ไม่ใช่ไทม์แมชชีน แต่มันคือเฟซบุ๊ก

แอนสมัยประถม
(ขอบคุณภาพประกอบจากเตย เมธาวี)

เมื่อคืนตื่นเต้นมากจนทวีตออกมาอย่างรวบรัดว่าอย่างนี้ครับ

เหตุการณ์ก่อนหน้านั้นคืออยู่ดีๆ ก็มีอีเมลเด้งเข้ามาว่ามีคนตอบเราในเฟซบุ๊ก (ต้องอธิบายหน่อยว่าผมไม่ได้ “เล่น” เฟซบุ๊ก ไม่ได้แปลว่าไม่ได้ใช้งาน แต่แปลว่าไม่ได้จมปลักอยู่กับมัน ซึ่งการจมปลักนี้ใช้กับทวิตเตอร์ แม่งเรียกได้ว่าตลอดเวลา ติดต่อง่ายกว่าโทรหากันสักล้านเท่า) เลยกดไปดู

ก็พบว่ามีเพื่อนชื่อจูนทักเข้ามา แล้วลงท้ายด้วยว่ามาจากกรุ๊ปชื่อ อ.ป. ซึ่งเป็นชื่อย่อของโรงเรียนอรุณประดิษฐ เพชรยุรี ที่ผมเคยเรียนอยู่สมัย ป.3 ถึง ป.6

ด้วยความฉงนแกมตะลึง (คือพอจะสปอยล์ตัวเองได้แล้วว่าวินาทีต่อจากนี้ไป จะเกิดอะไรขึ้น) ก็เลยกดลิงก์นั้นเข้าไป และพบกับโลกที่ไม่คิดว่าจะได้เจอ

เพื่อนสมัยประถมหลายคนกำลังูดคุยสนทนากันในกรุ๊ปแบบปิด บางคนแนะนำตัว บางคนโพสต์รูปถ่ายเมื่อสมัย 20 ปีก่อน (เด็กประถมที่ถือกล้องถ่ายรูปเมื่อ 20 ปีก่อนนี่รวยส์จังเลย 5555) เอามาอวดกัน แล้วเริ่มไล่เรียงทายชื่อเพื่อนแต่ละคนที่วิญญาณสถิตอยู่ในภาพถ่ายนั่น

ผมตื่นเต้น ไล่นิ้วปาดดูไปเรื่อยๆ (เปิดในมือถือ) ก็พบว่าไม่สาแก่ใจ เลยวิ่งลงมาหยิบคอม เอาไปวางบนเตียงแล้วนอนคว่ำหน้าเสพภาพมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นตรงหน้า มันคือภาพของเด็กประถมจำนวนมากที่กำลังจัดกิจกรรมอะไรบางอย่าง บางภาพเป็นภาพหมู่ บ้างก็ภาพเดี่ยวๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีและราคาของมันในสมัยนั้น ทำให้ทุกคนที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมต่างตั้งใจฉีกยิ้ม และเก็กท่าใส่กล้องอย่างเต็มที่

ซึ่งสารภาพว่าผมจำใครแทบไม่ได้เลย แม้เพื่อนหลายคนจะรายงานตัวว่าตัวเองชื่อ นามสกุลอะไร ก็ยังคงจำได้แค่คลับคล้ายคลับคลา

มัธยมกับประถมมันต่างกัน

วัยมัธยมเรามีเพื่อนเป็นศูนย์กลางของชีวิต การมีกรุ๊ปเพื่อนมัธยมมันคือเรื่องสามัญของยุคนี้ไปแล้ว (ยิ่งเพื่อนมหาลัยนี่ไม่ต้องพูดถึง) ดังนั้นการเข้าไปพูดคุยอัปเดตสถานะปัจุบัน และทำท่าทีสนิทสนมกันแบบที่ใครดันลืมชื่อเพื่อนก็ถือเป็นบาป นั่นคือเรื่องปกติ แต่สำหรับเพื่อนประถมนั้นต่างออกไป

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้คือเพื่อนแต่ละคนก็จำกันไม่ได้ จะจำได้ก็ต่อเมื่อลากเพื่อนที่สนิทๆ กัน หรือยังต่อติดจนปัจจุบันเข้ามาในกรุ๊ป แล้วเริ่มแนะนำตัวกันอีกทีว่าตัวเองเป็นใคร ผูกโยงกับเรื่องราวเมื่อยี่สิบปีก่อนว่ามีบุคลิกยังไงตอนประถม หรือพยายามแสดงท่าทางว่าถ้าเพื่อนๆ จำเด็กคนนั้นไม่ได้ ให้นึกถึงเหตุการณ์นี้สิ

ไม่มีเรื่องอะไรที่ต้องอาย เมื่อบอกกันตรงๆ ว่า “เราจำเธอไม่ได้นะ” และเริ่มแนะนำตัวเองใหม่อีกครั้ง — ด้วยชื่อจริง (สมัยนั้นไม่มีใครเรียกกันด้วยชื่อเล่นหรอก โดยเฉพาะผมที่แม่ตั้งชื่อว่าแอน โคตรน่าอายเลย เลยชื่อปรัชญามาตลอด)

มิตรภาพที่เกิดขึ้นมันคล้ายกับเพื่อนใหม่ที่เพิ่งรู้จักกันหมาดๆ แต่มีสายใยอะไรบางอย่างที่ผูกกันบางๆ บ้างก็ขาดไปแล้วเนิ่นนาน แต่วันนี้มันกลับย้อนคืนมาอีกครั้ง

ไม่ใช่แค่เรื่องของเพื่อน แต่หมายถึงเรื่องของเราเอง

สำหรับผม เด็กชายปรัชญาสมัยประถม ไม่มีเรื่องอะไรให้เพื่อนจำไปมากมายไปกว่าการเป็นเด็กเนิร์ด(มากๆ)คนนึง ที่เรียนเก่งที่สุดในห้องของฝั่งชาย (ของฝั่งหญิงจะเป็น “จูน จินตนา” ที่เราเจอกันโดยบังเอิญเมื่อเดือนก่อน ตอนนี้เธอมีครอบครัวแล้วและเปิดร้านขายยาอยู่สมุย) นอกนั้นก็เป็นเด็กที่ชอบนั่งเงียบๆ วาดรูป (หลอดสัส) .. และความทรงจำอื่นๆ ที่พอจะแกะออกมาได้คือเราบ้าหมากรุกมาก เอาหมากรุกไปเผยแพร่ในโรงเรียนจนดังระเบิดตอน ป.6 แล้วมั่นใจมากว่ากูนี่เก่งนักหนา ล้มเพื่อนทุกคนในโรงเรียนได้ จนไปแพ้ อ.สอนคณิตศาสตร์เสียหลุดลุ่ยไม่มีชิ้นดี ฯลฯ

ฯลฯ

ฯลฯ

เมื่อคืนนี้นอนยิ้มและหลับด้วยอารมณ์ดีมากๆ เหมือนตัวเองได้กระโดดกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ทั้งที่รู้ว่าความทรงจำต่างๆ มันเป็นเพียงสิ่งเสพติดให้เราหลงเคลิ้มไปชั่วคราว แต่พอตื่นมาก็เจอโลกปัจจุบัน ที่มีเมียนั่งสกรีนเสื้อขายอยู่ เคล้ากับเสียงเด็กทารกที่รักการแหกปากร้องและขี้แตกทั้งวัน

แต่ก็เชื่อว่าสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ไปไม่ใช่แค่การหลงอดีต แต่คือการขุดมิตรภาพในอดีตที่ตัวเองไม่เคยนึกถึงว่าจะได้เจอ ให้กลับมาอีกครั้ง ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน และความสัมพันธ์แบบปัจจุบัน

ผมเขียนบล็อกตอนนี้ขึ้นมาด้วยความตื่นเต้นกับสิ่งที่กำลังเกิด เข้าใจว่าผู้อ่านบางคนคงเคยพบช่วงเวลาแบบนี้มาแล้ว ก็ขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดของพวกโหยหาอดีตที่กำลังจะเป็นปัจจุบันด้วยคนละกันนะครับ

ขอบคุณมาร์ก ซักเกอร์เบิร์กจริงๆ ครับ (อีมาร์กคงงงว่าเกี่ยวอะไรกะกู)

ป.ล.
จูน จินตนาที่พูดถึงนี่เป็นคนแรกในชีวิตผมที่พูดคำว่า “คอมพิวเตอร์” ให้ได้ยินนะครับ ตอน ป.6 เธอบอกว่ากำลังเรียน “โลตัส” อยู่ ผมไม่เคยได้ยินคำว่าโลตัสมาก่อน (ตอนนั้นห้างโลตัสบิ๊กซีเซเว่นยังไม่มีเลยด้วยซ้ำ) เอาจริงๆ คำว่าคอมพิวเตอร์ก็ไม่เคยได้ยิน แต่รู้สึกว่าแม่งเท่ฉิบหาย .. ปีต่อมาพ่อผมก็เก็บเงินซื้อคอมมาให้ลูกได้เรียนได้หัดบ้าง ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่สุดยอดจริงๆ

ป.อ.
ที่จริงผมแอบขุดบล็อกเก่าไว้ที่ Exteen และจะทยอยโพสต์ของรักของหวงสมัยเด็กๆ ไปแปะไว้ที่นั่น ก็ไม่คิดว่าจะได้เจอกรุ๊ปนี้พอดี เออ บ้าอดีตกันเข้าไป (ก็สนุกดีนะ แล้วจะทำไม)

ป.ฮ.
ขออภัยที่ไม่ได้เรียบเรียง พอดีเมียเร่งให้เขียนเร็วๆ จะไปกินข้าว

คอมเมนต์

เติมพลังเต็มถังเลยน้อง

ดึกแล้ว
แต่รู้สึกว่าต้องระบายอะไรออกมาหน่อย

เคยรู้สึกทำนองนี้กันไหมครับ ตอนนี้ผมกำลังเป็นอยู่เลย คืออยู่ดีๆ พลังงานชีวิตมันก็มา มาแล้วก็อยากริเริ่มอะไรจริงจังให้สมกับที่ “ว่าจะ” ทำนั่นนี่ตลอดมา แต่ก็ติดข้ออ้างเรื่องเวลามาตลอดเช่นกัน

ตอนนี้เรื่องลดน้ำหนักเราทำได้เป็นที่น่าพอใจ
ก็เป็นประกายไฟแวบแรกให้รู้สึกว่าไอ้ที่เราอ้างอยู่เสมอว่าช่างไม่มีเวลาว่างแบบคุณภาพๆ เอาซะเลยนั้นมันปัญญาอ่อนมาก

โปรเจกต์ล้านแปดในสมอง ถ้าไม่ได้เริ่มลงมือทำ มึงก็แค่ไอ้ขี้โม้

โอเค พรุ่งนี้จะเริ่มละ!!
บริหารเวลาด้วยการใส่อุปสรรคลงไปในเวลาที่ไม่ค่อยจะมีนั่นแหละ ดูซิว่าพอมีเป้าหมายแล้วมันจะช่วยทำให้เวลาฟุ้งๆ ที่ว่า มันตกตะกอนลงได้ไหม

ถึงพวกเขาจะไม่รู้ตัว แต่ก็ขอขอบคุณจักรี ขอบคุณพี่หนุ่ม ขอบคุณแชมป์ เอม หนุงหนิง และอี บ.ก.แบงค์มากๆ เลยครับ

ป.ล. เขียนบล็อกตอนนี้ในมือถือ แอปเวิร์ดเพรสก็เข้าท่านะ

คอมเมนต์

ครัวบ้านน้าเมฆ

วันนี้เราจะพาคุณไปเยี่ยมบ้านเล็กๆ แต่อบอุ่นของครอบครัว “คุณเหนือเมฆ น้ำเงินใจงาม” (หรือน้าเมฆ น้าชายของภรรยาของผู้เขียนเอง) ผู้เป็นเจ้าของบ้านยกพื้นหลังเล็กๆ ติดสวนร่มรื่น ที่ อ.เมือง จ.ปทุมธานีกันครับ

ครัวบ้านน้าเมฆ

ความอบอุ่นของครอบครัวขยาย ที่ประกอบไปด้วยสมาชิกครอบครัวสืบทอดกันมาถึงสามรุ่น ถูกถ่ายทอดอย่างละเมียดละไม ผ่านการจัดวางของห้องครัวที่เป็นสเปซเชื่อมต่อกับห้องนั่งเล่นและห้องนอนได้อย่างเหมาะเจาะ
ด้วยช่องแสงจากหลังคาที่สาดส่องลงมา ทาบทับกับภาชนะเก๋ๆ ชิกๆ จากตลาดปทุมธานี ที่แขวนเป็นระนาบเพื่อประโยชน์ในเชิงฟังก์ชันการใช้สอย ที่สะดวกรวดเร็ว แถมยังเป็นการโชว์มิติและพื้นผิวของวัสดุ จนเกิดเส้นสายของแสงและเงารูปร่างแปลกตา แต่มีจังหวะจะโคนดูเพลิดเพลินและน่าสนใจไม่เบื่อ ขับให้เกิดบรรยากาศแห่งความสุขยามรับประทานอาหารเย็นร่วมกันของสมาชิกทุกคนเป็นอย่างดี

นอกหน้าต่าง

เมื่อมองจากโต๊ะรับประทานอาหาร จะเห็นบรรยากาศของสวนหลังบ้าน ถึงแม้จะเป็นที่ดินและทางเดินเข้าบ้านของคนอื่น ได้อาศัยความได้เปรียบด้านความสูงของตัวบ้านที่สามารถมองเห็นวิวจากมุมสูงลงไปพบความเขียวชอุ่มเบื้องล่าง โดยเฉพาะหน้าฝนอย่างตอนนี้ เราจะได้เห็นหยดน้ำฝนที่เกาะพร่างพราวตรงขอบหน้าต่างบานผลัก ทำให้ฤดูฝนที่เป็นสิ่งน่าเบื่อของคนเมือง กลับกลายเป็นความรื่นรมย์ของครอบครัวค้าขายอย่างบ้านคุณเหนือเมฆได้เป็นอย่างดี

งานนี้ต้องขอยกเครดิตให้สถาปนิกผู้ออกแบบ อันได้แก่ เตี่ย คุณเหนือเมฆ (น้าเมฆ) และเจ็กชุน ที่ช่วยกันออกแบบ หาวัสดุ แผ่นไม้ แผ่นประตูจากเพื่อนบ้านและญาติมิตร และลงมือลงแรงต่อเติมบ้านด้วยตนเองเป็นแบบ DIY แท้ๆ

หมายเหตุ:
ปลายปี 2554 น้ำท่วมปทุมธานีฝั่งตะวันตก บ้านน้าเมฆพังไปครึ่งหลัง จากการอยู่ใต้น้ำสูงถึงสองเมตร และถูกต้นก้ามปูใหญ่หลังบ้านที่ล้มลงมาทับเนื่องจากดินชุ่มน้ำไม่สามารถรับน้ำหนักรากของต้นไม้ใหญ่ไว้ได้ หลังจากฟื้นฟูสภาพบ้านแล้ว ครอบครัวน้ำเงินใจงามจึงได้รีโนเวตบ้านใหม่ให้ด้านหลังมีพื้นที่เลี้ยงนกกรงหัวจุกและชมวิวสีเขียวร่มรื่นด้านหลังบ้าน พร้อมกับการจิบกาแฟและอ่านนิตยสารทีวีพูลได้อย่างสบายอารมณ์

ปรัชญา สิงห์โต : ถ่ายภาพ (Galaxy Note / Camera360 / Fห่าอะไรไม่รู้ / ISO 9002)

เพิ่มเติม: ผู้เขียนเพิ่งไปเปิดเจอสภาพบ้านน้าเมฆตอนน้ำท่วมครับ แนะนำให้คลิกดูแล้วจะร้องเหยดเป้ด :05:

คอมเมนต์

Pixa: (ว่าที่)โปรแกรมดู-จัดการภาพสุดเมพของแมค

ก่อนอื่นต้องยอมรับกันก่อนนะครับ ว่าในแมคที่หลายคนต่างบูชาเนี่ย ไม่มีโปรแกรมดูและจัดการภาพที่เข้าท่าเลย ถ้าเป็นในวินโดวส์ยังยกให้ FastStone Image Viewer และ Picasa (ซึ่งตัวหลังนี่หน้าตาเป็นมิตรต่อผู้ใช้กว่า และมีในแมคเหมือนกันแต่แม่งหน่วงๆ)

จนไปเจอตัวนี้ครับ “Pixa” ซึ่งตอนนี้ยังเป็นรุ่นเบต้าอยู่ เลยโหลดฟรี แต่แลกมาด้วยความสามารถช่วงแรก ที่ยังไม่ค่อยเยอะ (ดูในเว็บแล้วคิดว่าต่อไปคงเยอะแหละ) ซึ่งที่ต่างจากโปรแกรมอื่นๆ ในท้องตลาด รวมถึง iPhoto เองที่คนใช้แมคเขาต้องใช้กัน (เหรอวะ) คือมันคิดเครื่องมือกรุบกริบมาให้คนทำงานออกแบบเอย กราฟิกเอยโดยเฉพาะ

เอาที่เห็นเป็นประจักษ์ตาก่อนนะ


หน้าตาโปรแกรมดูแล้วเข้าใจเลย ข้างบนเป็นแท็บ ยังไม่ยืดหยุ่นเท่าไหร่ เช่นใช้เมาส์ปุ่มกลาง-ที่แอปเปิลไม่มีนี่หว่า-ทำนู่นนี่ไม่ได้ หรือต้องคลิกขวาโอเพ่นนิวแท็บอย่างเดียวไรงี้ ถ้าหล่อและเก่งเท่าโครมได้นี่จะกรี๊ดมาก ส่วนข้างซ้ายก็เป็น Sidebar แบ่งเป็นไลบราลี่ และโปรเจ็กต์ ซึ่งเราจะเพิ่มโฟลเดอร์แบบ Live ได้ (มันก็คือโฟลเดอร์ธรรมดาแต่เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงเวลามีไฟล์ใหม่เข้ามาน่ะ) แล้วก็พวกใส่แท็กป้ายสีแบ่งประเภทให้ภาพคล้ายโปรแกรมอื่นๆ

03-loupe
มีเครื่องมือดูดสี (Loupe Tool) ออกไปเป็นโค้ด RGB / Hex Code / CSS3 / ฯลฯ

02-blank tamplate
อันนี้ของดี ที่บอกว่าเหมาะกะคนทำงานออกแบบ คือมี New Image From Template แล้วก็ให้เลือกเลยว่าจะเอาเทมเพลตอะไรล่ะ

05-PSD Layer
มันก็จะบ้วนถุยออกมาเป็นไฟล์ PSD ที่แบ่งเลเยอร์ไว้แล้วเรียบร้อย อย่างไอแพดนี่มีหมดต้งแต่ 1-2-3 เลย

04-export
และสุดท้าย Export ภาพออกไปเป็นตระกูลต่างๆ ซึ่งก็ตั้ง Preset ไว้ได้ครับ

นอกนั้นก็ จับหน้าจอได้แบบฉลาดๆ (เลือกจับเฉพาะหน้าต่างแอปได้ เช่นภาพข้างบนนี่ไง), อัปโหลดภาพขึ้น Dropbox และ Cloud App ได้ ฯลฯ (ลองเล่นแค่นี้แหละ) และย้ำว่าเขากำลังพัฒนาอยู่ นี่แค่รุ่นเบต้า พวกครอปภาพไรงี้ยังไม่มีเลย เอ๊ะ หรือมีแล้วแต่ยังหาไม่เจอวะ..

ถ้าดูแล้วหลงกลก็เข้าไปโหลดเหอะครับ: Pixa – organizing your images, the easy way

ป.ล.
เขียนห้วนหน่อยนะครับ พอดีอู้งานได้แว้บเดียว

คอมเมนต์

ต่อไปนี่คงเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เงินเดือนในกรุงเทพฯ

เหรอวะ.. :08:

เมื่อตอนบ่ายโมง ชาวสามย่านส่วนหนึ่งกะว่าจะรีบลงไปกินข้าว แล้วก็จะรีบขึ้นมาทำงานต่อ เลยลงจากตึก ฝ่าแดดข้ามถนนไปถึง KFC เพื่อจะกินด่วนๆ แล้วอยู่ดีๆ ฝนก็เทลงมาแบบไม่ลืมหูลืมตา

เราเลยได้สิงอยู่ร้านอาหารแดกด่วนกันอย่างเนิบช้าเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงกว่าๆ ฝนถึงเริ่มซา แล้วก็กะว่าค่อยๆ ลุยกันเข้ามาทำงานต่อ และก็เจอแม่น้ำขวางไว้ทุกทางที่จะกลับเข้าสู่ออฟฟิศได้ มองซ้ายมองขวา พนักงานทุกๆ ออฟฟิศไม่ว่าจะนุ่งอะไร ใส่รองเท้าอะไร ถุงน่องลายตาข่ายหรือสีดำสุดเอ็กซ์ ต่างก็เดินลุยน้ำเน่ากันทั้งนั้น เพื่อกลับเข้าสู่ฟันเฟืองอุตสาหกรรม

เราก็เลยลุยบ้าง

C360_2012-09-25-14-42-07

C360_2012-09-25-14-45-42

01
ภาพสุดท้ายนี่อาจดูไม่สุภาพและทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อองค์กร (นึกภาพว่าวันนึงไปเข้าตลาดหุ้นแล้วผู้ถือหุ้นมารู้ว่าเราล้างตีนในอ่างล้างมือจะทำยังไง) แต่ทำไงได้ ห้องน้ำออฟฟิศไม่มีที่ฉีดตูด เดินมาขอขันตักน้ำจากป้าแม่บ้านเพื่อจะต่อก๊อกตักราดขาไรงี้ ..ซึ่งคุณป้าก็ยิ้มและบอกว่าเอาแบบนี้เลยละกันลูก เดี๋ยวป้าล้างให้เอง ..ป้าแมนมากครับ ขอกราบ

[แก้ไข] โดนเบื้องบนเซ็นเซอร์ครับ.. ตั้งแต่เขียนบล็อกมาสิบกว่าปี เพิ่งเคยโดนนี่แหละ

ป.ล.
ดีที่ผมใส่รองเท้าหมีมา เลยรอด (คู่เดียวกะที่ลุยน้ำท่วมขี่จักรยานรายงานข่าวเมื่อปีก่อน) เลยสบายตีนกว่าใคร

คอมเมนต์