ก็เลยเขียน
ทดลองเล่น Leap Motion
ก่อนอื่นขอแนะนำก่อนว่าไอ้เจ้า Leap Motion นี่มันคืออะไร แต่ขี้เกียจอธิบาย ดูคลิปเอาละกันนะ
พอดีพี่อาท (@chaiyosart) เจ้าคณะแห่งสามย่าน แกซื้อไอ้เครื่องนี้มาตามที่ผมเคยง้องแง้งอยากได้อยากเห็นอยากเล่นอยากจับมาตั้งกะปีที่แล้ว แต่ของมันยังไม่ขายซะที (มีแต่รุ่นสำหรับนักพัฒนา ซึ่งไอ้เราก็ไม่ใช่) คือตอนเห็นครั้งแรกนี่ตื่นเต้นมากครับ เพราะมันดูเจ๋งมากในราคาแค่ประมาณ 2000 บาท (พอๆ กะเมาส์แอปเปิล!) คือถ้ามันผลิตเสร็จพร้อมขาย และเกิดฮิตขึ้นมา หรือแอปเปิลไม่ก็กูเกิลซื้อกิจการเอาไปทำนั่นนี่ต่อ รับรองว่าโลกเราจะไม่เหมือนเดิม และเมาส์ก็จะกลายเป็นไดโนเสาร์ไปเลย (นี่เอามาจากท็อปคอมเมนต์ใต้คลิปนะ)
แล้วอยู่ดีๆ เมื่อเช้า พี่แกก็เดินเอากล่องใส่ของเล่นชิ้นนี้มาวางไว้ แล้วบอกให้เอาไปเล่นให้ที อ้าว ก็เสร็จโจรสิครับ
ทีแรกว่าจะถ่ายตอนแกะกล่องแต่ก็ไม่ได้ถ่าย (แต่ก็มีอวดบน Google+ นะ) ก็เล่นที่ออฟฟิศไปแล้วรอบนึง แล้วพอดีจิ๊กกลับมาลองที่บ้าน (ยังไม่ได้ขออนุญาตด้วย น่ารักจริงๆ) เลยลงโปรแกรมในคอมที่บ้าน แล้วลองต่อเล่นอีกที
เพื่อให้เข้าใจง่ายและขี้เกียจพิมพ์ยาวๆ เพื่ออธิบาย ขอให้พี่น้องทุกท่านจงดูคลิปนี้ครับ เป็นการแกะกล่องออกมาและติดตั้งโปรแกรม รวมถึงการกดๆ ดูว่าใน Airspace (ก็คือ AppStore ของ Leap Motion) เขามีอะไรบ้างคร่าวๆ
และต่อไปนี้จะเป็นการอวดครับ อย่าเรียกว่ารีวิวเลย เรียกว่าอวดดีกว่า
ตัวเครื่องหน้าตาเป็นงี้ กว้างประมาณยางลบ ยาวเกือบเท่านามบัตร และหนาเท่าการ์ตูนค่ายเนชั่น ด้านหน้าเป็นตัวรับสัญญาณ
เขาว่ามันจะรับสัญญาณเป็น “ทรงกรวย” เหมือนมีโคนไอติมที่มองไม่เห็นคอยดักจับการเคลื่อนไหวของวัตถุที่โฉบไปโฉบมาเหนือเซ็นเซอร์ ซึ่งจับได้ละเอียดยุบยิบโดยเฉพาะวัตถุที่หน้าตาคล้ายมือเราเนี่ยแหละ แต่เท่าที่เล่นๆ นี่ มันรองรับมือได้สองข้าง อย่างละเอียดและไม่มีหน่วงเลยนะ แปลกดี ทำได้ไง กินอะไรถึงได้โตมา
พอลงโปรแกรมเสร็จแล้วมันก็จะมีแนะนำนั่นนี่ ออกมาเป็นกราฟิกง่ายๆ เห็นแล้วเข้าใจเลยว่าแบบนี้
สุดท้ายก็ลองมาดูกันครับว่าจะเล่นมันยังไง ทีแรกว่าจะจับภาพให้ดูเยอะๆ แต่คิดดูอีกทีถ้าอธิบายไปคืนนี้คงไม่ได้อ่านการ์ตูนกันพอดี เลยถ่ายเป็นคลิปแม่งเลยละกัน (ขออภัยที่วันนี้เจมส์จิไม่ค่อยสบายครับ เลยหน้าตาดูอิดโรยนิดนึง)
โดยสรุปคือ มันทำได้อย่างที่คุยจริงๆ ครับ เพียงแต่โปรแกรมที่รองรับยังไม่เยอะ (แถมพอจะกดซื้อแอปนึงในนั้นมันก็ดัน error เลยไม่ได้เสียตังค์) แต่ทั้งนี้เขาก็เปิดให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้เข้ามามีส่วนร่วมเยอะๆ เผื่อต่อไปการร่ายรำอยู่หน้าจอจะได้ฮิตติดลมบนกะเขาบ้าง วงการที่ได้ประโยชน์ที่ได้จากการร่ายรำแบบนี้ก็คงเป็นพวกเกม หรือวงการแพทย์ หรือพวกงานอีเวนต์เปิดตัวนั่นนี่ก็น่าจะมีไอ้เจ้านี่ไปให้ผู้ร่วมงานมาเล่น แบบเดียวกับที่ Wii และ Kinect เป็นพระเอกอยู่ในทุกวันนี้
เพียงแต่ระยะทำการมันจะแคบหน่อยนะ อาจจะต้องนั่งเบียดๆ แนบๆ กับน้องพริตตี้นิดนึง
พุทธศาสนาที่ข้าพเจ้ารู้จัก
เขียนก่อนนอน จะได้ไม่มีอะไรค้างคาใจ ตั้งชื่อหัวข้อเหมือนจะกว้างและมีประเด็นเยอะแยะแหลมคม แต่ไม่หรอก แค่บ่นๆ ตื้นๆ เหมือนเดิม
พอดีวันนี้วันอาสาฬหบุชา แม่ยายและครอบครัวเมียพร้อมน้องเมียก็ขับรถพากันไปที่วัดอัมพวัน สิงห์บุรี (เป็นวัดที่สวยและมีหลวงพ่อจรัญเป็นดิ ไอดอล)
แล้วแบบ คึกครับ ไม่ได้เข้าวัดหรอก แต่หยิบจักรยานพับท้ายรถไปปั่นดูบรรยากาศแถวนั้น (แน่นอนว่าขี่ไป จอดไป ถ่ายรูปสลิ่ม และโพสต์ขึ้นบล็อกตีนใหม่หัดปั่นไปด้วย)
บรรยากาศโคตรดีเลยครับ ดีทั้งในวัด และนอกวัด ที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาตีคู่กับถนน ทุ่งนา และคันคลอง ปั่นไปชิวไปตลอดทาง แม้จะเป็นช่วงเพลที่ร้อนโคตรๆ
เลยนึกได้ว่า เออ เราแม่งไม่เข้าวัดว่ะ นี่ขนาดวันพระขนาดใหญ่แล้วนะ แถมมาถึงวัดที่เจ๋งระดับนี้แล้ว เลยลองสำรวจอคติที่ตัวเองมีต่อศาสนาพุทธดูว่าทำไม
แน่นอนว่าคงไม่พูดถึงกรณีพระปลอม พระกาก พระเดนที่ทุกคนแม่งรู้กันหมดแล้วว่ามี แต่ทำอะไรได้หรือเปล่า หรือทำแล้วจะส่งผลอะไร ตัดปัญหา แก้ปมมารศาสนาได้ไหม นั่นเป็นเรื่องของคนอื่น ไม่ใช่เรื่องของผม
ไอ้ที่เกี่ยวจริงๆ คือมันส่งผลกระทบต่อผมโดยตรง เช่นเวลามีคนชวนไปทำบุญ ปล่อยนกปล่อยปลาปล่อยหมาแมว ทำไมกับบางคน บางวัด จึงรู้สึกอึดอัด ก็พอจะนึกได้ดังนี้ ว่า
ผมไม่ชอบเลย เวลาคนมาทำบุญแล้วต้อง “ได้” บุญ
ถึงพระเท่ๆ อย่างสายท่านพุทธทาส (ซึ่งผมว่าโอเคสุดๆ แล้ว) จะบอกว่า “ทำดี ดี!” (ไม่มีคำว่าได้) ซึ่งเฮ้ยมันเท่มาก คุณจะไปโยงเหตุโยงผลอะไรแล้วเอามาเหมาเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม ผลบุญ หรือศัพท์แสงอะไรที่จะบอกว่าการเอาตังค์ไปถวายวัดหนึ่งร้อยบาทแล้วจะส่งผลให้เรามีหน้าที่การงานที่ดี หรือชีวิตสุขสบาย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ อะไรนั่น … ก็บอกเลยว่าไม่เชื่อ
แล้วก็ต้องขอขัดขาไว้ก่อนว่า “ยังงี้มึงก็เลวสิ”
โน้ๆๆๆ
คือมันจะมีระบบความคิดประหลาดๆ ที่ชอบกีดกันคนอื่นที่ไม่ได้เห็นด้วยกับเราให้เป็นคนอื่นเนี่ย คือผมโอเคกับการทำดี ผมเชื่อว่าแต่ละคนมีนิยามความดีแตกต่างกันออกไป จะสมาทานเป็นของตัวเอง หรือพยายามโน้มน้าวคนอื่นให้เชื่อว่าหลักเกณฑ์ความดีของตนนั้นมันถูกต้องสมควร ก็ว่ากันไป
แต่ผมเชื่อว่า “ความดีมันเป็นค่าสัมพัทธ์” (เคยกล่าวไปแล้วในบล็อกเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งบล็อกพังไปแล้ว) ที่เกิดจากคนหนึ่งทำกับสิ่งหนึ่ง แล้วแต่ว่าสิ่งนั้นจะเล็กใหญ่ หรือส่งผลกระทบอะไรต่อไป เสียดายคืนนี้ง่วงแล้วเลยไม่ได้อธฺบายซ้ำว่าไอ้ทฤษฎีความดีสัมพัทธ์น่ะมันอะไรยังไง แต่น่าจะพอเดากันออกเนอะ ขี้เกียจเขียนซ้ำ
ฉะนั้นเมื่อผมมีอคติกับนิยามของความดีแบบที่เห็นต่อหน้าต่อตาบ่อยๆ โดยเฉพาะเรื่องการกอบโกยหรือคาดหวัง “ผลตอบแทนจากการทำบุญ” ผมจึงไม่ให้เงินขอทาน ผมจึงไม่ทำบุญกับวัด ผมจึงขี้เกียจนั่งฟังพระเทศน์เป็นภาษาต่างประเทศที่ตัวเองไม่เข้าใจ หรือพิธีกรรมแบบไทยๆ (ไม่ใช้คำว่าพุทธ) ที่ดูไม่เห็นจะจำเป็นเลย รวมถึงพฤติกรรมอื่นๆ ที่ดูแล้วไอ้นี่แม่งมารศาสนาแน่ๆ
แต่ผมเชื่อว่าไอ้การทำแบบนี้มันก็ไม่ได้ชั่วหรอก เพราะเชื่อว่าไอ้ที่ตัวเองทำ และเป็นอยู่ทุกวันนี้ มันก็เป็นความพยายามจะดีอยู่ไม่น้อย เรียกว่าค่อนข้างเนิร์ดเลยด้วยซ้ำ เพราะผมยังเป็นคนหัวเก่าที่คิดอะไรแบบเก่าๆ ยังประทับใจเวลาเห็นคนทำอะไรดีๆ (ที่เป็นนิยามความดีในแบบสากล ฝรังเขามีศัพท์ด้วย แต่จำไม่ได้ ถึงจำได้เอามาเขียนในวงเล็บตรงนี้ก็ไม่ออกสอบ)
เพียงแต่มีอคติที่รุนแรงต่อการโปรโมตเรื่อง “ผลบุญ” ที่ตัวเองไม่เชื่อเอาเสียเลยเท่านั้นแหละ
สำหรับเรื่องวัดวา ผมก็เหมือนหลายๆ คน (ไม่ได้เหมารวม แต่แค่จะบอกว่าตัวเองก็ไม่ได้แนวอะไร) คือเกลียดวัดที่ทำตัวเป็นสถานที่ปลุกเสก เกลียดพระ (อ้าว ไหนบอกจะละไว้) ที่ทำตัวเป็นนักธุรกิจ รู้ว่ามันต้องมี และมันต้องขับเคลื่อนอะไรต่ออะไร แต่ถ้าเลือกได้ก็จะไม่ข้องเกี่ยวเลย ปล่อยให้คนที่เชื่อเขาเชื่อไป เราไม่ได้ไปโดดขวางเขา แต่เราแค่ไม่ร่วมสังฆกรรมด้วยเท่านั้นแหละ
แต่บางทีจะบอกว่าต่างคนต่างอยู่ก็ลำบาก เพราะมันจะมีหลายๆ เคสที่ความเชื่อของแต่ละคนมันจะมีโอกาสมาไฝว้กันบ่อยๆ (แค่นึกภาพช็อตที่มีญาติโยมชวนไปนั่งสมาธิที่วัด X นี่ก็ถือเป็นความอึดอัดแล้วนะ) และเราไม่สามารถใช้ชีวิตแบบหลีกเลี่ยงการโคจรผ่านก้อนความเชื่อของคนอื่นๆ ออกไปได้ อย่างการนับถือสิงศักดิ์สิทธิ์ (ไม่เชื่อโซ้ย) ความเป็นสิริมงคล (ไม่เชื่อโว้ย) ผีสางเทวดา หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ (ไม่เชื่อโว้ยยยยย) และป่วยการที่จะมาอธิบายว่าไอ้พวกนี้ไม่ได้เรียกว่าพุทธเลยเหอะ ดังนั้นก็ลำบากน่อย แต่ก็โอเค
ขนาดไปวัดเจ๋งๆ อย่างวัดหลวงพ่อจรัญ แต่ประตูเข้าวัดยังมีพ่อค้าแม่ค้าจับเต่าเผือกมาใส่กะละมังโชว์ให้คนมาทำบุญ หรือมีตาลุงจูงช้างเด็ก (เด็กมาก) มาให้คนจ่ายเงินให้อาหารมันเลย หรือแม้แต่ของวัดเองยังมีท่อนไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีผ้าเจ็ดสีพันไว้รอบๆ พร้อมชุดนางรำสารพัด ทำเป็นเพิงใหญ่ๆ เลยนะ เห็นแล้วก็เออ หลวงพ่อท่านคงปรามไม่หมดจริงๆ แล้วก็คงเซ็งๆ ด้วยแหละ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะเหตุผลคล้ายๆ กับที่ว่าไว้ข้างบน (อันนี้ไม่ได้มโนเอาเอง อ้างอิงจากประวัติรูปปั้นหลวงพ่อโตในวัด ที่เขียนบอกไว้ว่า คนนั้นคนนี้ก็ฝันว่าหลวงพ่อโตมาบอกให้สร้างรูปปั้น แต่หลวงพ่อจรัญไม่เชื่อ แต่ก็ทานไม่ไหว โดนบิ๊วจนยอม อะ สร้างก็สร้าง ในเขียนดุไว้ในแผ่นป้ายด้วยว่าเป็นสมภารที่ดื้อ แต่สรุปก็ต้องยอมๆ ไป)
ในเมื่อศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ การที่หัวใจจะไปยึดเหนี่ยวกับอะไรทั้งที มันก็ต้องเท่ๆ หน่อย ไม่ใช่แบบ อะไรวะ มึงอีกแล้ว งมงายอีกแล้วงี้
โอ๊ย เขียนแล้วก็ด้น วกวนจับประเด็นไม่ได้เลย แต่ก็เอาเหอะ
มาขนาดนี้แล้วต้องบอกไหมว่าเป็นความคิดเห็น(อคติ)ส่วนตัว
ไม่คิดว่าวันหนึ่งจะมีคนทำรายการเพื่อเรา
ทำไมต้องขยัน?
เมื่อยังเด็กเราคงจะได้ยินคนบอกอยู่เสมอว่าให้ขยัน เมื่อทำงานบางทีเราขยันไปเองโดยไม่ต้องมีใครมาบอก แต่เราเคยตั้งคำถามกันไหมว่า ‘ทำไมเราต้องขยันกันขนาดนี้ และเรามีสิทธิ์ที่จะขี้เกียจกันบ้างไหม’
วัฒนธรรมชุบแป้งทอดอยากจะชวนคุณผู้ชมไปสำรวจดูว่า ในสังคมปัจจุบัน ความขยันและความขี้เกียจมีหน้าตาเป็นอย่างไร ความขยันและขี้เกียจเป็นเรื่องส่วนตัวจริงหรือ ทำไมเราจึงถูกสอนให้ขยันตลอดเวลา คนในสังคมอื่นขยันเหมือนเราหรือไม่ และทำไมคนบางคนถึงไม่มีสิทธิ์ที่จะขี้เกียจ
ร่วมทำความเข้าใจ สังคมแห่งความขยันกับ รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, คุณ พลอย จริยะเวช นักเขียนผู้เห็นคุณค่าของการหยุดพัก, และคุณจิตร์ ตัณฑเสถียร ศิษย์หมู่บ้านพลัมที่มองเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของวันขี้เกียจ
ออกอากาศพุธที่ 10 ก.ค.นี้ 20.20 น. ทางไทยพีบีเอส
นี่สินะที่ต้องเรียกว่า “น้ำตาจะไหล ขอแชร์นะคะ”
ป.ล.ถ้างง อ่านย้อนตอนเก่าได้ครับ “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข“
สวัสดีกล้องใหม่ Olympus E-P5
(คำเตือน: นี่คือบล็อกตอนที่ว่าด้วยกิเลสและทุนนิยม)
(เตือนอีกที: นี่ไม่ใช่รีวิวกล้องนะครับ แต่ถ้าใครสนใจจะถามอะไรเชิญที่คอมเมนต์ครับ ถ้าพอตอบได้ก็จะตอบจ้ะ แต่อย่าหวังคำตอบแนวน้าๆ นะ)
ผมวางโครงการเปลี่ยนกล้องมาหลายเดือนแล้วครับ ตั้งใจว่าจะเกษียณเจ้า GF1 กล้อง mirrorless สีแดงแปร๊ดที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนาน คือเรียกว่าเป็น “ของเล่น” ที่ใช้ทำมาหากินควบคู่กันไปด้วย (ใช้ถ่ายแบบแฟชันของร้านนลินฟ้าครับ ทำสตูดิโอถ่ายกันบ้านๆ นี่แหละ แต่ก็ช่วยให้ครอบครัวเรามีตังค์ซื้อข้าวกินทุกวันนี้) ใช้มาจนตรงนั้นขัด ตรงนี้สนิม แต่ยังถ่ายภาพได้ดีอยู่ โดยที่รู้สึกแค่ว่าคุณภาพของภาพถ่ายในระยะสามสี่ปีหลังจากการเกิดมาบนโลกของ GF1 เนี่ย มันน่ามีอะไรพัฒนาขึ้นกว่าเดิมมากๆ แล้ว และเทคโนโลยีที่เคยราคาแพงในสมัยนั้น ก็น่าจะปรับราคาลงจนเราเอื้อมถึงได้ ทำให้การถ่ายรูปเล่นและใช้ทำงานไปด้วยก็คงจะสะดวกมือขึ้นนะ
โจทย์ที่วางเอาไว้ก็คือ กล้องตัวต่อไป ต้องถือแล้วดูหล่อ อวดความเป็นสลิ่มได้เต็มที่ แต่ไม่เอากล้องใหญ่ๆ หนักๆ ที่พกยากนะ คือเลิกคบ DSLR ขายทิ้งหมดตั้งแต่สมัยที่เจอ GF1 แล้วหลงรักนั่นแหละ
ส่วนประเด็นรองคือความเก่งของกล้อง ตามสเป็กที่โอตาคุและน้าๆ เขาชอบเอาตัวเลขนั่นนี่มาข่มกัน คือมีอะไรที่ดูเลขเยอะๆ ได้ก็ดี แต่ไม่ได้สนใจจะเน้นมันเท่ากับประสบการณ์การใช้งานที่ดี (เป็นนิสัยของพวกคนทำงานออกแบบรึเปล่าวะ)
ถ้าให้เรียงลำดับความสำคัญก็จะได้ สวย > นิสัยดี > เก่ง
หลังจากอ่านนู่นนี่อยู่นาน ก็มาชอบ E-PL5 สีขาวขอบน้ำตาล เพราะมันดูตุ๊ดๆ ดี (ผมชอบใช้ของที่มันดูตุ๊ดๆ ครับ) และน่าจะใช้กับเลนส์เก่าของเราได้ด้วย แต่พอไปดูของจริง แม่งไม่สวยอย่างที่เห็นในเว็บเลย บายนะ นี่ยังไม่ได้ดูสเป็กใดๆ ทั้งสิ้น แต่บายไว้ก่อนละ
พอได้ติดตามฟีดข่าวจากเว็บกล้องและวงการภาพถ่ายบ่อยๆ (ของฝรั่งนะ ของไทยไม่รู้เขาดูกันที่ไหน) ก็ได้เห็นการเปิดตัวของกล้องที่เห็นแล้วกรี๊ดเลย คือใช่เลย ดีไซน์นี้แหละ มันคือ Olympus E-P5 ต้องสีเงิน-ดำด้วยนะ ถึงจะดูแคลสสิก ถูกใจมาก บ้าคลั่งมาก ขนาดตอนที่ไปญี่ปุ่นในช่วงเดียวกับที่มันกำลังจะวางขาย (เออ ยังไม่ได้เขียนบล็อกเล่าเลยนี่หว่า) ก็ออกตามหาเพื่อจะหิ้วกลับมาไทย และก็พบว่ามันยังไม่วางขาย เลยกลับบ้านแบบหงอยๆ พร้อมโบร์ชัวร์ภาษาญี่ปุ่นที่มีแต่ข้อมูลและภาพตัวกล้อง ไม่มีของติดมือมาจริงๆ
จนพอเวลาผ่านไปไม่นาน ได้คุยกับคนนั้นคนนี้ ปรึกษาทั้งมนุษย์ตัวเป็นๆ และมนุษย์ที่แปลงสภาพเป็นตัวอักษรในจอคอมพิวเตอร์แล้ว (คุยกับคนนี้ด้วย!) ก็ได้ตัวเลือกระดับสุดยอดมา 2 ตัวที่กินกันไม่ลงจริงๆ นั่นคือ Fujifilm X-E1 และ Olympus OM-D EM5 ซึ่งมีข้อดีข้อด้อยต่างๆ กันออกไป ใครจะมีวิธีตัดสินใจยังไงก็ช่าง แต่สำหรับผมใช้เกณฑ์พิจารณาด้วยรสนิยมส่วนตัวต่อไปนี้
Continue reading สวัสดีกล้องใหม่ Olympus E-P5