เที่ยวงานสถาปนิก’61

รู้สึกตัวอีกทีก็พบว่าผมไปงานสถาปนิกติดต่อกันมาหลายปีมากแล้ว ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้เป็นสถาปนิก แต่พอนึกดู ตัวเองก็ดันทำงานที่เกี่ยวข้องกับวงการนี้โดยบังเอิญ (บังเอิญอะไรล่ะ แกเรียนมา) ที่สำคัญคือหลายปีมานี้ต้องใช้ประโยชน์จากการเดินชมงานเพื่อหาความรู้เสริมโปรเจกต์ที่ทำอยู่เยอะเลย

น่าเสียดายที่พอจะมาค้นดูว่าช่วงที่ทำโปรเจกต์สร้างบ้านสร้างอาคารก่อนหน้านี้ ดันหาข้อมูลของงานปีก่อนๆ ที่จดไว้อย่างละเอียด (ในกระดาษ) ไม่เจอแล้ว

ต่อไปนี้ก็จะขอจดใส่บล็อกไว้เลย ไม่หาย แถมย้อนดูได้ เหมาะกับวิถีชีวิตมนุษย์ไดโนเสาร์ในยุคโซเชียลเรียลไทม์แบบนี้จริงๆ

งานสถาปนิก’61 ปีนี้จัดที่เดิม คืออิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ (ในอีเมลประชาสัมพันธ์ดันบอกว่าเป็นอารีน่า) ใช้สโลแกนว่า “ไม่ธรรมดา” หมายถึงการเอานั่นนี่ที่ธรรมดา มาใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไป ก็กลายเป็นสิ่งใหม่ที่ว้าวได้

งานมีวันที่ 1-6 พ.ค.61 ลงทะเบียนออนไลน์ได้ตั้งแต่เริ่มเห็นเขาโปรโมต ของผมคือได้รับอีเมลเพราะไปอยู่ในถังของปีที่แล้ว ส่วนตัวแล้วแนะนำอย่างยิ่งให้ลงทะเบียนออนไลน์ก่อนวันงาน (ปิดรับก่อนงาน 7 วัน) เพราะแถวลงทะเบียนหน้างานยาวมากกกกกกกกกกกกกก ในขณะที่แถวพรินต์บัตรห้อยคอสำหรับมนุษย์ออนไลน์นั้นใช้เวลารอ 0 วินาที

การจอดรถก็เฮงซวยเหมือนเดิม เพราะงานจัดชนกับมหกรรมสินค้าลดราคาที่อิมแพคอารีน่าข้างๆ ถ้าเป็นได้ให้แว้นมา (สิทธิพิเศษของชาวปทุม)

งานปีก่อนๆ ผมใช้เวลาเดินนานมาก (8 ชั่วโมงเดินได้แค่ครึ่งงาน อีกปีก็ 10 ชั่วโมงเต็มๆ คืองานแม่งใหญ่มาก) แต่ปีนี้ดันติดปัญหาที่จอดรถ เลยมีเวลาแค่ 4 ชั่วโมง โอเค ก็จะข้ามอันที่ไม่ดึงดูดไปเลยละกัน พุ่งสู่สิ่งที่สนใจในโปรเจกต์ก่อสร้างของปีนี้ทันที

สิ่งที่ไม่สนใจคือนมของพริตตี้ในงาน (ซึ่งเยอะมากกกกก) บูทไหนที่เอานมนำ เราถือว่าไม่ได้สื่อสารกับเราที่จะมาหาข้อมูลของวัสดุและสินค้าโดยเฉพาะ ขี้เกียจเสียเวลาจีบปากจีบคอคุยกับคนที่ไม่ได้รู้เรื่องจริงๆ ก็จะขอข้ามเลยละกัน

ซึ่งดันมีบูทนึงที่จัดอีเวนต์เปิดตัวซัมติง ที่เปิดไมค์ส่งเสียงดังคึกคักครึกครื้น นักข่าวสื่อมวลชนและคนเดินเที่ยวงานมุงอออยู่ด้านหน้าเพียบเลย ผมชะโงกดูก็พบว่า โอเคแหละ พริตตี้กำลังเดินนวยนาด พรีเซนต์นมอย่างออกรส

พอกำลังจะเดินผ่าน ก็ดันเห็นว่าแบรนด์นี้พี่ไม่ใช่แค่นมพริตตี้…

ครับ และนั่นคือภาพแรกของงานนี้…

Continue reading เที่ยวงานสถาปนิก’61

ดุ่มเดินเดี่ยวด้อมดูดาวดึงษ์

กำลังหาสถานที่ถ่ายแบบเสื้อผ้าของร้านนลินฟ้า) ที่มันดูวินเทจๆ ออกแนวอังกฤษ อิตาลี ยุโรปใดๆ ก็เลยกูเกิลไปเรื่อยๆ (ส่วนมากสู้ราคาไม่ไหว แหะๆ) อยู่ดีๆ ก็เจอที่นี่ เป็นโรงแรม ชื่อ Praya Palazzo เลยกดดูข้อมูล ก็ว่าเอ๊ะคุ้นๆ แฮะ

เจออีกคลิปนึงเป็นรายการนี้ที่ถ่ายทำในปี 2010 ซึ่งเจ้าของโรงแรมบอกว่าเปิดมาได้ปีเดียวเอง

เอ๊ะ ไหนดูอีกคลิปซิ

โอ้ ชัดเลย เลยมาเปิดคอมดูโฟลเดอร์ภาพถ่ายที่เก็บไว้ ก็เจอโฟลเดอร์ชื่อว่า “20030216 – ดุ่มเดินเดี่ยวด้อมดูดาวดึงษ์” (มึงตั้งชื่อซะแบบ…)

เนี่ย เคยถ่ายไว้ด้วย

01-DSCF2997

ในยุคที่ผมยังเรียนอยู่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งย่านท่าช้าง และเช่าหอพัก (ไว้เก็บของซะเป็นส่วนใหญ่) อยู่แถวตีนสะพานพระปิ่นเกล้า ข้างๆ ชุมชนวัดดาวดึงษ์… ใช่แล้ว เป็นถิ่นกำเนิดของเนวัดดาวนั่นเอง พอนึกบรรยากาศออกเลยใช่มะ (ไม่)

คือ เมื่อก่อนไม่มีตังค์ครับ เป็นนักศึกษาบ้านจนพ่อแม่เป็นข้าราชการลูกสี่ มีหนี้สิ้นท่วมบ้านอะไรแบบนั้นแหละ แต่ด้วยกิเลสส่วนตัว อยากได้กล้องถ่ายรูปดิจิทัล จึงรับจ้างออกแบบนั่นนี่ระหว่างเรียน จนเก็บตังค์พอจะซื้อกล้องดิจิทัลได้ เป็นกล้องฟูจิ (เล่นฟูจิก่อนที่มันจะเริ่มฮิปอีก!) แต่เป็นแค่กล้องปัญญาอ่อนรุ่น FinePix 6800z นะ กดดูดีไซน์ของมันได้ พอร์ชดีไซน์เชียวนะะะะะ สมัยนี้ไม่มีใครทำกล้องประหลาดๆ แบบนี้กันแล้ว แต่ 12 ปีที่แล้วผมทุบกระปุกซื้อเพราะความสวยของมันนี่แหละ 5555555 (ซึ่งนิสัยนั้นก็ยังติดตัวมาจนทุกวันนี้ ที่ซื้อ E-P5 ที่ใช้ทำมาหากินทุกวันนี้ก็ไม่ได้สเป็กดีเด่ไปกว่ากล้องกิ๊กก๊อกใน พ.ศ.นี้ แต่นั่นแหละ มันสวย. ฟุลสต็อป)

สมัยนั้นพอว่างจากโปรเจ็กต์เรียนอันหฤโหด มีเวลาได้ไปนอนแผ่สลบอยู่ที่หอ พอตื่นมาบ่ายๆ ก็ชอบเดินหาร้านก๋วยเตี๋ยวหรืออาหารตามสั่งประหลาดๆ ที่ซ่อนอยู่ในชุมชนวัดดาวดึงษ์กิน อร่อยบ้างอี๋บ้าง แต่ถ้าเขาขายได้ เราก็ต้องกินได้

พออิ่มท้องก็เดินถือกล้องนี่แหละ ไปถ่ายรูปเรื่อยๆ… (อะไรนะ ซิตี้สเคปเหรอ ไม่มั้ง มันดูยิ่งใหญ่ไป ที่ทำนี่ไม่ได้มีความงามอะไรหรอก แค่ชอบถ่ายบันทึกไว้ดูตอนแก่ งั้นเรียกว่าถ่ายเรื่อยๆ ละกัน)

เผอิญวันนั้นเดินไปส่งๆ จนทะลุริมฝั่งเจ้าพระยา เป็นท่าเรือเล็กๆ ของวัดดาวดึงษ์ ก็เลี้ยวซ้ายและเดินเละตลิ่งริมน้ำไปเรื่อยๆ ด้วยหวังจะเจออะไรสนุกๆ แล้วก็เจอเข้าจริงๆ

02-DSCF2998

ตอนนั้นตะลึงมากเลยครับ ต้องลองช่วยกันหลับตานึกภาพว่าไอ้นี่เดินๆ อยู่ในชุมชน มีขี้หมา มีเด็กวิ่งไล่กัน มีแม่ค้า มีรถเข็น มอไซค์ คุณยาย ร้านของชำอยู่ดีๆ แล้วเลี้ยวซ้าย ฟึ่บ ทะลุเจ้าพระยา มองไปด้านซ้าย และคุณจะต้องอึ้งเมื่อได้เห็นอะไรอลังการขนาดนี้มาหมกตัวอยู่ในจุดที่ไม่น่าจะมี …ในภาษาของวงการนึงเขาเรียกว่าเป็นช็อกสเปซ

03-DSCF3012

มันเป็นตึกร้างเก่าแก่สไตล์โคโลเนียล อายุอานามน่าจะสมัย ร.5 (เดาเอาเอง) ที่อยู่ติดกับแม่น้ำพอดี คือถ้ามองในมุมของคนชอบสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลนี่มันเท่มากอะ ส่วนถ้ามองในมุมของพี่ป๋อง …นี่มันน่ามาเดินสายทัวร์ดูผีชะมัด

04-DSCF3013

ทั้งหมดนี้นี่คือปีนกำแพงถ่ายมานะ

05-DSCF3015

06-DSCF3016

เนี่ย แค่เห็นเสาก่ออิฐที่สีมันร่อนออกมาจนเห็นอิฐมอญข้างในก็ว่าโคตรสวยแล้ว ชอบ

07-DSCF3017

สีทาผนังเหลืองๆ ด่างๆ นี่ก็ชอบ บานประตูสีเขียวก็ชอบ (แล้วอะไรคือป้ายที่เขียนว่า “ฝึกฝีมือ”)

08-DSCF3018

เดี๋ยวนะ อันนี้เพิ่งเห็นตอนอัปภาพเขียนบล็อกนี่แหละ ว่ามันมีอะไรสักอย่างอยู่ในห้องมืดด้านซ้ายชั้นบน (น่าจะเป็นกระจกสี) ที่พอมาซูมขยายดูแล้วเหมือนหน้าคน ไม่คนสิ เรียกว่าเจไดใส่หน้ากากจะเท่กว่า (ผีบอกกูเซ็งเลย)

10-DSCF3025

ภาพสุดท้ายนี่คือไปนั่งกับแก๊งเด็กในชุมชน ดูเขาชักว่าวกัน

สรุปว่าบล็อกนี้ไม่มีอไร จะอวดว่าเคยถ่ายตอนมันยังเป็นตึกร้างอยู่เท่านั้นเอง

อ้อ แล้วก็เลยนึกได้ว่าชอบอาคารสไตล์โคโลเนียลแบบนี้มานานแล้ว (ทำไมจบแบบดูจะมีความรู้วะ)

รวมพลังอะเวนเจอร์สแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา

เมื่อคืนจะนอน อยู่ดีๆ ก็เจอฟีดน่าสนใจไหลเข้ามา เลยตาสว่าง ยืดเวลานอนไปอีกหน่อย

หลายๆ โครงการของรัฐบาลนั้น เราๆ ท่านๆ ก็รู้กันว่ามันโคตรจะราชการ (และโคตรจะขับเคลื่อนด้วยอำนาจการเมือง) ไม่ว่าจะเกิดมาในยุคประชาธิปไตยกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม ที่พอโครงการอนุมัติสร้างจริงนั้น แม่งจะดู “รีบ” เสียเหลือเกินไปทุกโครงการ แม้ข้อความสามบรรทัดแรกจะดูสวยหรูแค่ไหนก็ตาม

โครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาของรัฐบาลทหาร ที่ดูเหมือนจะดี คือจะให้คนเดินและจักรยานวิ่งชมวิว (ฟังดูดีนะ) แต่พอเอาเข้าจริงๆ ก็คลอดมาเป็นถนนแข็งๆ แห้งๆ และโคตรจะราชการ ไม่ต่างจากอีก 87,609,335 โครงการที่เคยผ่านมา ว่าขอเบิร์นงบให้หมดทันปีนี้หน่อยเถอะ เห็นแล้วก็…

เอาเป็นว่าเราข้ามเรื่องบ่นซ้ำๆ ซากๆ ไปเลยละกันครับ มาเรื่องใหม่เลยดีกว่า

ขนาดผมไม่ได้อยู่ในวงการสถาปนิกนี่ยังรู้เลยว่า การที่มึง เอ๊ย คุณเอาถนนแข็งๆ มาวาง โป้ง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปิดไม่ให้แสงส่องลงไปในน้ำทั้งสองข้างเท่าๆ กันนั้นมันสร้างความเลวร้ายให้กับทั้งระบบนิเวศแค่ไหน ไม่ต้องกับสิ่งแวดล้อม สัตว์โลกพืชพรรณแพลงตอนที่ฟังดูไกลตัวหรอกครับ เอาแค่ชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่ง วันหนึ่งมีถนนมาคั่น​โป้ง ระหว่างพื้นที่ชีวิตของตัวเองในระดับสเกลมนุษย์ กับแม่น้ำที่เคยตื่นมาแปรงฟันแล้วบ้วนหรือฉี่ลงน้ำ แต่ระยะทางของแผ่นคอนกรีตที่กำลังจะมานั้นแม่งใหญ่เบิ้มเท่าๆ กับเลนถนนยักษ์ๆ ที่ขีดโดยไม่ได้ใช้หัวใจ ไม่ได้สนสี่สนแปดอะไร สนอย่างเดียวคือความอารยะในทรรศนะของท่าน

แน่ใจนะว่านี่ผ่านการประกวดแบบมาแล้ว (เอ๊ะหรือไม่มี…)

แถมแนวถนนของโครงการนี้แม่งนับได้หลายกิโล และทำท่าว่าถ้าไม่มีใครขัด ก็จะขยายยาวออกไปอีก “ตลอดแนวชายฝั่ง”

เรา–ชาวบ้านที่ไม่ได้อะไร ก็ยังรู้สึกว่าแปลกๆ แหม่งๆ แล้วคนที่ซีเรียสเรื่องนี้โดยตรง อย่างวงการสถาปนิกที่เขามีความรู้ และมองเห็นว่าต่อไปนี้มันจะมีบั๊กชิ้นใหญ่มากกับอนาคตของลูกหลานเรา และอีกสารพัดปัญหาที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตอย่างชัดเจน

เขาจึงออกมารณรงค์กันครับ

การต่อสู้ได้เริ่มต้นขึ้นจากหลายทาง มีการรวมตัวกันเป็นภาคีทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในทางการนั้นเขาก็จับมือกันยื่นหนังสือไปยังรัฐบาลเพื่อขอทบทวนโครงการ ชี้ให้เห็นข้อเสียที่จะเกิดขึ้น โอเค อันนั้นปล่อยให้เป็นเรื่องของคนและสมาคมที่ถนัดสายทางการไป

โลโก้เกือบสวยแล้ว (ชอบ พพพ)
โลโก้เกือบสวยแล้ว (ชอบ พพพ)

อ่าน: ผังเมืองจุฬาฯนำ ‘ภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา’ ค้านรูปแบบทางเลียบเจ้าพระยา

กับอีกขานึงที่เวลารณรงค์เขาจะต้องหาแนวร่วมด้วยการใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางรณรงค์ หลักๆ คือบอกชาวบ้านให้รู้ว่าเออ อีโครงการของรัฐบาลนี่มันมีปัญหาแบบนี้ เราเห็นแบบนี้ คุณเห็นด้วยไหม ถ้าไม่แน่ใจ ลองดูสเต็ปถัดไป

เป็นสเต็ปที่ผมสนใจมากจนตาลุกวาว พี่แกมีโครงการ “Sketches for the River Challenge” ด้วยการท้าทายสถาปนิก นักออกแบบแต่ละคน ลองสเก็ตช์แบบมาแจมกัน และท้าต่อไปอีก 3 คน ว่าความรู้และไอเดียของมืออาชีพ (และมือสมัครเล่น) อย่างคุณนั้นจะเอามาช่วยโลกได้แค่ไหน… ความมันส์มันเลยเกิดขึ้นตรงนี้ครับ

คืออย่างผมนี่ตอนเรียนถาปัด (ใช่ เคยเรียนมา แต่ไม่เหลือความรู้แล้ว) ในวิชาดีไซน์ปีแรกๆ สิ่งหนึ่งที่สนุกมากๆ ก็คืองานที่เรียกว่า “Sketch Design” โดยอาจารย์จะโยนโจทย์ลงมา โป้ง ให้เอาไปคิด ออกแบบและนำเสนอไอเดียทั้งหมดลงในกระดาษ A2 โดยไม่จำกัดกระบวนการนำเสนอ (แน่นอนว่ากลวิธีในการนำเสนอแบบเจ๋งๆ ก็ถือเป็นคะแนน) เสร็จแล้วส่งมา ตอนให้คะแนน อาจารย์ก็จะหยิบงานของแต่ละคนมาเปิดดูหน้าชั้น และวิจารณ์กันต่อหน้าเพื่อนร่วมวิชาชีพแบบสดๆ และแสบๆ

ส่วนมากของผมนี่คือโดนสับเละไม่มีชิ้นดี แต่สนุกก็คือสนุก ถึงจะเจ็บปวดแต่ก็สนุก…

แต่พอยุคโซเชียลมาเต็มแบบนี้ Sketch Design ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ในกระดาษอย่างเดียว แถมเฟซบุ๊กแม่งแท็กได้ สนับสนุนนโยบาย crowdsourcing idea เท่านี้ความมันส์ก็เลยเกิดขึ้น

ลองดูตัวอย่างผลงานได้ครับ

มุมมองจากภูมิสถาปนิก คุณอรรถพร คบคงสันติ Pocco Kobkongsanti

Posted by ภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา on Wednesday, May 27, 2015

เนี่ย วิธีนำเสนอเป็นขั้นเป็นตอนและเห็นกระบวนการคิด สนุกกกก

Urban Design Guidelines ช่วยเสริมการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำได้อย่างไร / ขอบเขตงานของสถาปนิกผังเมือง (urban designers) ที่เชื่อมต่อกับงานของภูมิสถาปนิก (landscape architects) โดย SaKrapat Anurakpradorn

Posted by ภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา on Wednesday, May 27, 2015

“ ทางกลุ่ม Friends of the River (FOR) ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม Sketchs for the River Challenge โดยส่งต่อคำท้าไปยังผู้คนร…

Posted by Friends of River on Monday, May 25, 2015

หรือบางทีก็ใช้วิธีนำเสนอแบบอธิบายให้เห็นภาพ พร้อมกรณีศึกษาอย่างเช่นโพสต์นี้

อยากเขียนอธิบายให้คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการออกแบบได้เข้าใจถึงประเด็น ทางเดินริมน้ำเจ้าพระยา 14 กม. ที่มีนักวิชาชีพ/วิชาการม…

Posted by Prapan Napawongdee on Sunday, May 24, 2015

เห็นไหม สนุกออก เนอะะะะะ

พอเท่านี้ก่อนครับ ต้องไปส่งลูกเข้าโรงเรียนแล้ว ถ้าสนใจเชิญอ่านและติดตามได้จากหลายเพจครับ เช่น ภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา, Friends of River, TALA Thai Association of Landscape Architects, ฯลฯ (ผมไม่แน่ใจว่าเพจไหนคือเพจหลัก แต่กระจายๆ แบบนี้ก็ดี)

ที่จริงก็อยากเห็นมันลามทุ่งไปถึงคนนอกวงการด้วยครับ ถึงจะมีพื้นความรู้ต่างจากสถาปนิกและภูมิสถาปนิกมืออาชีพก็ตาม แต่งานระดมไอเดียแบบนี้มันต้องการความเห็นและทัศนคติที่หลากหลาย ไม่ได้จำกัดว่าจะถูกผิดหรือรู้มากรู้น้อยกว่ากัน แต่มันคือการแชร์!

#แชร์ไปให้ถึงบิ๊กตู่

ครัวบ้านน้าเมฆ

วันนี้เราจะพาคุณไปเยี่ยมบ้านเล็กๆ แต่อบอุ่นของครอบครัว “คุณเหนือเมฆ น้ำเงินใจงาม” (หรือน้าเมฆ น้าชายของภรรยาของผู้เขียนเอง) ผู้เป็นเจ้าของบ้านยกพื้นหลังเล็กๆ ติดสวนร่มรื่น ที่ อ.เมือง จ.ปทุมธานีกันครับ

ครัวบ้านน้าเมฆ

ความอบอุ่นของครอบครัวขยาย ที่ประกอบไปด้วยสมาชิกครอบครัวสืบทอดกันมาถึงสามรุ่น ถูกถ่ายทอดอย่างละเมียดละไม ผ่านการจัดวางของห้องครัวที่เป็นสเปซเชื่อมต่อกับห้องนั่งเล่นและห้องนอนได้อย่างเหมาะเจาะ
ด้วยช่องแสงจากหลังคาที่สาดส่องลงมา ทาบทับกับภาชนะเก๋ๆ ชิกๆ จากตลาดปทุมธานี ที่แขวนเป็นระนาบเพื่อประโยชน์ในเชิงฟังก์ชันการใช้สอย ที่สะดวกรวดเร็ว แถมยังเป็นการโชว์มิติและพื้นผิวของวัสดุ จนเกิดเส้นสายของแสงและเงารูปร่างแปลกตา แต่มีจังหวะจะโคนดูเพลิดเพลินและน่าสนใจไม่เบื่อ ขับให้เกิดบรรยากาศแห่งความสุขยามรับประทานอาหารเย็นร่วมกันของสมาชิกทุกคนเป็นอย่างดี

นอกหน้าต่าง

เมื่อมองจากโต๊ะรับประทานอาหาร จะเห็นบรรยากาศของสวนหลังบ้าน ถึงแม้จะเป็นที่ดินและทางเดินเข้าบ้านของคนอื่น ได้อาศัยความได้เปรียบด้านความสูงของตัวบ้านที่สามารถมองเห็นวิวจากมุมสูงลงไปพบความเขียวชอุ่มเบื้องล่าง โดยเฉพาะหน้าฝนอย่างตอนนี้ เราจะได้เห็นหยดน้ำฝนที่เกาะพร่างพราวตรงขอบหน้าต่างบานผลัก ทำให้ฤดูฝนที่เป็นสิ่งน่าเบื่อของคนเมือง กลับกลายเป็นความรื่นรมย์ของครอบครัวค้าขายอย่างบ้านคุณเหนือเมฆได้เป็นอย่างดี

งานนี้ต้องขอยกเครดิตให้สถาปนิกผู้ออกแบบ อันได้แก่ เตี่ย คุณเหนือเมฆ (น้าเมฆ) และเจ็กชุน ที่ช่วยกันออกแบบ หาวัสดุ แผ่นไม้ แผ่นประตูจากเพื่อนบ้านและญาติมิตร และลงมือลงแรงต่อเติมบ้านด้วยตนเองเป็นแบบ DIY แท้ๆ

หมายเหตุ:
ปลายปี 2554 น้ำท่วมปทุมธานีฝั่งตะวันตก บ้านน้าเมฆพังไปครึ่งหลัง จากการอยู่ใต้น้ำสูงถึงสองเมตร และถูกต้นก้ามปูใหญ่หลังบ้านที่ล้มลงมาทับเนื่องจากดินชุ่มน้ำไม่สามารถรับน้ำหนักรากของต้นไม้ใหญ่ไว้ได้ หลังจากฟื้นฟูสภาพบ้านแล้ว ครอบครัวน้ำเงินใจงามจึงได้รีโนเวตบ้านใหม่ให้ด้านหลังมีพื้นที่เลี้ยงนกกรงหัวจุกและชมวิวสีเขียวร่มรื่นด้านหลังบ้าน พร้อมกับการจิบกาแฟและอ่านนิตยสารทีวีพูลได้อย่างสบายอารมณ์

ปรัชญา สิงห์โต : ถ่ายภาพ (Galaxy Note / Camera360 / Fห่าอะไรไม่รู้ / ISO 9002)

เพิ่มเติม: ผู้เขียนเพิ่งไปเปิดเจอสภาพบ้านน้าเมฆตอนน้ำท่วมครับ แนะนำให้คลิกดูแล้วจะร้องเหยดเป้ด :05:

049 | อวสานลายกนก (จบ)

wc_kanok2

พอดีมีเวลาช่วงบ่าย เลยขอกลับคำ ..เขียนต่อจากตอนที่แล้ว ซะเลย

ขณะนี้ผมสงสัยอยู่อย่างเกี่ยวกับคำว่า “วัฒนธรรมไทย”
(นั่นหมายความว่า พอวัยวุฒิสูงขึ้น ผมอาจจะได้รับคำตอบเข้าสักวัน)
ทำไมเห็นรายการเด็กที่เขาสร้างมาให้เด็กดูเพื่อต้องการปลูกฝังค่านิยมไทย
จะต้องเต็มพรืดไปด้วยเด็กไว้จุกไว้แกละ ต้องมีช้าง ต้องวนเวียนอยู่อ่างในวรรณคดี?
ถ้าคำตอบมันหมายถึงว่า “ก็นั่นมันวัฒนธรรมไทยนี่หว่า (ไอ้เหี้ย)” ละก็
ผมคงเซ็งน่าดูเลย

แปลกใจนะที่เวลาเราไปจัดงานอะไที่ต้องการเชิดชู “ความเป็นไทย” ให้ฝรั่งดู
มันจะต้องมีช้าง มีบ้านไทย ลายไทย ต้มยำกุ้ง วรรณคดี โขน ศิลปะฟ้อนรำ
ทั้งๆ ที่ไอ้สิ่งที่ว่ามานั่นมันไม่สามารถพบเห็นได้แล้วตามท้องถนนในปัจจุบัน
ทำไมนะทำไม ถึงไม่เอาไอ้สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ ณ วันนี้ วินาทีนี้มาแสดงล่ะ
หรือว่ามันไม่ใช่ความเป็นไทย?
(วัฒนธรรมไทยจะต้องเป็นยุคก่อนพุทธศักราช 2xxx เท่านั้นโว้ย!!)
Continue reading 049 | อวสานลายกนก (จบ)