เที่ยวงานสถาปนิก’61

รู้สึกตัวอีกทีก็พบว่าผมไปงานสถาปนิกติดต่อกันมาหลายปีมากแล้ว ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้เป็นสถาปนิก แต่พอนึกดู ตัวเองก็ดันทำงานที่เกี่ยวข้องกับวงการนี้โดยบังเอิญ (บังเอิญอะไรล่ะ แกเรียนมา) ที่สำคัญคือหลายปีมานี้ต้องใช้ประโยชน์จากการเดินชมงานเพื่อหาความรู้เสริมโปรเจกต์ที่ทำอยู่เยอะเลย

น่าเสียดายที่พอจะมาค้นดูว่าช่วงที่ทำโปรเจกต์สร้างบ้านสร้างอาคารก่อนหน้านี้ ดันหาข้อมูลของงานปีก่อนๆ ที่จดไว้อย่างละเอียด (ในกระดาษ) ไม่เจอแล้ว

ต่อไปนี้ก็จะขอจดใส่บล็อกไว้เลย ไม่หาย แถมย้อนดูได้ เหมาะกับวิถีชีวิตมนุษย์ไดโนเสาร์ในยุคโซเชียลเรียลไทม์แบบนี้จริงๆ

งานสถาปนิก’61 ปีนี้จัดที่เดิม คืออิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ (ในอีเมลประชาสัมพันธ์ดันบอกว่าเป็นอารีน่า) ใช้สโลแกนว่า “ไม่ธรรมดา” หมายถึงการเอานั่นนี่ที่ธรรมดา มาใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไป ก็กลายเป็นสิ่งใหม่ที่ว้าวได้

งานมีวันที่ 1-6 พ.ค.61 ลงทะเบียนออนไลน์ได้ตั้งแต่เริ่มเห็นเขาโปรโมต ของผมคือได้รับอีเมลเพราะไปอยู่ในถังของปีที่แล้ว ส่วนตัวแล้วแนะนำอย่างยิ่งให้ลงทะเบียนออนไลน์ก่อนวันงาน (ปิดรับก่อนงาน 7 วัน) เพราะแถวลงทะเบียนหน้างานยาวมากกกกกกกกกกกกกก ในขณะที่แถวพรินต์บัตรห้อยคอสำหรับมนุษย์ออนไลน์นั้นใช้เวลารอ 0 วินาที

การจอดรถก็เฮงซวยเหมือนเดิม เพราะงานจัดชนกับมหกรรมสินค้าลดราคาที่อิมแพคอารีน่าข้างๆ ถ้าเป็นได้ให้แว้นมา (สิทธิพิเศษของชาวปทุม)

งานปีก่อนๆ ผมใช้เวลาเดินนานมาก (8 ชั่วโมงเดินได้แค่ครึ่งงาน อีกปีก็ 10 ชั่วโมงเต็มๆ คืองานแม่งใหญ่มาก) แต่ปีนี้ดันติดปัญหาที่จอดรถ เลยมีเวลาแค่ 4 ชั่วโมง โอเค ก็จะข้ามอันที่ไม่ดึงดูดไปเลยละกัน พุ่งสู่สิ่งที่สนใจในโปรเจกต์ก่อสร้างของปีนี้ทันที

สิ่งที่ไม่สนใจคือนมของพริตตี้ในงาน (ซึ่งเยอะมากกกกก) บูทไหนที่เอานมนำ เราถือว่าไม่ได้สื่อสารกับเราที่จะมาหาข้อมูลของวัสดุและสินค้าโดยเฉพาะ ขี้เกียจเสียเวลาจีบปากจีบคอคุยกับคนที่ไม่ได้รู้เรื่องจริงๆ ก็จะขอข้ามเลยละกัน

ซึ่งดันมีบูทนึงที่จัดอีเวนต์เปิดตัวซัมติง ที่เปิดไมค์ส่งเสียงดังคึกคักครึกครื้น นักข่าวสื่อมวลชนและคนเดินเที่ยวงานมุงอออยู่ด้านหน้าเพียบเลย ผมชะโงกดูก็พบว่า โอเคแหละ พริตตี้กำลังเดินนวยนาด พรีเซนต์นมอย่างออกรส

พอกำลังจะเดินผ่าน ก็ดันเห็นว่าแบรนด์นี้พี่ไม่ใช่แค่นมพริตตี้…

ครับ และนั่นคือภาพแรกของงานนี้…

Continue reading เที่ยวงานสถาปนิก’61

บันทึกถึงบันทึกลับเซินเจิ้น

อ่านจบแล้ว หนังสือเรื่องเซินเจิ้นฯ สักอย่างของศิลา บัวเพชร (สนพ.แซลมอน / 275 บาทมั้ง / เป็นตัวอักษรปนๆ กับการ์ตูน / ภาพสีทั้งเล่มทั้งที่บางภาพมันวาดแบบใช้แต่สีดำก็ยังจะพิมพ์สีให้เปลือง)

ขอพูดถึงโจ้ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในนักเขียนการ์ตูนที่เราชอบที่สุดในประเทศไทย (อีกคนคือสะอาด)

รู้จักโจ้มานานตั้งแต่มันอยู่ปีหนึ่ง เวลาโจ้อยู่กับเพื่อนๆ ทีไร พลังมันจะมา มาแรงมากครับ ด้วยความเนิร์ดโอตาคุของแก๊งนี้ เวลามันเปิดประโยคสนทนากันแต่ละเรื่อง แม่งจะจริงจังเหมือนแบบที่เราเห็นกันในคุโรมาตี้ แต่เป็นคุโรมาตี้ที่มีเส้นสปีดอยู่ในช่องตลอดเวลา

เมื่อโจ้มาวาดการ์ตูนเขี่ยๆ ให้เพื่อนอ่าน มันถ่ายทอดเสียงเหล่านี้ลงมาเป็นภาพได้อย่างชัดเจน อันนี้ทึ่งว่ามันทำได้ไง เลยเฝ้าติดตามมาตลอดด้วยความทึ่ง

วันหนึ่งการ์ตูนของโจ้ก็มาโผล่ใน Way นิตยสารที่เรารัก

แบบงงๆ ว่า บ.ก.คิดอะไรอยู่วะ โจ้มันยัดเงิน หรือว่า บ.ก.เห็นอะไร ทำไมวิสัยทัศน์ก้าวไกลขนาดนี้ เพราะการ์ตูนของโจ้มีแต่เรื่องส่วนตัวทั้งหมด

ส่วนตัวแบบไม่ประนีประนอมใครใดๆ ทั้งสิ้น คือมึงอยากรู้จักกูใช่ไหม มาสิ แต่กูไม่แนะนำตัวนะ พยายามเอาเอง แม่งคุยกันแต่ศัพท์เฉพาะทางของวงการกันดั้ม เกมกระดานสำหรับโอตาคุอะไรแบบนี้

ไอ้วิธีเล่าเรื่องแบบไม่เห็นใจคนอ่านแบบนี้ สำหรับนักเขียนแล้วใครที่ทำได้จริงๆ นี่โคตรน่าอิจฉา เพราะเรื่องเล่ามันต้องมีเสน่ห์พอที่จะกระชากคนดูให้อยู่กับตัวเราจริงๆ ได้

และศิลาทำได้

ส่วนทำแล้วจะเวิร์กกับคนอื่นขนาดไหนนั้น ยอดขายของ Way ก็เป็นข้อพิสูจน์…

ใครอยากรู้จักโจ้แบบดิบๆ ไปหา “เมื่อก่อนก็ยังดีๆ อยู่หรอก” มาอ่านได้ (สนพ.เวย์นั่นแหละ) (จำชื่อไม่ได้ทั้งชื่อหนังสือทั้งชื่อสำนักพิมพ์) เล่มนั้นดีมาก ดิบมากๆ และรู้สึกว่าเขาเอามาลดราคาเทกระจาดอยู่

กลับมาที่เล่มใหม่ของโจ้กับสำนักพิมพ์แซลมอน

เอาตรงๆ ความรู้สึกเหมือนวงดนตรีใต้ดินที่เล่นเถื่อนๆ เพลงหยาบๆ จนไปต้องตาค่ายใหญ่เข้า (แต่เรารู้ว่าแซลมอนร่วมงานกับโจ้มานานแล้วนะ ไม่ได้เพิ่งมารู้จัก) ความเป็นสตูดิโอของแซลมอนนั้นกลับกลายเป็นว่า มันทำให้กลิ่นฉุนๆ ตลกร้ายๆ หน้าตายแต่ฮาเกรงใจคนข้างๆ ของศิลา มันหายไปพอสมควร

แง่หนึ่งเข้าใจว่าเป็นความเกร็งมากกว่า ซึ่งมันสื่อสารออกมาทางรูปเล่มที่ดูเป็นทางการ ภาพถ่าย การจัดวาง กราฟิกชี้ๆ ในเล่มที่ดูประดิษฐ์มากกว่าความระห่ำของเนื้อหา ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เสียดายนิดหน่อย

แต่นิดหน่อยจริงๆ คือรู้เลยว่าโจ้ยังมีของมาปล่อยอีกเยอะ

เนื้อหาในเล่มว่าด้วยประสบการณ์การไปใช้ชีวิตหลายปีในเซินเจิ้น ไม่ได้ไปเที่ยว แต่ไปทำงานเป็นสถาปนิก

เล่าเกริ่นตั้งแต่เริ่มออกไข่ (เห็นมะ พอทำงานกับสตูดิโอเลยต้องแนะนำตัวเอง อีตอนเขียนให้เวย์มึงไม่มียั้งแบบนี้เลย) ออกไข่จนตั้งไข่ ไปยันประสบการณ์ไข่ออก

คาดหวังได้กับความฮาที่แบบ ไอ้สัสมึงเอางี้เลยเหรอ

และคาดหวังได้กับมุมมองแหลมคมของศิลาในอีกร่างหนึ่งที่หลายคนก็น่าจะพอนึกออกว่า คนที่ตลกๆ เนี่ย ที่จริงมันคือคนฉลาดๆ หรือคนจริงจังที่แค่หันด้านตลกใส่เราเท่านั้นเอง

ความสนุกของเล่มนี้จะค่อยๆ มาแบบเนิบๆ ไต่กราฟขึ้นเรื่อยๆ จนจะจบเล่มอยู่แล้ว ช่วงที่เพื่อนๆ มาเยี่ยมที่เมืองจีนนั่นแหละก็เป็นจังหวะรถไฟเหาะตีลังกา!

แล้วก็ตัดจบ ไอ้สัส เดี๋ยวก่อนเซ่!

อย่างที่บอกว่าโจ้จะมีพลังเยอะมากเมื่ออยู่กับเพื่อน เราได้เห็นวาบหนึ่งของพลังนี้เปล่งประกายมาในช่วงค่อนหลังของเล่ม แล้วก็ตัดจบเลยทั้งที่ยังสนุกค้างเติ่งอยู่แบบนั้น

1. อาจเป็นความตั้งใจของผู้เขียนและบรรณาธิการที่จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกเสี้ยน อยากอ่านผลงานเล่มถัดไปเร็วๆ จากฟอร์มสุดยอดในช่วงท้าย เป็นจิตวิทยาชั้นเซียนที่เกิดจากการบ่มเพาะมาอย่างโชกโชน

2. มันเขียนไม่ทันจริงๆ

สรุปว่าเล่มนี้ดีครับ สมหวังที่ถ่อเข้ากรุงเทพฯ ไปงานหนังสือเพื่อไปขอลายเซ็น 5555555 ถึงจะมีจุดผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ แบบที่ให้อภัยได้ แต่ให้อะไรกับสมองเรามากกว่าความฮา เยอะเลย เยอะมาก

แนะนำครับ!

ป.ล. นี่อ่านจบบนรถไฟฟ้า ออกจากขบวนรถมาเจอเก้าอี้เลยนั่งพิมพ์ในมือถือรัวๆ เวลาเกินยังวะ จะโดนปรับไหมวะ

ทำมือถือให้เล่นโฮโลแกรมล้ำๆ ได้จากปกซีดี

พอดีจะทิ้งซีดีเก่า เลยนึกได้ว่าเคยอ่านบล็อก DIY สักแห่งที่เขาเอามาทำที่ดูโฮโลแกรมบนหน้าจอมือถือ เลยลองทำให้ลูกดู (พร้อมทั้งสอนว่าเราสามารถทำของเล่นจากของที่จะทิ้งแล้วก็ได้นะ ไรงี้)

ตอนแรกก็ยังไม่ได้บอกลูกว่าจะทำอะไร หยิบคัตเตอร์ ฟุตเหล็ก แผ่นรองตัด กาว และฝากล่องซีดีเก่ามาทาบๆ วัดๆ ลูกก็มามุงดูด้วยความสนใจ (แค่นี้ก็ถือว่าหลอกเด็กสำเร็จละนะ 555)

อะ วิธีการคือ

1. ตัดแผ่นซีดีให้ได้ขนาด

ถ้ามีพลาสติกที่มากับกล่องผลิตภัณฑ์น่าจะใช้ได้เหมือนกัน แต่อันนี้มีซีดีเลยใช้ซีดี

หัวใจคือตัดเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ด้านที่สำคัญคือด้าน 1 ซ.ม. ที่จะเป็นส่วนประกบกับหน้าจอมือถือ (ถ้าใช้แท็บเล็ตก็น่าจะใหญ่กว่านี้) ส่วนที่เหลือผมกะๆ เอา ในภาพคือปากกว้าง 6 ซ.ม. และสูง 3-4 ซ.ม. (คราวหน้าจะลองให้สูงกว่านี้น่าจะดูถนัดขึ้น)

อ้อ ระวังคัตเตอร์ด้วย พลาดมานิ้วแหกเลือกสาด เดี๋ยวจะผิดวัตถุประสงค์ที่ทำให้เด็กกรี๊ดเพราะความตื่นเต้น นี่แม่งกลายเป็นช็อกแทน

ในภาพผมตัดเบี้ยวไปหน่อยนึง เวลาหักแล้วปากมันเบิน ก็เลยเบี้ยวๆ บิดๆ ไม่เป็นไรช่างแม่ง

2. ติดกาว ประกอบกันเป็นพีระมิด

ถ้าไม่มีกาวพริตต์หรือยู้ฮูหลอด ก็ใช้เทปใสยังได้ ตรงมุมๆ มันไม่ได้มีผลอะไรมาก

แต่ที่ต้องใส่ใจคือระดับของด้านยอดพีระมิด อันนั้นต้องให้เรียบเสมอกัน ของผมไม่เสมอ เวลาวางหงายกับจอมันเลยเบี้ยว

3. เปิดยูทูบ

ค้นพวกคำว่า “hologram clip” อะไรแบบนี้ก็ได้ แล้วเอายอดพีระมิดวางหงายลงไป แล้วก้มดูต่ำๆ

4. ฟังเสียงบุตรหลานของท่านกรี๊ดกร๊าด

เราก็ยืด และไปรักษาแผลมีดบาดนิ้ว จบ

เสาเสาเสาและโรงเลื่อย

ตอนนี้ผมทำพอดแคสต์ (=วิทยุออนไลน์) อยู่สองรายการ ชื่อ “ยูธูป” และ “เสาเสาเสา” (เออ ว่าจะเขียนเรื่องพอดแคสต์ในประเทศไทยตั้งนานแล้ว นี่ดราฟต์ไว้ยังไม่เสร็จซะที ไว้ก่อนนะๆ) ทั้งสองรายการที่ทำนั้นสังกัดอยู่ในช่อง Get Talks โดยมีฐานอยู่ในซาวด์คลาวด์และทวิตเตอร์ (เหมือนจะเป็นพวกต่อต้านจักรวรรดิเฟซบุ๊ก 5555)

ยูธูป (@youtoopna) เป็นรายการรีวิวของกินที่เอาเรื่องผีมาบังหน้า อันนี้ได้รับการตอบรับอย่างอิ่มหมีไปแล้ว เราจะข้ามไป

ส่วนเสาเสาเสา (@saosaosaona) เป็นรายการพอดแคสต์ที่คุยกันเรื่องสถาปัตยกรรม ที่พยายามจะเล่าเรื่องที่เรารู้ ให้กับคนฟังที่ไม่ได้สนใจเรื่องเหล่านี้มาก่อน ได้ฟังกันง่ายๆ ย่อยให้ฟังง่ายๆ และเป็นกันเอง

โดยที่เอาจริงๆ แล้ว ผมเองก็ไม่ได้มีความรู้เท่าไหร่ แต่เป็นคนอยากรู้ เลยส่วนใหญ่จะเป็นแผนกถามในรายการนะ ส่วนคนที่คอยตอบก็จะเป็นโบ๊ท น้ำ โอห์มซะเป็นส่วนใหญ่ โดยมีแนทเต้มานั่งถามอีกคน มีตั้งมาคอยช่วยในบางครั้ง และพี่โอเป็นที่ปรึกษาลับๆ อีกที ทำไมทีมงานมันเยอะจังวะ!

เนื่องจากทีมงานเราเยอะใช่มะ การจะนัดคนเหล่านี้ให้มานั้่งทำอะไรพร้อมกันได้นั้นช่างยากเย็นนัก ปกติเราก็เลยนัดหมายกันมานั่งอัดรายการกันสองอาทิตย์ครั้ง — อัดครั้งละสองตอน จะได้ไม่ต้องนัดกันบ่อยๆ แต่อัดทีนึงก็ล่อไปดึกดื่นเที่ยงคืนทุกที โดยที่ทั้งหมดนี้ทำเอาผลงานล้วนๆ
ยังไม่ได้คิดเรื่องเงินๆ ทองๆ เลย เหมือนมานั่งคุยกันเพื่อบำรุงสมองและหัวใจมากกว่า (แต่ถ้าวันนึงมีสปอนเซอร์ได้เราจะดีใจมาก 5555)

แต่เสาเสาเสาอีพีนี้ต่างออกไป หลังจากที่เรานัดอัดกันปกติใช่มะ ดันมีเหตุที่ทำให้ผมกระเหี้ยนกระหือรือ ไปบุกถึงบ้านของแขกรับเชิญ เพื่อขอสัมภาษณ์ในประเด็นที่ตัวเองกระหายใคร่รู้มากๆ

ไอ้ความใคร่รู้เนี่ยนั่นเป็นความรู้สึกที่ดีมากๆ นึกทีไรก็เสียดายว่าทำไมตอนเรียนกูไม่อยากรู้อยากเห็นนั่นนี่เหมือนอย่างทุกวันนี้วะ หรือกบาลมันเพิ่งเปิดตอนลูกสอง

นั่นแหละ เลยอยากให้ฟัง เผื่อจะชอบอย่างที่ผมชอบเนอะ เอ้า เอาคำนำไปอ่านก่อน

คุณผู้ฟังบางท่านที่โตมาพร้อมๆ กับมานีมานะและผองเพื่อน น่าจะจำฉาก “โรงเลื่อยร้าง” ซึ่งเป็นสุดยอดฉากระทึกขวัญเท่าที่เด็ก ป.6 ในยุคนั้นจะได้มีโอกาสอ่าน ภาพความทรงจำของบรรยากาศโรงเลื่อยร้าง ที่พอหมดสัมปทานก็ปิดตัวลง ปล่อยให้เถาวัลย์พันเกี่ยวและเป็นสวรรค์ของเหล่าตัวโกงในตำราเรียน… ยังคงฝังใจมาจนทุกวันนี้

ย่อหน้าตะกี้คือดักแก่ล้วนๆ

ส่วนเนื้อหาของเสาเสาเสาตอนนี้ เราไปสัมภาษณ์คุณติงลี่ แห่ง “โรงเลื่อยจักรไทยนำแสง” เกี่ยวกับการ “ทำไม้” จากท่อนซุงใหญ่ๆ ที่ล่องแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามา จนผ่านกระบวนการกลายเป็นไม้แปรรูปวัสดุก่อสร้างสุดฮิต และยังเอาไปทำนั่นนี่ได้อีกมากมาย จนเราเองก็ตกใจว่าเฮ้ย ทำได้ด้วยเหรอวะ — ได้!

นอกจากนี้แล้วยังมีสาระเรื่องราวเกี่ยวกับไม้ ทั้งชนิด คุณสมบัติ ราคา! (ใช่ เราถามราคาด้วย) แหล่งที่มา กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเทคนิคการดูแลรักษา ฯลฯ เท่าที่ความอยากรู้อยากเห็นของเสาเสาเสาจะพาคุณไปถึง

ขอให้สนุกครับ!

ก็นั่นแหละครับ เชิญฟังเสาเสาเสา หนึ่งในอีพีที่ผมชอบที่สุด “รักเธอเลื่อยไปไม้เปลี่ยนแปลง” ได้ที่นี่เลยครับ

ป.ล.
นอกนั้นที่ตัวเองรับผิดชอบในการจัดรายการเอง ก็เป็นเรื่องการซื้อบ้าน กับเรื่องสถาปัตยกรรมกับขี้… ลองกดฟังกันนะ ในเพลย์ลิสต์รายการเสาเสาเสาบน Spotify