ลาดปลาเค้าไม่ใช่ของเรา …คืนเขาไปเถอะ

road

สลับโหมดมาบ่นเรื่องท้องถนนอีกที

เมื่อไม่นานมานี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจราจรได้แก้ปัญหารถติดบนเส้นเกษตรนวมินทร์ ด้วยการยกเลิกสัญญาณไฟจราจรบริเวณแยกลาดปลาเค้า ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยทำแบบเดียวกันนี้มาแล้วกับแยกลาดปลาเค้าฝั่งที่ตัดกับถนนรามอินทรา ก็คือใครที่คิดจะออกจากลาดปลาเค้าและข้ามไปฝั่งวังหิน หรือเลี้ยวขวาไปแยกเกษตร ก็จะต้องเลี้ยวซ้ายผ่านตลอดและปาดเข้าขวาในระยะ 300 เมตร แล้วค่อยยูเทิร์น

ผลคือการจราจรโดยรวมโล่งขึ้น คล่องตัวขึ้นนิดนึง (เพราะไปติดข้างหน้าเหมือนเดิม) แต่นั่นหมายถึงชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ขับขี่รถยนต์เท่านั้นครับ

ให้นึกภาพดูว่ารถยนต์ที่วิ่งมาบนถนน (กี่เลนวะ เอาเป็นว่าเยอะ) ผ่านแยกนี้ซึ่งเป็นอยู่ถัดจากสะพานข้ามคลองมาปั๊บ ก็เจอเลย นั่นแปลว่ามันน่าขับเหยียบเต็มที่มาก ถนนสวย ผิวดี ตีโค้งนิดๆ โอ้โห เหยียบเต็มครับ เต็มกันทุกคัน ไม่มีไฟแดงที่เคยเป็นที่น่ารำคาญแล้วด้วย

แต่!!!! ไอ้ที่ว่ามาทั้งหมดนั่นคือเสียงดังจากฝั่งผู้ขับขี่บนเส้นทางหลักเท่านั้นครับ จะว่าให้เจาะจงลงมาอีก ก็คือการปิดสัญญาณไฟจราจรนี้ มันอำนวยความสะดวกเฉพาะคนมีรถยนต์ (หรือนั่งแท็กซี่) เท่านั้น

roadmap

อะ ทำภาพมาประกอบก็ได้ สังเกตว่าโค้งที่มาจากเกษตร (ด้านซ้ายของแผนที่) นั้นมันช่างสวยงามน่าเกยียบให้มิดตีนเสียจริง

ลองนึกภาพต่อเลยครับว่าถ้าเราขับ(หรือขี่)ออกมาจากเส้นลาดปลาเค้าที่เป็นถนนรองมาจากด้านบนขวาของภาพใช่มะ เพื่อจะปาดเข้าชิดเลนขวา “ทันที” บนถนนใหญ่ในระยะ 300 เมตร แล้วยูเทิร์น เพื่อวนทวงระยะ 300 เมตรคืนมา แล้วปาดซ้ายอีกทีเพื่อไปวังหิน หรือจะเลือกตรงไปแยกเกษตร สถานการณ์แบบนี้อันตรายมากครับ ถ้าไม่อยากนึกภาพ ลองมาดูได้ ตอนเย็นๆ ทุกวัน มีช็อตโหดๆ จากพี่กระป๊อให้เห็นบ่อยๆ

ที่พูดมาทั้งหมดก็ยังเป็นเรื่องของรถยนต์ต่อรถยนต์นะครับ เราเกิดมาในวัฒนธรรมรถยนต์เป็นใหญ่ เวลาเขาออกแบบ หรือแก้กฎกติกาอะไร มันก็ต้องเอื้อต่อรถยนต์ (และลามไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่เป็นผลพวงต่อการเอื้อนี้) เป็นธรรมดา

ไม่นับคนเดินเท้าหรือจักรยาน ที่เมื่อนับศักดิ์บนถนนแห่งนี้แล้ว จากเดิมที่เป็นแค่หมา แต่เดี๋ยวนี้คุณค่าของชีวิตเหลือเพียงแค่จุลินทรีย์ที่เกาะอยู่ตรงซอกขวาของเห็บหมาเท่านั้นเอง

เพราะไม่มีอะไรที่ทำให้คนเดินเท้าเดินข้ามถนนได้อย่างปลอดภัยอีกต่อไป แม้จะมีทางม้าลาย แต่แล้วไงล่ะ ในเมื่อไม่มีไฟแดงให้รถหยุด และความเร็วบนผิวจราจรบนเส้นนี้ก็โหดเหี้ยไม่น้อย นั่นคือต้องเสี่ยงดวง และรอจังหวะรถว่าง(สักนิดนึง) แล้วค่อยใส่เกียร์หมา อัดสปีดวิ่งข้ามทางม้าลายกันเอาเอง …อย่าลืมว่ามันเป็นถนนที่เพิ่งพ้นโค้งมานะครับ

และจักรยาน — วันนี้ผมเพิ่งขี่ปั่นข้ามไปฝั่งวังหินเป็นครั้งแรกตั้งแต่เขาปิดไฟแดงมา — ก็เลยพบว่า ชีวิตมันบัดซบมากๆ จากแต่เดิมที่ลัดเลาะแทรกระหว่างคันรถตอนรอไฟแดงเพื่อมายืนพักไข่อยู่บรรทัดหน้า แต่ตอนนี้คือไม่มีไฟแดง และต้องปาดในระยะ 300 เมตรเหมือนกัน!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!! ไอ้บ้า!!!!!!!!!!! อีกรวยไต!!!!!!!!!!!! นึกภาพไม่ออกเลยครับว่าชีวิตจะปลอดภัยได้ยังไงเฮ้ย

แต่วันนี้ก็ทำไปแล้วครับ

นั่นยังดีที่จักรยานของผมค่อนข้างปั่นง่ายหน่อย ถึงจะเป็นรถพับเล็กๆ ก็ตาม แต่มันก็ยังมีเกียร์ถึง 7 เกียร์ หรือวันไหนไม่อยากปั่นแล้วก็ยังเลี่ยงไปขี่ฟีโน่ได้ (ก็ยังอันตราย แต่มันบิดเร่งปาดขวาได้เร็วกว่าจักรยาน)

แล้วรถป้าๆ น้าๆ ลุงๆ ที่เขาใช้ปั่นทำมาหากินล่ะ อันนี้หมดสิทธิ์นะครับ จะให้ปั่นไปไกลๆ แล้วแบกขึ้นสะพานลอย (นับเป็นสิ่งที่เหี้ยมากในมุมมองด้านฟังก์ชันสถาปัตยกรรม) แล้วแบกลงอีกงี้เหรอ

เชี่ย บัดโซ้บบบบบบ

แต่บ่นไปก็เท่านั้นแหละ (นอกจากบ่นมึงทำอะไรได้มั่ง? แจ้งเขาไปสิ) อ๋อ แจ้งแล้วครับ เคยร่วมลงชื่อร้องเรียนแล้วกับกลุ่มเพื่อนบ้าน แต่ก็เงียบไป เป็นที่เข้าใจได้นะ เวลา “เขา” (ใคร) มองก็คงยึดเอาความสะดวกในภาพรวม (ซึ่งหมายถึงรถยนต์) มากกว่าอะไรที่เป็นสเกลเล็กๆ อย่างคนเดิน หรือจักรยาน หรือแม้แต่ชาวบ้านที่ขับรถยนต์ นี่แหละ แต่เผอิญว่าบ้านอยู่บนถนนเส้นรองที่ถูกท่านๆ กำหนดชะตาชีวิตมาแล้วว่า

มึงเสี่ยงเอาเองนะ :)

ป.ล.
แยกลาดปลาเค้าตัดรามอินทราก็เช่นกันครับ ก่อนหน้านี้นานๆ ทีผมจะแว้น หรือปั่นข้ามไปฝั่งตรงข้าม เขามีสวนกีฬารามอินทรา ซึ่งชิลมาก โคตรชิล สามารถพาลูกไปได้ทุกวันเลยเถอะ แต่พอยกเลิกไฟแดงฝั่งนั้น อย่าว่าแต่จักรยานเลย (ว่าซะหน่อยก็ได้ ผมไม่สามารถจูงรถเดินข้ามถนนรามอินทราได้อีกเลย เพราะถนนเส้นหลักแน่นและขับกันเร็วมาก ต้องเดินไปไกลประมาณ 1-200 เมตรเพื่อแบกรถขึ้นสะพานลอย เห็นไหมว่ากรณีเดียวกับฝั่งเกษตรนวมินทร์เป๊ะๆ) อย่าว่าแต่จักรยานเลย ขนาดแว้นเองยังข้ามไม่รอด ต้องเล็งดีๆ มากๆ ถึงจะปาดเข้าซ้ายได้ แต่ก็ไม่คุ้มเสี่ยง ทุกวันนี้เลยไม่ไปละ ถ้าไปคงขับรถยนต์พาลูกไป ถึงจะอ้อมไกลหน่อยก็ไม่ซีเรียสนะ น้ำมันถูกนี่ ขับแม่งให้โลกร้อนตายห่ากันให้หมด

ป.อ.
เมื่อวานไปดูฮิโชว์ที่ชาชดำเนิน ตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยพอดี อันนี้ผมแว้นไปนะครับเพราะมีเวลาปั่นไม่พอ และก็ไม่อยกขับรถยนต์ไปเพราะมันไม่ชิล ปรากฏว่าเลนจักรยานสีเขียวตลอดเส้นราชดำเนิน ก็กลายเป็นที่จอดรถยนต์อย่างที่เห็นเขาด่าๆ กันนี่แหละ เห็นแล้วก็คิดในใจว่าไอ้เหี้ยเอ๊ย แล้วส่ายหน้า แล้วแว้นต่อไป

ป.ฮ.
เออ แต่พอแว้นไปถึงท่าช้างสนามหลวง แล้ววนมาราชดำเนินอีกที ถึงจะเป็นช่วงดึกแล้ว (หลังสามทุ่ม) แต่ก็พบว่ามีปริมาณคนขี่จักรยานเพิ่มขึ้นเยอะมากๆ ซึ่งดีไง ช่วยกันแสดงตน แสดว่าเรามีตัวตนแบบนี้ดีแล้วครับ เผื่อวันหนึ่ง… เผื่อวันหนึ่ง… โวะ ไม่ฝันดีกว่า

อยู่บนถนนต้องมองให้เห็นแววตาคนขับรถ

แปลเป็นไทยว่าใจเขาใจเรานั่นแหละ จะเขียนให้ยากทำไมไม่รู้

คือเมื่อวานซืนเจอกรณีนี้มา

ทีแรกจะด่า แต่นึกคำว่าไอ้เหี้ยไม่ทัน ไม้ทันกระทั่งจะบีบแตร เลยช่างมัน พอผ่านมาสองวันก็ก็รู้สึกผิดว่าไม่ควรช่างมัน เลยเอามาเขียนหน่อย

คือผมเป็นมนุษย์ที่เกลียดการเดินทางในกรุงเทพฯ ดังนั้นถ้าเลือกได้ก็จะเปลี่ยนวิธีการเดินทางสารพัดสารเพ เท่าที่ร่างกายจะอำนวย มีทั้งโดยสารรถกระป๊อ รถเมล์ รถสองแถว รถแท็กซี่ (อันนี้น้อยที่สุด ไม่ชอบ) รถไฟฟ้า รถตู้ ส่วนที่บังคับเองก็มีทั้งรถยนต์ (ใช้เวลาไปไหนกับลูกเมีย) รถเครื่อง (เวลารีบโคตรๆ) และรถจักรยาน (เวลารีบน้อยลงมานิดนึง) ซึ่งตอนนี้ผลักดันตัวเองให้กลายเป็นมนุษย์จักรยานได้สำเร็จแล้ว ถึงจะไม่ได้ไปร่วมกีซนหรือเข้าสมาคมใดๆ เลยก็ตาม (ลุงๆ ป้าๆ ที่เขาขี่กันก็ไม่เห็นต้องเข้าสมาคมอะไร)

เนื่องจากตัวเองขับ ขี่ และโดยสารรถมาหลายแบบ ก็เลยพอเข้าใจว่าธรรมชาติของรถแต่ละแบบมันต่างกันยังไง และการอยู่ร่วมกับรถแต่ละแบบนั้นต้องทำยังไง ผมเลยเลือกไม่บีบแตรด่าใคร (ยกเว้นจะเหี้ยเกินมาตราริกเตอร์ที่กำหนด ซึ่ง 1 ปีมีประมาณ 1 เคส)

แต่กับคนที่ไม่เคยหรือไม่ค่อยได้ลองสังเกตว่าพาหนะอื่นมีสรรพคุณ อุปนิสัยยังไง อุบัติเหตุมันเลยเกิดจากอะไรแบบนี้บ่อยๆ

เช่นที่บ่อยที่สุดคือเวลาขับรถยนต์จะเลี้ยวซ้ายออกจากซอยเข้าถนนใหญ่ จะมีรถเครื่องที่แซงซ้ายแว้บ แต่เราในฐานะคนขับรถยนต์ เรามองขวาไง เกือบชนไปหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไมไ่ด้ประเดิมสักที

หรือเวลาขับหรือขี่ตามหลังรถยนต์ เรารู้ว่ารถยนต์ทุกคันมีมุมอับสายตา (ตอนอบรมก่อนสอบใบขับขี่ก็มีคลิปอธิบายให้ดูนะ) เราก็จะเลือกทิ้งระยะ หรือถ้าอยู่ใกล้อยู่แล้ว ก็จะขยับไปในมุมที่กระจกมองข้างหรือกระจกหลังสามารถมองเห็นได้

หรือเวลาขี่จักรยาน มีบ่อยครั้งที่ต้องสอดแว้บ แฉลบไหลผ่านข้างๆ รถเมล์เวลาติดไฟแดง ผมจะหยุดทำการแว้บเมื่อเห็นไฟเคานต์ดาวน์เริ่มใกล้จะเขียว หรือจังหวะที่รถข้างหน้าเริ่มขยับ นั่นแหละ โชเฟอร์เขาจะไม่เห็นเราแล้ว และเราก็จะกลายร่างเป็นกบแบนกลางถนน

หรือแม้แต่การปฏิบัติตัวกับคนขี่จักรยานเอง เรารู้ว่าแม่งถ้าปั่นมาเร็วๆ แล้วต้องมาบีบเบรกมือจนเสียความเร็วเพราะติดรถชาวบ้านนี่เป็นสิ่งที่เซ็งมาก ดังนั้นเวลาขับรถเจอจักรยาน ผมเลยให้ทางจักรยานไว้ก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนพอรถติดเราก็จะเว้นช่องไว้ให้พอดีๆ เสมอเป็นนิสัยหยุมหยิม

ยังมีอุบัติเหตุอีกมากมายที่เกิดขึ้นเพราะเราไม่เข้าใจธรรมชาติของอีกฝ่าย จนมีฝรั่งเขาทำแคมเปญรณรงค์สำหรับคนี่จักรยานกับรถสิบล้อ ว่าลองมาสลับกันขับไหม จะได้รู้ว่าอีกฝ่ายเห็นอะไร คิดอะไร

ที่มาและรายละเอียดจากบล็อกนี้: เหตุผลที่คุณไม่ควรปั่นข้างรถบรรทุก

อ้อ ยังมีอีกอย่างคือแถวบ้านผมจะมีไฟแดงคนข้ามอยู่หลายแห่ง ไม่ว่าผมจะเป็นผู้ข้ามเอง หรือเป็นรถที่จอดรอให้เขาข้ามเสร็จแล้วค่อยไป (คือเหมือนเป็นกติกาที่เออออกันกลาๆ ว่า ถ้าคนข้ามเสร็จแล้ว รถก็ไปได้) และเกลียดมากเวลามีคนกดไฟแดงขึ้นแล้ว แต่รถไม่หยุด ปล่อยให้คนข้ามต้องรองวดถัดไปอีกครั้ง คือถ้าเจอผมจะจ้องหน้ามัน คือทำอะไรก็ไม่ได้ไง แค่จ้อง จ้องผ่านกระจกรถ ลึกเข้าไปให้ถึงแววตาของมัน เจ็บปวดหรือเปล่าไม่รู้แต่กูจ้องไว้แล้วแหละ คือมึงไม่ได้แค่ไร้น้ำใจนะ นี่มึงทำผิดกฎหมายด้วย กูจะฟ้อง กปปส.

ป.ล.
นึกถึงเรื่องจักรยานที่โอซาก้า ไปมาตั้งกะเมษายังไม่ได้เขียนซะทีจนลืมหมดแล้ว
ไว้คราวหน้าเลยละกัน ตอนนี้อู้งานอยู่

ไอเดียแก้ปัญหาการทำผิดกฎจราจรและการทุจริตของเจ้าหน้าที่

death-app

วันนี้คิดเรื่องนี้ไว้ แล้วมันวนเวียนในหัวรุนแรงมากขึ้นทุกที รู้สึกเลยว่าถ้าไม่ระบายออกมาในบล็อกคงอกแตกตาย พอกลับมาถึงบ้านเลยเปิดคอมเขียนเลย ไม่สนใจลูกเต้าที่กำลังแหกปากร้องละครับ

คือผมเพิ่งได้มีโอกาสอ่านหนังสือ “พลังกลุ่มไร้สังกัด” (แปลจาก Here Comes Everybody) ฝีมือแปลและเสริมวงเล็บของพี่ยุ้ย @Fringer ที่เคารพ ถึงมันจะเป็นหนังสือที่ขายมาสองปีแล้ว แต่เนื้อหาข้างในที่พูดเรื่องระบบความสัมพันธ์แบบใหม่ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์โดยการมาถึงของเครือข่ายสังคม และพฤติกรรมการรวมกลุ่มทำอะไรสักอย่างของคน โดยไม่ต้องไปเจอระบบระเบียบความยุ่งเหยิงขององค์กร แต่กลับง่ายแบบที่คนที่เกิดไม่ทันยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กไม่มีทางเก็ต อย่างเช่น

  • การที่อยู่ดีๆ ก็มีคนไปสร้างอีเวนต์อะไรในเฟซบุ๊ก แป๊บเดียวก็รวมตัวกันได้มหาศาลแล้วโดยไม่ต้องพึ่งบริษัทออแกไนเซอร์เลย แค่คอมหรือมือถือต่อเน็ตได้ก็จบแล้ว
  • การประกาศล่าตัวคนร้าย ที่หนังสือเล่มดังกล่าวหยิบยกกรณีศึกษาของฝรั่งในปี 2006 ขึ้นมา ดังนี้: เจ๊คนนึงมือถือหาย / ซื้อเครื่องใหม่มาล็อกอิน ก็เจอในระบบ ว่านางโจรกำลังเล่นมือถือตัวเอง / แต่ติดต่อโจรไปทางอีเมลแล้วแม่งไม่คืน แถมท้าทายด้วย / โมโห เลยทำเว็บประกาศหา / แชร์ต่อเพื่อนๆ / แชร์ต่อกันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มีคนเป็นล้านๆ ติดตามจนเป็นปรากฏการณ์ / มีออกสื่อสารพัด ใครถนัดด้านไหนก็ช่วยกัน ทนายมาเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย นักสืบไล่ตามหาบ้านให้ มีคนไปขุด MySpace ของอีนังนั่นจนเจอแล้วเอามาแชร์ ฯลฯ / ถ้าเป็นแบบไทยๆ ก็อาจจะเรียกว่าล่าแม่มดก็ว่าได้ / ตำรวจเลยต้องลงมาเล่นคดีนี้ / จับได้ ประจานแม่มดกันสมใจ / ปิดคดี
  • รวมถึงเรื่องราวอื่นๆ ในหนังสือ ทั้งแบบเล่นๆ ง่ายๆ เช่นการแท็กภาพใน FLickr (แต่เบื้องหลังของมันไม่ใช่เล่นๆ เลยนะครับ) ที่ทำให้ยุคนี้การหาภาพจากงานอะไรสักอย่างแม่งโคตรง่ายเลย เช่นโอลิมปิกก็ได้เอ้า มีตากล้องทั้งมือสมัครเล่นยันมืออาชีพไม่รู้เท่าไหร่ที่แชร์มาให้ดูโดยที่เมื่อก่อนกว่าจะได้ภาพเจ๋งๆ มาสักทีนี่หากันแทบตาย
  • หรือจริงจังอย่างที่พวกนักบริหารสนใจ เช่นกล่าวถึงปัญหาของระบบที่เกิดจากการบริหารองค์กรหรือโปรเจกต์ใดๆ “จากบนลงล่าง” นั้น ดันแก้ปัญหาหลายๆ อย่างไม่ได้ (เป็นปัญหาอมตะในรอบร้อยปีที่ผ่านมา) สำเร็จลุล่วงด้วยพลังมวลชน และเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกต่อมวลชนนั้น โดยที่ค้าใช้จ่ายลดลงอย่างน่าตกใจ จนแทบจะเรียกว่าฟรี!

จนพอขี่แว้นกลับบ้าน ก็เลยนึกว่าเออ ถ้าจะเอาไอ้พวกนี้มาประยุกต์ใช้กับการจราจรบ้านเราได้ก็คงดี..

อ้อ ออกตัวไว้ก่อนเพราะเดี๋ยวคนต่างจังหวัดจะน้อยใจเอา ว่าผมขอจำกัดคำว่า “บ้านเรา” ลงไปแคบๆ เหลือแค่พื้นที่กรุงเทพฯ ก่อนนะครับ เพราะชั่วแวบนี้มันคิดได้เท่านี้ ต่อไปมันอาจจะงอกเงยเป็นอย่างอื่นก็ได้

ปัญหา

  • มี 2 เรื่องใหญ่ๆ คือเรื่อง “การกระทำผิด” และ “การทุจริต”
  • ประสบด้วยตัวเองหลายครั้งจนมั่นใจที่จะปรักปรำได้ว่า “ด่านตำรวจในกรุงเทพฯ นั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้รถติด” คือเจอหลายครั้งเลย รถติดไม่รู้สาเหตุ พอกระดึ๊บๆ ไปปั๊บก็เจอ อ้าว ด่านสิ้นเดือนนี่เอง ..พอพ้นด่านไปปั๊บแม่งโล่ง (เห็นตอนนี้มีข่าวว่าเขาสั่งยกเลิกด่านในกรุงเทพฯ แล้ว ดีใจ)
  • หลายครั้งพบว่าผู้รักษากฎหมายนั้นลงโทษคนทำ “พลาด” ไม่ใช่คนทำ “ผิด” ดังจะเห็นได้จากหลายๆ กรณี
  • เช่นเด็กแว้น พวกขับเหี้ย พวกฝ่าไฟแดง พวกแต่งรถไฟแยงตา แม่งไม่ผิด แต่ขาจรเลี้ยวผิดเลนเพราะไม่รู้อะไรแบบนี้ล่ะ หวานจ่าเลย
  • นิสัยมักง่ายแบบ “ไทยๆ” เช่น นึกจะจอดก็จอดข้างทาง (เย็นนี้เพิ่งเห็นอีกคัน รถแม่งติดยาวทั้งลาดปลาเค้าเลย พี่แกจอดกระพริบไฟซื้อก๋วยเตี๋ยว) หรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่เกิดจากความมักง่ายนั้น
  • จากกรณีข้างบนทำให้มีความมักง่ายเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่นจอดกินก๋วยเตี๋ยวริมเกษตรนวมินทร์เนี่ย เลนหายไปเลนนึงเลย แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรเพราะมันเยอะเกินรึเปล่า? แล้วกรณีใกล้เคียงแบบนี้ก็อีกเพียบ
  • ในแง่การทุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ: ตำรวจจราจรเลวๆ บางนาย รู้สูตรการตั้งด่านที่จะไถเงิน แบบ รอตรงนี้ แยกนี้ยาก เลี้ยวผิดกันบ่อย เดี๋ยวเหยื่อมาแน่ อะไรแบบนี้
  • ผู้ขับขี่ที่มักง่าย ก็ยัดเงินตำรวจซะเลย วินวินกันทั้งคู่
  • การไปจ่ายค่าปรับที่โรงพักแม่งยุ่งยากมาก เลยส่งเสริมให้ระบบนี้มันอยู่ยงคงกระพันเข้าไปอีก
  • การใช้จ่าเฉย มันพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล หรือการใช้ระบบกล้องจับภาพรถฝ่าไฟแดง ก็อาจจะได้ผล นะ ตำรวจสบายขึ้น แต่ก็ลงทุนค่าเทคโนโลยีไปไม่น้อย
  • ฯลฯ (ตอนนี้นึกออกเท่านี้)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาที่ว่ามาด้านบนเนี่ยแม่งยืดเยื้อรุนแรงและไม่รู้จะแก้ยังไง ประเด็นหนึ่งก็คือการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งมีไม่เยอะ แถมที่มีก็มีทั้งดีและเลว ถ้าดีก็ดีไป แต่ถ้าเลวก็เข้าใจว่าระบบเศรษฐศาสตร์มันเอื้อต่อพฤติกรรมทุจริต วิธีแก้ไขคือต้องหาวิธีลดเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการกระทำผิด หรือทุจริตนั้น (ไอ้การทุ่มงบเพื่อรณรงค์ต่างๆ หรือขอความร่วมมือที่ทำกันมาตลอดหลายสิบปี มันก็เห็นๆ กันอยู่ว่าไม่ได้ส่งผลอะไรมาก ในเมื่อวินัยจราจรของพวกเรามันเฮงซวยขนาดนี้) ซึ่งพอเห็นการกระทำผิดทีนึง อีคนอยากด่าก็มีไม่น้อย แต่ด่าแล้วไม่รู้จะทำไงต่อดี… Continue reading ไอเดียแก้ปัญหาการทำผิดกฎจราจรและการทุจริตของเจ้าหน้าที่

ในวันที่ข้าพเจ้าขี่รถเครื่อง

มีโจทย์ที่ตั้งไว้กับตัวเองเล่นๆ อยู่อย่างนึงว่า ในชีวิตมนุษย์เงินเดือนนี้ ผมไม่อยากเป็นหุ่นยนต์ หรือโดนวิถีแห่งคนกรุงกลืนกินเกินไปนัก ถึงมันจะดิ้นออกจากวิถีนี้ยากสักหน่อย (ใครมีเมียมีลูก ผ่อนบ้าน และไม่ได้มีตังค์เยอะๆ ที่หล่นมาจากพ่อแม่ฟรีๆ ก็จะเจออะไรคล้ายๆ กันนี้แหละ ใครที่รอดไปได้ก็น่านับถือครับ) แต่ก็จะพยายามหาขนูกขนมมาเติมให้ชีวิตมันมีอะไรกรุบกริบแก้อาการชีวิตวนลูปซ้ำซากให้ได้

การเดินทางไปทำงานก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำลายสมรรถนะในการดำรงชีพของคนที่ต้องหากินอยู่เมืองกรุงซะส่วนใหญ่ ตราบใดที่ระบบขนส่งมวลชนมันยังไม่ทั่วถึง ปัญหานี้ก็จะไม่มีวันหมดไปจากประเทศไทย ไม่ว่าจะมีรัฐบาลเทพขนาดไหนก็เหอะ

โดยเฉพาะผมแล้ว ตอนสมัครเข้าทำงานที่บริษัทนี้ พอเขาถามว่ามีเรื่องอะไรที่กังวลบ้าง ผมก็นึกออกอยู่แค่เรื่องการที่ต้องใส่รองเท้าหุ้มส้นไปทำงาน (เป็นคนตีนเหม็น ถ้าไม่คอขาดบาดตายจริงๆ ก็จะพยายามใส่รองเท้าแตะให้ได้ตลอดชีวิต) กับเรื่องการเดินทาง ว่าไม่แฮปปี้ที่จะต้องเดินทางนานๆ ซ้ำๆ กันทุกวัน ถ้าเป็นไปได้อยากทำงานอยู่ที่บ้านผ่านอินเทอร์เน็ตง่ายๆ วันละ 3-5 ชั่วโมง แบบที่อีพวกสแปมห่าเดนในเฟซบุ๊กมันทำกันด้วยซ้ำ .. ก็บริษัทเรามันทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี่นา งี้ก็ทำเป็น Virtual Office เลียนแบบไทเกอร์เขาดีกว่าเนอะๆๆ … แต่ข้อเสนอหลังนี้โดนปัดตกไปทันที เพราะว่าเรายังไม่เปรี้ยวเท่าบริษัทที่พาดพิงตะกี้ครับ

โอเค ช่างมัน อย่างน้อยก็ได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้าแตะได้ ชีวิตคงไม่เลวร้ายเกินไปนัก

ทีนี้ก็มาดูปัญหาที่เหลือ.. เรื่องการเดินทาง แต่ละวันการเดินทางจากลาดปลาเค้าถึงเพลินจิต (ซึ่งซับซ้อนเหมือนกัน และไม่มีทางสัญจรด้วยรถต่อเดียวได้แน่ๆ) ผมไม่อยากให้มันซ้ำกันทุกวัน เพราะกลัวไอ้อาการหุ่นยนต์ที่ว่าไว้ข้างบนน่ะ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ก็จะหาวิธีทดลองการเดินทางไม่ให้ซ้ำกับวันก่อนหน้าให้ได้ ดังนั้นบางวันก็ขึ้นกระป๊อ บ้างก็รถเมล์สายนั้นบ้าง สายนี้บ้าง เปลี่ยนป้ายรอบ้าง เปลี่ยนป้ายลงบ้าง นั่งพี่วินบ้าง แท็กซี่บ้าง (ไม่ชอบบรรยากาศอับๆ เงียบๆ ในแท็กซี่เลยไม่ค่อยได้ขึ้น) บางทีก็ให้เมียไปส่งไม่ไกลจากบ้านแล้วต่อรถตู้ (พอมีลูกก็เลิกวิธีนี้ไป) บางทีก็ลงเดินที่สถานีรถไฟฟ้าใกล้ๆ แล้วเดินต่อเอาบ้าง แวะซื้อผลไม้ หรือบางทีไปแวะหอเพื่อนยืมการ์ตูนมาอ่านก่อนไปทำงานก็ยังดี ฯลฯ

คือเส้นทางมันก็อีทางเดิมนี่แหละครับ แต่ขอบิด พลิกแพลงนิดนึงให้มันมีบรรยากาศบ้าง ได้มองข้างทางสักนิดให้ชีวิตมันมีอะไรไม่วนลูปหน่อย ดูลมๆ แล้งๆ แต่ก็นะ เราอยู่บนข้อจำกัดที่มันสนุกได้ไม่มาก

ทีนี้พอซื้อรถเครื่อง (ฟีโน่) มาได้สักพัก ทีแรกกะจะขี่แถวหมู่บ้าน ไปซื้อกับข้าวที่ตลาดแล้วขี่กลับแค่นี้ แต่พอไปสอบใบขับขี่ผ่านปั๊บ ป้ายทะเบียนอะไรก็ได้มาแล้ว บัดนี้องค์ประกอบชีวิตของผมเหมาะกับการหัดออกเดินทางไปทำงานด้วยรถเครื่องเสียที ตัวแปรในการเดินทางก็เปลี่ยนไป Continue reading ในวันที่ข้าพเจ้าขี่รถเครื่อง