัวเอง / แต่ติดต่อโจรไปทางอีเมลแล้วแม่งไม่คืน แถมท้าทายด้วย / โมโห เลยทำเว็บประกาศหา / แชร์ต่อเพื่อนๆ / แชร์ต่อกันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มีคนเป็นล้านๆ ติดตามจนเป็นปรากฏการณ์ / มีออกสื่อสารพัด ใครถนัดด้านไหนก็ช่วยกัน ทนายมาเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย นักสืบไล่ตามหาบ้านให้ มีคนไปขุด MySpace ของอีนังนั่นจนเจอแล้วเอามาแชร์ ฯลฯ / ถ้าเป็นแบบไทยๆ ก็อาจจะเรียกว่าล่าแม่มดก็ว่าได้ / ตำรวจเลยต้องลงมาเล่นคดีนี้ / จับได้ ประจานแม่มดกันสมใจ / ปิดคดี
  • รวมถึงเรื่องราวอื่นๆ ในหนังสือ ทั้งแบบเล่นๆ ง่ายๆ เช่นการแท็กภาพใน FLickr (แต่เบื้องหลังของมันไม่ใช่เล่นๆ เลยนะครับ) ที่ทำให้ยุคนี้การหาภาพจากงานอะไรสักอย่างแม่งโคตรง่ายเลย เช่นโอลิมปิกก็ได้เอ้า มีตากล้องทั้งมือสมัครเล่นยันมืออาชีพไม่รู้เท่าไหร่ที่แชร์มาให้ดูโดยที่เมื่อก่อนกว่าจะได้ภาพเจ๋งๆ มาสักทีนี่หากันแทบตาย
  • หรือจริงจังอย่างที่พวกนักบริหารสนใจ เช่นกล่าวถึงปัญหาของระบบที่เกิดจากการบริหารองค์กรหรือโปรเจกต์ใดๆ “จากบนลงล่าง” นั้น ดันแก้ปัญหาหลายๆ อย่างไม่ได้ (เป็นปัญหาอมตะในรอบร้อยปีที่ผ่านมา) สำเร็จลุล่วงด้วยพลังมวลชน และเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกต่อมวลชนนั้น โดยที่ค้าใช้จ่ายลดลงอย่างน่าตกใจ จนแทบจะเรียกว่าฟรี!

จนพอขี่แว้นกลับบ้าน ก็เลยนึกว่าเออ ถ้าจะเอาไอ้พวกนี้มาประยุกต์ใช้กับการจราจรบ้านเราได้ก็คงดี..

อ้อ ออกตัวไว้ก่อนเพราะเดี๋ยวคนต่างจังหวัดจะน้อยใจเอา ว่าผมขอจำกัดคำว่า “บ้านเรา” ลงไปแคบๆ เหลือแค่พื้นที่กรุงเทพฯ ก่อนนะครับ เพราะชั่วแวบนี้มันคิดได้เท่านี้ ต่อไปมันอาจจะงอกเงยเป็นอย่างอื่นก็ได้

ปัญหา

  • มี 2 เรื่องใหญ่ๆ คือเรื่อง “การกระทำผิด” และ “การทุจริต”
  • ประสบด้วยตัวเองหลายครั้งจนมั่นใจที่จะปรักปรำได้ว่า “ด่านตำรวจในกรุงเทพฯ นั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้รถติด” คือเจอหลายครั้งเลย รถติดไม่รู้สาเหตุ พอกระดึ๊บๆ ไปปั๊บก็เจอ อ้าว ด่านสิ้นเดือนนี่เอง ..พอพ้นด่านไปปั๊บแม่งโล่ง (เห็นตอนนี้มีข่าวว่าเขาสั่งยกเลิกด่านในกรุงเทพฯ แล้ว ดีใจ)
  • หลายครั้งพบว่าผู้รักษากฎหมายนั้นลงโทษคนทำ “พลาด” ไม่ใช่คนทำ “ผิด” ดังจะเห็นได้จากหลายๆ กรณี
  • เช่นเด็กแว้น พวกขับเหี้ย พวกฝ่าไฟแดง พวกแต่งรถไฟแยงตา แม่งไม่ผิด แต่ขาจรเลี้ยวผิดเลนเพราะไม่รู้อะไรแบบนี้ล่ะ หวานจ่าเลย
  • นิสัยมักง่ายแบบ “ไทยๆ” เช่น นึกจะจอดก็จอดข้างทาง (เย็นนี้เพิ่งเห็นอีกคัน รถแม่งติดยาวทั้งลาดปลาเค้าเลย พี่แกจอดกระพริบไฟซื้อก๋วยเตี๋ยว) หรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่เกิดจากความมักง่ายนั้น
  • จากกรณีข้างบนทำให้มีความมักง่ายเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่นจอดกินก๋วยเตี๋ยวริมเกษตรนวมินทร์เนี่ย เลนหายไปเลนนึงเลย แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรเพราะมันเยอะเกินรึเปล่า? แล้วกรณีใกล้เคียงแบบนี้ก็อีกเพียบ
  • ในแง่การทุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ: ตำรวจจราจรเลวๆ บางนาย รู้สูตรการตั้งด่านที่จะไถเงิน แบบ รอตรงนี้ แยกนี้ยาก เลี้ยวผิดกันบ่อย เดี๋ยวเหยื่อมาแน่ อะไรแบบนี้
  • ผู้ขับขี่ที่มักง่าย ก็ยัดเงินตำรวจซะเลย วินวินกันทั้งคู่
  • การไปจ่ายค่าปรับที่โรงพักแม่งยุ่งยากมาก เลยส่งเสริมให้ระบบนี้มันอยู่ยงคงกระพันเข้าไปอีก
  • การใช้จ่าเฉย มันพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล หรือการใช้ระบบกล้องจับภาพรถฝ่าไฟแดง ก็อาจจะได้ผล นะ ตำรวจสบายขึ้น แต่ก็ลงทุนค่าเทคโนโลยีไปไม่น้อย
  • ฯลฯ (ตอนนี้นึกออกเท่านี้)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาที่ว่ามาด้านบนเนี่ยแม่งยืดเยื้อรุนแรงและไม่รู้จะแก้ยังไง ประเด็นหนึ่งก็คือการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งมีไม่เยอะ แถมที่มีก็มีทั้งดีและเลว ถ้าดีก็ดีไป แต่ถ้าเลวก็เข้าใจว่าระบบเศรษฐศาสตร์มันเอื้อต่อพฤติกรรมทุจริต วิธีแก้ไขคือต้องหาวิธีลดเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการกระทำผิด หรือทุจริตนั้น (ไอ้การทุ่มงบเพื่อรณรงค์ต่างๆ หรือขอความร่วมมือที่ทำกันมาตลอดหลายสิบปี มันก็เห็นๆ กันอยู่ว่าไม่ได้ส่งผลอะไรมาก ในเมื่อวินัยจราจรของพวกเรามันเฮงซวยขนาดนี้) ซึ่งพอเห็นการกระทำผิดทีนึง อีคนอยากด่าก็มีไม่น้อย แต่ด่าแล้วไม่รู้จะทำไงต่อดี… Continue reading ไอเดียแก้ปัญหาการทำผิดกฎจราจรและการทุจริตของเจ้าหน้าที่