บริการใหม่จาก Google Translate: แปลภาษาสก๊อยได้แล้ว

skoy

(16 ก.ค.55) รายงานข่าวแจ้งว่า เนื่องจากภาษาสก๊อยกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ไทยในขณะนี้ ทางกูเกิลจึงได้เพิ่มระบบแปลภาษาสก๊อยเข้ามาในบริการ Google Translate โดยผู้ใช้สามารถเลือกภ่ษ่สก๊อยดั้ยต่มสฎวฆ พริ๊ส์จ่เฮว์าญัว์.งรั๊ส์ญก่นุ๊ง์วกรั๊ท์นแณ่ฆร๊ T.T ณริ๊ส์ฬถว่ธิ๊แฟว์ลนุ๊ซ์วฆ๊ธิจ่ปรั๊ส์ยซ่เว๊ม์ลเซร๊ส์ลพรุ๊สฺงนิ๊ว์ เธ๊ว์หมรั๊ว์ยฆร๊ นุ๊ง์วญั๊ซ์กดั๊ล์ยปั๋ส์วเ)้ฯฏำหร๋ซ์วฅภฮ์อดริ๊ข๊ >,.< (ไอ้ที่อ่านไม่ออกนี่ก็อปเขามาให้เนื้อหาบล็อกมันยาวๆ น่ะ)

ทั้งนี้ มาร์ค ซักกะเบิก ผู้ก่อตั้งและเจ้าของเฟซบุ๊กก็ได้ออกมายอมรับว่า เฟซบุ๊กเองก็เตรียมเพิ่มฟีเจอร์ดังกล่าวเมื่อคลิกที่ลิงก์ “แปลภาษา” ใต้ข้อความที่โพสต์ในเร็วๆ นี้เช่นกัน โดยระยะแรกจะเปิดให้ทดลองใช้กันก่อนในวงจำกัด โดยผู้ที่สนใจสามารถนำไปทดลองใช้ได้ในเพจ “ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อย” (ชื่อเพจอะไรของแม่งวะ พิมพ์ยากฉิบหาย อยากรู้ว่าใครสามารถพิมพ์ได้โดยไม่ก็อปปี้แปะมั่ง ..อุ๊ย ลืมไป นี่มันข่าว)

// เพิ่มเติมจากคอมเมนต์ข้างล่างของคุณ @narze ทำเครื่องมือแปลภาษาสก๊อยที่ว่านี่มาจริงๆ ด้วย!

Google Translate อ่านออกเสียงไทยได้แล้ว และฮามาก

เพิ่งอ่านข่าวเมื่อวันสองวันมานี้ (จำที่มาไม่ได้ ขออภัยครับ) ว่า Google Translate มันออกเสียงภาษาไทยได้แล้ว
ก็เลยนึกสนุก กะว่าน่าจะเอามาทำอะไรได้อีกเยอะเลยนะครับ แล้วตะกี้คุณ @butthun ก็ทวีตคลิปนี้มา
เป็นคลิปเพลงคันหู ที่ไม่ได้ร้งโดยน้องจ๊ะ แต่มาจากกูเกิล!

เหยดดดด ฮาแสรด :30:

เลยลองไปค้นๆ ดูว่ามันน่าจะทำอะไรได้อีกบ้าง ก็เจอวิธีเล่นสนุกมาแบ่งกันครับ

กดลิงก์ปั๊บ ไปหน้าแสดงข้อความพร้อมรับการอ่านออกเสียง

ให้เข้า URL นี้ครับ เปลี่ยนข้อความตามใจชอบนะ

http://translate.google.com/#thai|thai|สวัสดีครับพี่น้อง

กดลิงก์ปั๊บ มีเสียงภาษาไทยดังปุ๊บ

แค่แจกลิงก์นี้ไป พอกดปั๊บ มันก็จะอ่านออกเสียงให้ได้เลย
ประโยชน์หลักๆ คืออันนี้น่าจะเอาไว้ช่วยผู้พิการทางสายตา หรือคนที่ไม่รู้หนังสือได้
แต่ประโยชน์รองๆ ก็คือมันเอาไว้แกล้งเพื่อนได้ และท่าทางจะต่อยอดให้ฮาบัดซบได้อีกเยอะเลยครับ
ลองดูนะ

http://translate.google.com/translate_tts?tl=th&q=เปลี่ยนข้อความตรงนี้

ตัวอย่าง:

หรือใครคิดมุกอะไรได้ช่วยเขียนไว้ในคอมเมนต์ข้างล่างหน่อยครับ
เพราะถ้าอีพวกนี้ไประบาดในวงเกรียน รับรองครื้นเครงแน่นอน

ทีนี้มันจะมีปัญหาอยู่นิดนึง ไม่รู้เป็นที่อะไร
คือพอกด Play แล้ว พยางค์แรกมันจะสะดุด เลยแก้ปัญหาด้วยการเติม “-” ลงไปข้างหน้าข้อความครับ
มันก็จะไปเว้นวรรคก่อนที่จะเริ่มประโยคแป๊บนึง แต่ต่อจากนั้นก็ฮารัวๆ ได้เลย

แล้วก็บางทีกดลิงก์แล้วมันจะขึ้นหน้า Error ครับ
ซึ่งพอ Clear cache แล้วก็เข้าได้ตามปกตินะ หรือจะจิ้มที่ช่อง URL แล้ว Enter อีกทีก็ได้
แต่มันจะเป็นหลังจากลิงก์เสียงแรกที่เรากดไปแล้ว (เดาว่าเป็นที่ตัว TTS ของกูเกิลมันจำคำแรกไว้แล้วไม่ได้ล้างทิ้ง)

และที่ฮาสุดคือใน Safari แม่งสะกดตัวอักษรเป็นตัวๆ เลยครับ เฟลมาก (ปกติผมใช้ Chrome)
ก็หาทางคลำกันต่อไปครับ

โค้ดอ่านออกเสียงสำหรับคนทำเว็บ

เอามาจากที่นี่ครับ โดยคุณ Brandon Boone จิ้มกดไปดูที่ต้นฉบับเอาเองนะ
โค้ดนี้จะทำให้เราสามารถฝังเสียงจาก Google Translate ลงไปในเว็บได้เลยล่ะ
ซึ่งถ้าจะว่ากันจริงๆ พ.ศ.นี้ต้องอาศัย Quicktime หรือ Windows Media Player ในการเล่นไฟล์เสียง
แต่ต่อไปก็ใช้แท็ก <video> และ <audio> ได้เลย แต่ต้องรอให้ชาวบ้านเขาส่วนมากเปลี่ยนมาใช้เบราว์เซอร์ใหม่ๆ กันซะก่อนนะ

ขอให้เพลิดเพลินครับ

ขอกล่าวสดุดี Facebook Timeline

หลายปีที่ผ่านมาผมด่าเฟซบุ๊กมาโดยตลอด
คือมันดันเป็น Hi5 ที่ใช้โคตรยากและไม่สนุก ทุกคนต้องทำตามกติกาที่มันกำหนดไว้
จะดิ้นไม่ได้ สร้างสรรค์อะไรสนุกๆ ไม่ได้ ติดกรอบแม่งตลอด และเป็นแบบนั้นเสมอมา
เรื่องน่าปวดกบาลก็คือมันดันเป็นเว็บที่คนติดกันมากๆ .. มากที่สุดในโลก
แต่ระหว่างนั้นก็ต่อเติมอะไรไม่รู้เข้ามายังกะตึกนิวเวิลด์ที่บางลำภู จะถล่มแหล่มิถล่มแหล่
จนกระทั่งพักหลังๆ ที่มี Google+ มาแข่งด้วยเนี่ย ยิ่งลอกกันเละเทะรายวัน

ไม่รู้มีใครรู้สึกเหมือนกันไหมว่า ที่ผ่านมาการอวยพรวันเกิดเนี่ยแม่งหมดขลังสิ้นดีเพราะอีซักกะเบิกแท้ๆ
หรือการบันทึกความประทับใจอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้น แล้ววันเวลาก็จะพาให้มันพร่าเลือนไปเนี่ย
มันเป็นสุดยอดเสน่ห์ของโลกอะนาล็อก ที่คนยุคก่อน MP3 ไม่มีทางเข้าใจเลยนะ

แต่นั่นก็เป็นแค่เรื่องคนแก่เอาไว้คุยกัน วันนี้เด็กๆ ยังไม่เข้าใจหรอกว่าเราจะมารำลึกอดีตกันทำไม
เพราะข้อความที่ทวีตออกไป หรือโพสต์อะไรออกไป มันคือ “ปัจจุบัน” เท่านั้น
ทุกคนทุกค่ายแย่งกันเป็นปัจจุบัน ไม่มีใครชอบบ้าสะสมเหมือนคนยุคซื้อเทปสะสมซีดีกันอีกแล้ว

สำหรับโลกออนไลน์ ผมใช้ทวิตเตอร์เป็นหลัก กูเกิลพลัสเป็นรอง ในการแบ่งหรือบ่นในชีวิตประจำวัน
แต่ก็ได้ประกาศอยู่บ่อยๆ ว่าอยากติดเฟซบุ๊กบ้าง แต่ทำยังไงก็ไม่ติดซะที แม่งไม่ใช่ทางของเราเลยอะ
จนหลังๆ ต้องตั้งเป็นหน้า Home จะได้ติดกะเขาบ้าง (อาจดูกระแดะ แต่สาบานได้ว่าพยายามจริงๆ)
ทีนี้ทุกเครือข่ายมันมีปัญหาคือเราดันไม่มีที่ไว้ “เก็บอดีต” เลยว่ะ อดีตมันจมหายไปหมดเลย

และแล้ว การเปลี่ยนแปลงล่าสุดเมื่อคืน เฟซบุ๊กก็ทำได้ และชนะแบบที่คิดว่ามึงเอาโลกไปเลย
นั่นเพราะพี่แกเปิดตัวหน้า Profile แบบใหม่ที่ชื่อ Timeline (อ่านเอาจาก faceblog นะ)
นั่นทำให้เราสามารถคลิกลากไถดูประวัติของตัวเอง หรือของเพื่อนได้ จะย้อนไปศักราชไหนก็ได้
จะสำคัญหรือไม่สำคัญก็เอาเหอะ คนออกแบบเขาทำให้เราไถย้อนกันไปได้อย่างเร็ว
เร็วจนไปขุดเอาเรื่องที่เคยหัวเราะร้องไห้กันมาตั้งแต่สมัยไหนก็ไม่รู้ขึ้นมาให้เป็นบทสนทนากันอีกครั้ง

เฮ้ย สำหรับมนุษย์วัยนี้ ที่คาบเกี่ยวระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์นี่มันสุดยอดเลยนะ!

ความซวยไปตกอยู่ที่ทวิตเตอร์ ที่ดันจำกัดการย้อนดูไว้แค่ 3200 ทวีตล่าสุด
ที่ผ่านมาผมหาที่เอาไว้เก็บทวีตเก่าๆ แต่มีคุณค่าอยู่พักนึง แต่ก็ไม่ได้อันที่ถูกใจ (และฟรี) สักที
ที่ผ่านมาผมเลยสั่งให้ทวิตเตอร์มันโยนทุกข้อความที่เราทวีต ไปโผล่กองๆ เกะกะในเฟซบุ๊กไว้ซะ
ไม่คิดว่าวันนึงอยู่ดีๆ อีไทม์ไลน์แบบนี้จะโผล่มาเป็นเครื่องมือที่อยากได้เลยครับ (วิธีเปิดใช้งาน)
คือมึงตอบโจทย์กูทุกอย่างเลย ก็เล่นเก็บข้อความย้อนหลังได้ตั้งแต่ปีมะโว้ที่สิบหกเลยนะ
ที่สำคัญดันพรีเซนต์ออกมาหน้าตาดูดีโคตรๆ ซะด้วย

iannnnn's facebook timeline

ที่สำคัญอย่างยิ่งยงยอดบัวงาม ก็คือมันแต่งหน้ากากได้ (แต่พอสมควร ไม่ได้เปรอะเหมือนฮิห้า)
เป็นความสามารถที่น่ารักที่สุดเท่าที่จะคิดได้ของเว็บนี้แล้วครับ!
คือก่อนหน้านี้มันแห้งแล้งสุดๆ แต่ตอนนี้ทุกคนสามารถใส่ความเป็นตัวเองลงไปได้
และต่อไปเทรนด์ใหม่ที่จะทยอยโผล่ตามมาก็คือทำหน้า Profile จ๊าบๆ มาอวดกัน
ทำให้ Facebook Profie นี้มีศักดิ์ศรีพอที่จะเอาไว้เป็น “บัตรประชาชนออนไลน์” จริงๆ ละ

ว่าแล้วก็หัดเล่นเฟซบุ๊กจริงๆ จังๆ ให้ติดแบบที่ชาวบ้านเขาคิดกันมาเป็นชาติแล้วมั่งดีกว่า
เพราะเริ่มเห็นอนาคตแล้วว่าถ้ามึงคิดได้ขนาดนี้ เว็บนี้ก็น่าจะมีอนาคตไปอีกชั่วฟ้าดินสลายแน่นอน

อ้าว แล้วกูเกิลพลัสที่รักของฉันล่ะ

แล้วเราเป็นใครในโลกออนไลน์?

ขอเกริ่นก่อนว่า ผมเป็นพวกที่ขี้รำคาญพวกอวดรู้เหลือเกิน
เลยขอเขียนแบบนั้นดูสักครั้ง อยากรู้ว่าอีพวกนักวิเคราะห์นี่มันมองอะไรยังไงกัน 555
ถ้าขี้เกียจอ่านก็กดข้ามไปตอนอื่นๆ เพื่อหาการ์ตูนปัญญาอ่อนได้เหมือนเดิมตามสบายครับ

.

จริงๆ บล็อกตอนนี้ต้องเขียนตั้งแต่เล่น Google+ วันแรก แล้วรู้สึกแวบขึ้นมา
เพราะหลังจากหยอดรีวิวแรก(ของชาติเลยนะ)ไปนิดนึง ก็รู้สึกว่าจะต้องขยายความเพิ่มอีก
แต่ก็ดันดองจนเริ่มเปรี้ยว เลยขอเขียนภาคต่อแบบดิบๆ แบบนี้แหละครับ

ประเด็นที่อยากขยายความก็คือ ขอสำรวจตัวตนก่อนว่าเหล่าสังคมออนไลน์ที่เราสิงสถิตอยู่เนี่ย
มันรู้จักอะไรกะเรา?

Facebook: นี่กูต้องเป็นใคร

ลองสังเกตดูครับ พฤติกรรมที่เว็บสีน้ำเงินแห่งนั้นจูงใจและเอื้ออำนวยให้เราเป็น
ก็คือการบอกว่า “กูเป็นใคร” ไม่ว่าจะ ไม่ว่าจะชอบกินอะไร เที่ยวที่ไหน เล่นอะไร
นับถือใคร ชอบ รัก เกลียด เลือกพรรคไหน และมั่นใจว่าคนไทยจะมั่นใจอะไร :30:
สิ่งเหล่านี้คืออาหารอันโอชะสำหรับเจ้าของเครือข่าย ที่ถึงเวลาแล้วเขาก็นำมาใช้หาประโยชน์
และร่ำรวยจากการรีดข้อมูลส่วนตัวของเราโดยสมัครใจ เอาไปขายโษณาซะงั้น
เราในฐานะผู้ใช้ก็ไม่ต้องไปรู้สึกระแวงหรืออะไรหรอกครับ มึงจะเอาก็เอาไป ขอให้กูได้เลี้ยงหมูก็พอ
(มีฝรั่งบอกว่า วิกิลีกส์เอาความลับมาแจกจนโดนล่า ส่วนเฟซบุ๊กได้ขึ้นปกไทมส์ทั้งที่ขายความลับเรา!)
นอกจากนั้นแล้ว ระยะเวลาที่ผ่านมา ระบบนิเวศในเฟซบุ๊กก็ดันเน่าหนอน
เพราะบรรดาบริษัทห้างร้านก็ดันระดมหลอกคนมากด Like (ฝ่านการตลาดชอบตัวเลขเยอะๆ นี้นัก)
จนข้อมูลส่วนตัวของคุณกลับกลายเป็นอะไรไม่รู้ นี่กูไปชอบบ้านจัดสรรของมึงตั้งแต่เมื่อไหร่วะ
แต่พักหลังทางคุณซักกะเบิกและทีมงานก็ได้เร่งแก้ปัญหานี้ด้วยการออกกฎเหล็กมาแปดข้อแล้ว
เดี๋ยวจะรอดูว่าได้ผลแค่ไหน และสังคมอุดมโฆษณาแห่งนี้จะกลับมาสงบสุขอีกครั้งหรือไม่

Twitter: ที่จริงแล้วกูเป็นใคร

“ในทวิตเตอร์ เราปกปิดตัวตนของตัวเองได้ไม่นานหรอก” ใครหลายคนก็กล่าวแบบนี้
ซึ่งทวิตเตอร์มันก็เป็นอย่างที่ว่าจริงๆ ครับ มันไม่มีอะไรให้เล่นอีกแล้วนอกจาก 140 ตัวอักษรนั่น
คุณนึกอะไร ชอบอะไร จะสร้างภาพยังไง พอทวีตไปสักพันทวีตมันก็ปกปิดตัวตนคุณไม่อยู่อยู่ดี
ด้วยระบบการ Follow ที่คุณสามารถแอบรักและติดตามความเคลื่อนไหวของคนอื่นได้
โดยเขาไม่จำเป็นต้องทำความรู้จักเรา มันทำให้ทั้งเขาและคุณต่างก็แสดงความเป็นตัวเองออกมาได้
ฉะนั้นประสบการณ์การใช้งานทวิตเตอร์ของแต่ละคน จึงมีลักษณะที่ไม่เหมือนกันเลย
ดังนั้นไม่จำเป็นต้องพยายามมานั่งหานิยามแบบที่ได้ยินบ่อยๆ ว่า “คนในทวิตเตอร์เป็นคนยังไง”
เพราะมันขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ในสังคมไหน มีความสนใจอะไร แสตนด์จะย่อมดึงดูดแสตนด์ด้วยกันครับ
ไม่เชื่อก็ลองกดดูไทม์ไลน์ของคนที่เราไม่รู้จักเลย แล้วดูสิครับว่าคนในทวิตภพของเขาเป็นยังไง
สนุกดีนะครับ ผมเคยหลุดไปในวงการที่คุยกันแต่เรื่องปลากัด ปลาตู้ โคตรเจ๋งเลย

Google+: คนอื่นมองเรายังไง

ผมคงไม่มานั่งพูดกันแล้วนะว่ามันลอก หรือมันทำมาฆ่า Facebook หรืออะไร
เพราะภายใต้หน้าตาที่ออกจะคล้ายกันนั้น .. วิธีคิดมันคิดกลับหัวกันเลย

ความเจ๋งมันอยู่ที่ Circles ครับ
อย่างที่เขียนไว้ในตอนก่อนว่านี่แหละของเด็ด แล้วก็ไม่ได้ขยายความต่อว่ามันเด็ดยังไง วันนี้จะมาว่ากัน

ก่อนอื่นต้องแนะนำอีเจ้า Circles ให้คนที่อาจจะยังไม่ได้ลองเล่น Google+ ซะก่อน
มันคือระบบที่หน้าตาใช้ง่าย เอาไว้ให้เราจับลาก “คนรู้จัก” ลงไปอยู่ในหมวดหมู่ต่างๆ
ซึ่งมันสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางสังคมของเราพอดี ที่เวลานึกหน้าเพื่อนขึ้นมาสักคน
มันจะมีสถานะพ่วงมาด้วยเสมอ ผมก็เป็น คุณก็เป็น ไม่เชื่อลองสักสองสามสี่ห้าตัวอย่าง:

  • ไอ้บิ๊ก เพื่อนสมัยเรียนมัธยม ที่ตอนนี้กลับมาเจอกันและอยู่ในบอร์ดเดียวกันด้วย อาชีพทำเว็บ
  • ไอ้ตั๊ก ที่เป็นน้องมหาลัย แต่หลังๆ มันมาเที่ยวบ้านบ่อย แถมเป็นแก๊งกินที่ตามไปกินทุกที่
  • ไอ้แก้ว ที่รู้จักกันตอนทำงานที่ทำงานเก่า จนตอนนี้ก็ยังมาอยู่ที่ทำงานใหม่ด้วยกัน และเป็นแก๊งหมา
  • อีแชมป์ คนทำเว็บ วาดการ์ตูน เขียนหนังสือแนวจิกกัด รู้จักกันจากในเน็ตก็เพราะความจิกกัด
    จนพอมาเจอตัวจริงก็พบว่าเป็นชาวลาดพร้าวเหมือนกัน
  • เจ๊เพชร รู้จักกันในเน็ตแถมยังไม่เคยเห็นหน้าตากันเลย รู้แต่ว่าเจ๊กวนตีนจนน่าคบมาก และชอบหมา
  • ฯลฯ (รายนามบุคคลและสมาคมที่ถูกพาดพิงข้างบนนี้ ดันมีตัวตนอยู่จริงทั้งสิ้น)

เห็นไหมครับว่ามันมีบางอย่างที่กลุ่มคนที่กล่าวมาข้างต้นมีอะไรบางอย่างที่ “ทับซ้อน” กันอยู่หน่อยๆ
นั่นคือใน 1 คนอาจจะโคจรมาข้องแวะกับเราในฐานะ “สมาชิกร่วมวงการ” อะไรสักอย่าง
อาจจะเป็นวงใดวงหนึ่ง หรือมากกว่า 1 วงก็ได้ เช่นแก๊งกิน แก๊งเตะบอล แก๊งเที่ยว แก๊งเพื่อนสมัยเรียน ฯลฯ
กรุณาเปิดเพลง “เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ” ประกอบก็จะยิ่งเห็นภาพว่าวงโคจรมันมีอยู่จริง จริงๆ

Google-Plus-Circles

ในเมื่อวงมันมี แต่เราไม่เคยแปลงมันออกมาเป็นรูปธรรมแบบจับต้องได้ซะที
จน Google+ มันคลอดออกมาพร้อมกับภาพแรกที่เราเห็นแล้วก็จะงงว่า ไอ้ Circles นี่มันเชี่ยไรวะเนี่ย
มันคือ Circles อย่างที่เห็นในภาพนั่นแหละครับ แปลเป็นไทยว่า “แวดวง” (ฟังทีแรกจั๊กจี๋มาก แต่เริ่มชินละ)
ความที่มาถึงปั๊บ เราต้องไปเคลียร์กับตัวเองก่อนว่าจะจัดความสัมพันธ์กับคนนั้นคนนี้อย่างไร
อันนี้แหละที่ทำให้วิธีคิดของ Google+ นั้น “กลับหัว” กับทั้ง Facebook และ Twitter โดยสิ้นเชิง
เพราะ Facebook และ Twitter นั้นเรียกเพื่อนเราเป็น List และไม่ถูกขับเน้นเป็นสำคัญนัก
คือจะมีสักกี่ครั้งที่คุณได้ใช้การคุยกับเพื่อนเฉพาะลิสต์ที่ว่า? นอกนั้นก็เป็นระนาบเดียวกันหมด
โอเค ใน Facebook มีระบบ Groups ที่มองคล้ายกับเว็บบอร์ดที่ถึงเวลาก็ไปสุมหัว “ในนั้น”
แต่กับ Google+ นั้นไม่ต้องเข้าไปที่ไหน แต่การพูดทุกคำออกมาจะใช้การเจาะจงว่าเราพูด “กับใคร”
ผมเลยนับถือสถาปนิกระบบตรงนี้มากว่าเขาคิดได้ไงวะ พลิกกลับหัวจากระบบที่เราชินได้ โคตรเก่งเลย

ทีนี้มาต่อกันด้วยหัวข้อที่เขียนถึงในวันนี้ ว่า “คนอื่นมองเรายังไง”
ถ้าเปรียบเทียบกับใน Facebook และ Twitter การจัดเพื่อนเข้า List นั้นเพื่อความสะดวก
แต่สำหรับ Google+ มันมีมากกว่านั้นครับ ลองสังเกตดูว่าที่ผ่านมา Google ขาดอะไร?
Google มีคลังข้อมูลที่มีปริมาณเยอะที่สุดในโลก
Google มีสารพัดโปรแกรมระดับเทพ ที่พลิกระบบการคิดจากโปรแกรมอ้วนๆ ที่เรามี ไปอยู่บนเว็บ
Google มีระบบหุ่นยนต์และอัลกอริทึมมากมายที่ใช้วัดระดับความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เก๋าที่สุดของโลก
ฉลาดที่สุดในโลกขนาดนี้ แต่กลับพลาดท่าตรงที่เสือกไม่รู้เรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์!
เรียกได้ว่า Google สามารถ Search หาอะไรก็เจอแม่งทุกอย่าง
แต่กลับหาใจเธอไม่เจอ (ฮิ้วววว)

แต่ในที่สุด ตอนนี้พอมี Google+ ขึ้นมาปั๊บ
มันก็เริ่มจะหาใจเธอเจอแล้วครับ

ก็จากการที่หลอกใช้พวกเราในฐานะ User (ตอนนี้แค่กลุ่มเล็กๆ แต่ต่อไปก็ทั้งโลก)
ให้ระบุ Metadata ต่างๆ ที่พ่วงมากับทุกคน โดยไม่ต้องอวยสร้างภาพตัวเองแบบใน Facebook
เพราะแทนที่จะให้เราบอกใครๆ ว่าเราเป็นใคร แต่คราวนี้คนอื่นจะบอกเราเองว่ามึงเป็นใคร!
ก็ด้วย Circles นี่แหละครับ

circles-me

และฐานข้อมูลมนุษย์นี่แหละครับที่กูเกิลกำลังเริ่มเปิดฉากเพื่อครอบครองต่อจากฐานข้อมูลภายนอก
แบบเดียวกับที่ไอน์สไตน์คุยกะซิกมุนด์ ฟรอยด์ ว่าตูเนี่ยรู้หมดทั้งจักรวาล แต่ไม่รู้เรื่องในสมองคน
บัดนี้ไอน์สไตน์ที่เกิดใหม่มาในคราบหุ่นยนต์ มันเริ่มรู้แล้วครับ และเฟสต่อไป มันก็จะเริ่มครองโลก

ตัดจบ!