ไอเดียแก้ปัญหาการทำผิดกฎจราจรและการทุจริตของเจ้าหน้าที่

death-app

วันนี้คิดเรื่องนี้ไว้ แล้วมันวนเวียนในหัวรุนแรงมากขึ้นทุกที รู้สึกเลยว่าถ้าไม่ระบายออกมาในบล็อกคงอกแตกตาย พอกลับมาถึงบ้านเลยเปิดคอมเขียนเลย ไม่สนใจลูกเต้าที่กำลังแหกปากร้องละครับ

คือผมเพิ่งได้มีโอกาสอ่านหนังสือ “พลังกลุ่มไร้สังกัด” (แปลจาก Here Comes Everybody) ฝีมือแปลและเสริมวงเล็บของพี่ยุ้ย @Fringer ที่เคารพ ถึงมันจะเป็นหนังสือที่ขายมาสองปีแล้ว แต่เนื้อหาข้างในที่พูดเรื่องระบบความสัมพันธ์แบบใหม่ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์โดยการมาถึงของเครือข่ายสังคม และพฤติกรรมการรวมกลุ่มทำอะไรสักอย่างของคน โดยไม่ต้องไปเจอระบบระเบียบความยุ่งเหยิงขององค์กร แต่กลับง่ายแบบที่คนที่เกิดไม่ทันยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กไม่มีทางเก็ต อย่างเช่น

  • การที่อยู่ดีๆ ก็มีคนไปสร้างอีเวนต์อะไรในเฟซบุ๊ก แป๊บเดียวก็รวมตัวกันได้มหาศาลแล้วโดยไม่ต้องพึ่งบริษัทออแกไนเซอร์เลย แค่คอมหรือมือถือต่อเน็ตได้ก็จบแล้ว
  • การประกาศล่าตัวคนร้าย ที่หนังสือเล่มดังกล่าวหยิบยกกรณีศึกษาของฝรั่งในปี 2006 ขึ้นมา ดังนี้: เจ๊คนนึงมือถือหาย / ซื้อเครื่องใหม่มาล็อกอิน ก็เจอในระบบ ว่านางโจรกำลังเล่นมือถือตัวเอง / แต่ติดต่อโจรไปทางอีเมลแล้วแม่งไม่คืน แถมท้าทายด้วย / โมโห เลยทำเว็บประกาศหา / แชร์ต่อเพื่อนๆ / แชร์ต่อกันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มีคนเป็นล้านๆ ติดตามจนเป็นปรากฏการณ์ / มีออกสื่อสารพัด ใครถนัดด้านไหนก็ช่วยกัน ทนายมาเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย นักสืบไล่ตามหาบ้านให้ มีคนไปขุด MySpace ของอีนังนั่นจนเจอแล้วเอามาแชร์ ฯลฯ / ถ้าเป็นแบบไทยๆ ก็อาจจะเรียกว่าล่าแม่มดก็ว่าได้ / ตำรวจเลยต้องลงมาเล่นคดีนี้ / จับได้ ประจานแม่มดกันสมใจ / ปิดคดี
  • รวมถึงเรื่องราวอื่นๆ ในหนังสือ ทั้งแบบเล่นๆ ง่ายๆ เช่นการแท็กภาพใน FLickr (แต่เบื้องหลังของมันไม่ใช่เล่นๆ เลยนะครับ) ที่ทำให้ยุคนี้การหาภาพจากงานอะไรสักอย่างแม่งโคตรง่ายเลย เช่นโอลิมปิกก็ได้เอ้า มีตากล้องทั้งมือสมัครเล่นยันมืออาชีพไม่รู้เท่าไหร่ที่แชร์มาให้ดูโดยที่เมื่อก่อนกว่าจะได้ภาพเจ๋งๆ มาสักทีนี่หากันแทบตาย
  • หรือจริงจังอย่างที่พวกนักบริหารสนใจ เช่นกล่าวถึงปัญหาของระบบที่เกิดจากการบริหารองค์กรหรือโปรเจกต์ใดๆ “จากบนลงล่าง” นั้น ดันแก้ปัญหาหลายๆ อย่างไม่ได้ (เป็นปัญหาอมตะในรอบร้อยปีที่ผ่านมา) สำเร็จลุล่วงด้วยพลังมวลชน และเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกต่อมวลชนนั้น โดยที่ค้าใช้จ่ายลดลงอย่างน่าตกใจ จนแทบจะเรียกว่าฟรี!

จนพอขี่แว้นกลับบ้าน ก็เลยนึกว่าเออ ถ้าจะเอาไอ้พวกนี้มาประยุกต์ใช้กับการจราจรบ้านเราได้ก็คงดี..

อ้อ ออกตัวไว้ก่อนเพราะเดี๋ยวคนต่างจังหวัดจะน้อยใจเอา ว่าผมขอจำกัดคำว่า “บ้านเรา” ลงไปแคบๆ เหลือแค่พื้นที่กรุงเทพฯ ก่อนนะครับ เพราะชั่วแวบนี้มันคิดได้เท่านี้ ต่อไปมันอาจจะงอกเงยเป็นอย่างอื่นก็ได้

ปัญหา

  • มี 2 เรื่องใหญ่ๆ คือเรื่อง “การกระทำผิด” และ “การทุจริต”
  • ประสบด้วยตัวเองหลายครั้งจนมั่นใจที่จะปรักปรำได้ว่า “ด่านตำรวจในกรุงเทพฯ นั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้รถติด” คือเจอหลายครั้งเลย รถติดไม่รู้สาเหตุ พอกระดึ๊บๆ ไปปั๊บก็เจอ อ้าว ด่านสิ้นเดือนนี่เอง ..พอพ้นด่านไปปั๊บแม่งโล่ง (เห็นตอนนี้มีข่าวว่าเขาสั่งยกเลิกด่านในกรุงเทพฯ แล้ว ดีใจ)
  • หลายครั้งพบว่าผู้รักษากฎหมายนั้นลงโทษคนทำ “พลาด” ไม่ใช่คนทำ “ผิด” ดังจะเห็นได้จากหลายๆ กรณี
  • เช่นเด็กแว้น พวกขับเหี้ย พวกฝ่าไฟแดง พวกแต่งรถไฟแยงตา แม่งไม่ผิด แต่ขาจรเลี้ยวผิดเลนเพราะไม่รู้อะไรแบบนี้ล่ะ หวานจ่าเลย
  • นิสัยมักง่ายแบบ “ไทยๆ” เช่น นึกจะจอดก็จอดข้างทาง (เย็นนี้เพิ่งเห็นอีกคัน รถแม่งติดยาวทั้งลาดปลาเค้าเลย พี่แกจอดกระพริบไฟซื้อก๋วยเตี๋ยว) หรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่เกิดจากความมักง่ายนั้น
  • จากกรณีข้างบนทำให้มีความมักง่ายเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่นจอดกินก๋วยเตี๋ยวริมเกษตรนวมินทร์เนี่ย เลนหายไปเลนนึงเลย แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรเพราะมันเยอะเกินรึเปล่า? แล้วกรณีใกล้เคียงแบบนี้ก็อีกเพียบ
  • ในแง่การทุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ: ตำรวจจราจรเลวๆ บางนาย รู้สูตรการตั้งด่านที่จะไถเงิน แบบ รอตรงนี้ แยกนี้ยาก เลี้ยวผิดกันบ่อย เดี๋ยวเหยื่อมาแน่ อะไรแบบนี้
  • ผู้ขับขี่ที่มักง่าย ก็ยัดเงินตำรวจซะเลย วินวินกันทั้งคู่
  • การไปจ่ายค่าปรับที่โรงพักแม่งยุ่งยากมาก เลยส่งเสริมให้ระบบนี้มันอยู่ยงคงกระพันเข้าไปอีก
  • การใช้จ่าเฉย มันพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล หรือการใช้ระบบกล้องจับภาพรถฝ่าไฟแดง ก็อาจจะได้ผล นะ ตำรวจสบายขึ้น แต่ก็ลงทุนค่าเทคโนโลยีไปไม่น้อย
  • ฯลฯ (ตอนนี้นึกออกเท่านี้)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาที่ว่ามาด้านบนเนี่ยแม่งยืดเยื้อรุนแรงและไม่รู้จะแก้ยังไง ประเด็นหนึ่งก็คือการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งมีไม่เยอะ แถมที่มีก็มีทั้งดีและเลว ถ้าดีก็ดีไป แต่ถ้าเลวก็เข้าใจว่าระบบเศรษฐศาสตร์มันเอื้อต่อพฤติกรรมทุจริต วิธีแก้ไขคือต้องหาวิธีลดเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการกระทำผิด หรือทุจริตนั้น (ไอ้การทุ่มงบเพื่อรณรงค์ต่างๆ หรือขอความร่วมมือที่ทำกันมาตลอดหลายสิบปี มันก็เห็นๆ กันอยู่ว่าไม่ได้ส่งผลอะไรมาก ในเมื่อวินัยจราจรของพวกเรามันเฮงซวยขนาดนี้) ซึ่งพอเห็นการกระทำผิดทีนึง อีคนอยากด่าก็มีไม่น้อย แต่ด่าแล้วไม่รู้จะทำไงต่อดี… Continue reading ไอเดียแก้ปัญหาการทำผิดกฎจราจรและการทุจริตของเจ้าหน้าที่

คอมเมนต์

บางลำพูในวันที่ยังมีต้นลำพู

ใครยังไม่รู้ข่าวต้นลำพูต้นสุดท้ายของบางลำพูที่โดนตัด ก็ไปอ่านจากเว็บ ผจก ก่อนได้นะครับ

สำหรับผมแล้ว ถึงตอนอยู่มหาลัยจะเรียนไม่ไกลจากท่าพระอาทิตย์ สวนสันติชัยปราการ ป้อมพระสุเมรุ และบางลำพูสักเท่าไหร่ แต่ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ที่รักเลยแหละตอนนั้น เพราะมันเป็นที่ที่สามารถลงไปกลิ้งชิวได้กลางสนามหญ้า และดูการเคลื่อนไหวของวัฒนธรรมนานาชาติที่ไม่มีใครต้องมาร้องขอให้แสดง เพราะไม่ว่าจะไทยญี่ปุ่นฝรั่งดินแดง ต่างก็มาโชว์ออฟ โชว์ความเท่กันเยอะแยะไปหมด

เมื่อไหร่ที่เบื่อๆ เหงาๆ ไม่มีอะไรทำ ผมก็จะมานั่งอ่านหนังสือ รับลมเย็นๆ ดูวิว ดูหมวยบ้าง ตามประสามนุษย์ชิวแบบไม่มีตังค์จะไปเที่ยวหรือสังสรรค์แบบชาวบ้านเขา

ความผูกพันระหว่างผมกับสถานที่แห่งนั้น ที่มีต้นลำพูร้อยปียืนต้นอยู่ ก็มีเท่านั้นแหละครับ.. ฟังดูไม่โรแมนติกเลยใช่ไหม ก็มันจริงนี่หว่า เดี๋ยวจะหาว่าอินเกินเหตุหรือว่าอะไร แต่ตอนที่ได้ยินข่าวว่าอ้าว เขาตัดอีต้นนี้ทิ้งไปแล้วเหรอ ก็คงมีความรู้สึกโหวงๆ ขึ้นมา ว่าเออ เสียดายว่ะ ธรรมชาติของต้นไม้ชายเลนแบบนี้ที่จริงมันสามารถแตกหน่อแตกกอออกมาได้เรื่อยๆ เนอะ แต่กว่าอีต้นรอบๆ จะโตได้ขนาดต้นแม่มันก็ไม่รู้จะนานแค่ไหน แถมวิสัยทัศน์ของผู้รับผิดชอบการดูแลก็ไม่รู้จะใส่ใจกับ “เรื่องกะโหลกกะลาแค่นี้” ขนาดไหน

ตอนปี พ.ศ.2545 (2002) ผมขอขูดรีดเงินจากพ่อแม่ (ที่ไม่ค่อยจะมีอยู่แล้ว) มาซื้อกล้องดิจิทัลได้สำเร็จ สมัยนั้น Fuji Finepix 6800Z ในตำนาน ราคาฝากเพื่อนหิ้วจากญี่ปุ่นคือ 14000 บาท) ที่ซื้อเพราะข้ออ้างในการเรียนด้วย (ทุกคนควรมีกล้องเพราะใช้ในการออก Site ..แต่ผมไม่มีตังค์ซื้อฟิล์มบ่อยๆ เลยไปศึกษาเรื่องกล้องดิจิทัลมา ก็ได้รุ่นนี้ ทุกวันนี้ยังชอบดีไซน์มันอยู่เลย แถมภาพออกมาก็ไม่ได้แย่สมเป็นกล้องดิจิทัลยุคโบราณซะหน่อย

Continue reading บางลำพูในวันที่ยังมีต้นลำพู

คอมเมนต์

ในวันที่ข้าพเจ้าขี่รถเครื่อง

มีโจทย์ที่ตั้งไว้กับตัวเองเล่นๆ อยู่อย่างนึงว่า ในชีวิตมนุษย์เงินเดือนนี้ ผมไม่อยากเป็นหุ่นยนต์ หรือโดนวิถีแห่งคนกรุงกลืนกินเกินไปนัก ถึงมันจะดิ้นออกจากวิถีนี้ยากสักหน่อย (ใครมีเมียมีลูก ผ่อนบ้าน และไม่ได้มีตังค์เยอะๆ ที่หล่นมาจากพ่อแม่ฟรีๆ ก็จะเจออะไรคล้ายๆ กันนี้แหละ ใครที่รอดไปได้ก็น่านับถือครับ) แต่ก็จะพยายามหาขนูกขนมมาเติมให้ชีวิตมันมีอะไรกรุบกริบแก้อาการชีวิตวนลูปซ้ำซากให้ได้

การเดินทางไปทำงานก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำลายสมรรถนะในการดำรงชีพของคนที่ต้องหากินอยู่เมืองกรุงซะส่วนใหญ่ ตราบใดที่ระบบขนส่งมวลชนมันยังไม่ทั่วถึง ปัญหานี้ก็จะไม่มีวันหมดไปจากประเทศไทย ไม่ว่าจะมีรัฐบาลเทพขนาดไหนก็เหอะ

โดยเฉพาะผมแล้ว ตอนสมัครเข้าทำงานที่บริษัทนี้ พอเขาถามว่ามีเรื่องอะไรที่กังวลบ้าง ผมก็นึกออกอยู่แค่เรื่องการที่ต้องใส่รองเท้าหุ้มส้นไปทำงาน (เป็นคนตีนเหม็น ถ้าไม่คอขาดบาดตายจริงๆ ก็จะพยายามใส่รองเท้าแตะให้ได้ตลอดชีวิต) กับเรื่องการเดินทาง ว่าไม่แฮปปี้ที่จะต้องเดินทางนานๆ ซ้ำๆ กันทุกวัน ถ้าเป็นไปได้อยากทำงานอยู่ที่บ้านผ่านอินเทอร์เน็ตง่ายๆ วันละ 3-5 ชั่วโมง แบบที่อีพวกสแปมห่าเดนในเฟซบุ๊กมันทำกันด้วยซ้ำ .. ก็บริษัทเรามันทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี่นา งี้ก็ทำเป็น Virtual Office เลียนแบบไทเกอร์เขาดีกว่าเนอะๆๆ … แต่ข้อเสนอหลังนี้โดนปัดตกไปทันที เพราะว่าเรายังไม่เปรี้ยวเท่าบริษัทที่พาดพิงตะกี้ครับ

โอเค ช่างมัน อย่างน้อยก็ได้รับอนุญาตให้ใส่รองเท้าแตะได้ ชีวิตคงไม่เลวร้ายเกินไปนัก

ทีนี้ก็มาดูปัญหาที่เหลือ.. เรื่องการเดินทาง แต่ละวันการเดินทางจากลาดปลาเค้าถึงเพลินจิต (ซึ่งซับซ้อนเหมือนกัน และไม่มีทางสัญจรด้วยรถต่อเดียวได้แน่ๆ) ผมไม่อยากให้มันซ้ำกันทุกวัน เพราะกลัวไอ้อาการหุ่นยนต์ที่ว่าไว้ข้างบนน่ะ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ก็จะหาวิธีทดลองการเดินทางไม่ให้ซ้ำกับวันก่อนหน้าให้ได้ ดังนั้นบางวันก็ขึ้นกระป๊อ บ้างก็รถเมล์สายนั้นบ้าง สายนี้บ้าง เปลี่ยนป้ายรอบ้าง เปลี่ยนป้ายลงบ้าง นั่งพี่วินบ้าง แท็กซี่บ้าง (ไม่ชอบบรรยากาศอับๆ เงียบๆ ในแท็กซี่เลยไม่ค่อยได้ขึ้น) บางทีก็ให้เมียไปส่งไม่ไกลจากบ้านแล้วต่อรถตู้ (พอมีลูกก็เลิกวิธีนี้ไป) บางทีก็ลงเดินที่สถานีรถไฟฟ้าใกล้ๆ แล้วเดินต่อเอาบ้าง แวะซื้อผลไม้ หรือบางทีไปแวะหอเพื่อนยืมการ์ตูนมาอ่านก่อนไปทำงานก็ยังดี ฯลฯ

คือเส้นทางมันก็อีทางเดิมนี่แหละครับ แต่ขอบิด พลิกแพลงนิดนึงให้มันมีบรรยากาศบ้าง ได้มองข้างทางสักนิดให้ชีวิตมันมีอะไรไม่วนลูปหน่อย ดูลมๆ แล้งๆ แต่ก็นะ เราอยู่บนข้อจำกัดที่มันสนุกได้ไม่มาก

ทีนี้พอซื้อรถเครื่อง (ฟีโน่) มาได้สักพัก ทีแรกกะจะขี่แถวหมู่บ้าน ไปซื้อกับข้าวที่ตลาดแล้วขี่กลับแค่นี้ แต่พอไปสอบใบขับขี่ผ่านปั๊บ ป้ายทะเบียนอะไรก็ได้มาแล้ว บัดนี้องค์ประกอบชีวิตของผมเหมาะกับการหัดออกเดินทางไปทำงานด้วยรถเครื่องเสียที ตัวแปรในการเดินทางก็เปลี่ยนไป Continue reading ในวันที่ข้าพเจ้าขี่รถเครื่อง

คอมเมนต์