สวัสดีครับ บล็อกนี้ขออธิบายเรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์น้ำท่วมจังหวัดเพชรบุรีแบบคร่าวๆ ให้คนต่างจังหวัด หรือคนเพชรเหมือนกันแต่ไม่เก็ตว่าทำไมน้ำท่วมถึงได้เกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ ในระยะหลัง ได้พอเห็นภาพรวมเบื้องต้นจากมุมมองของผมเองในฐานะที่ตัวเองเป็นชาวบ้านคนนึงที่สนใจ และเบื่อดราม่าจากความไม่รู้ 5555
ออกตัวไว้ก่อนว่า ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อเท็จจริง (Fact) บางส่วนเป็นเพียงความคิดเห็น หรือประสบการณ์ส่วนตัว ดังนั้นถ้ามีจุดไหนอ่านแล้วมีข้อเท็จจริงมาหักล้าง หรือไม่เห็นด้วยตรงไหน รบกวนชี้แนะหรือคอมเมนต์แก้ไขได้เลยครับ ไม่ต้องเกรงใจนะครับ (กลับกัน ผมจะขอบคุณมากๆ ด้วยครับ)
เริ่มเลยนะ
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบุรี
ผมวาดแผนที่ทางภูมิศาสตร์ให้ดูง่ายๆ แบบไม่ตรงสเกลเป๊ะให้ดูครับ ว่าคอนเซปต์ของเพชรบุรีจะเป็นแบบนี้นะ คืออยู่ตรงโคนสุดของด้ามขวาน ด้านบนชนราชบุรี, สมุทรสงคราม ด้านขวาชนอ่าวไทย ด้านล่างชนหัวหินประจวบฯ ส่วนด้านซ้ายมีเทือกเขาตะนาวศรีกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า
แต่ถ้าเราลบเส้นสมมติที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาทั้งหมดออกไป เราจะเห็นว่าดินแดนแถบนี้เป็นแผ่นดินเอียงๆ มีภูเขาและป่าไม้ผืนใหญ่อยู่ครึ่งนึง ที่เหลือเป็นที่ราบ มีแม่น้ำสั้นๆ สายหลักอยู่สายนึงครับ นั่นคือแม่น้ำเพชรบุรี
แม่น้ำเพชรบุรีมีต้นน้ำอยู่ในป่าเทือกเขาตะนาวศรีครับ ไหลผ่านป่าผืนใหญ่มากๆ แล้วแตะระดับพื้นราบ รวมกับห้วยแม่ประจันต์ที่ไหลมาจากป่าทางเหนือ โป๊ะ กลายเป็นแม่น้ำเพชรบุรีที่เมื่อก่อนเขาภูมิใจกันว่าน้ำเนี่ยอร่อยเด็ดจนในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงออเดอร์ไปเสวยโดยเฉพาะ (อ่านเรื่องแม่น้ำเพชรบุรีแบบมีข้อมูลตัวเลข มีเกร็ดตำนานอะไรต่ออะไรได้ที่วิกิพีเดียครับ)
เสร็จแล้วพอแตะพื้นราบ ก็ไหลย้อนขึ้นทางทิศเหนือ จากแก่งกระจาน ผ่านท่ายาง บ้านลาด เมืองเพขร ไปลงอ่าวไทยที่บ้านแหลม ตรงนั้นก็จะมีแขนงที่เรียกว่าแม่น้ำบางตะบูนอีกหน่อย
ทีนี้พอประเทศเราเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ก็มีการพัฒนาระบบชลประทานและสร้างไฟฟ้า ในปี พ.ศ.2509 เขื่อนแก่งกระจานก็เลยถือกำเนิดขึ้นมากั้นแม่น้ำเพชรในหุบเขาช่วงที่จะแตะพื้นราบ กลายเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ พอไล่ลงมาช่วงกลางแม่น้ำเพชรก็สร้างเขื่อนเพชรขึ้นมาอีกต่อนนึง เพื่อเอาไว้คอนโทรลน้ำเข้าสู่คลองชลประทาน 3 สายหลัก ส่วนฝั่งเหนือ (หนองหญ้าปล้อง) ก็ทำอ่างเก็บน้ำแม่ประจันต์ขึ้นมาอยู่ช่วงต้นของสายลำห้วยแม่ประจันต์อีกที (ในภาพลืมวาดไว้) นอกจากนั้นก็ยังมีโครงการพระราชดำริของในหลวง ร.9 อีก เช่นอ่างเก็บน้ำห้วยผาก ซึ่งคอนเซปต์คล้ายอ่างแม่ประจันต์ คือเก็บน้ำไว้ใช้ยามแล้ง
โอเค ทีนี้มาดูเรื่องน้ำท่วม
Continue reading อธิบายปรากฏการณ์น้ำท่วมเพชรบุรี (เวอร์ชันเข้าใจง่าย)