เพชรบุรี ดีจัง: เมืองเพชรกลับมาเจ๋งอีกครั้งด้วยการรีบูตของคนเพชร

phetchburi-dee-jung

ตอนนี้เพื่อนมัธยมชาวพรหมาฯ กำลังบิ๊วกันใหญ่เลยครับ ว่าไปเดินงาน “เพชรบุรี ดีจัง” แล้วแม่งเจ๋งมากๆ

เผอิญผมอยู่พัทยา (อยู่มาสามคืนละ) กับลูกเมีย เลยไม่ได้กลับไปเพชร ทั้งที่งานนี้เป็นงานที่คิดเออออว่าอยากไปตั้งกะได้ยินข่าวแรกๆ

จังหวัดเพชรบุรี ได้รับการกล่าวขานว่า “เป็นอยุธยาที่ยังมีชีวิต” จากวัดวาอารามโบราณสถานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ มีศิลปวัฒนธรรมที่โดดเด่นด้วยช่างสิบหมู่ หัตถกรรม และ การแสดงพื้นบ้าน ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีวิถีชุมชนที่สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น มีธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งป่าเขา แม่น้ำ ทะเล มีแม่น้ำเพชรบุรีที่ถือเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์มาช้านาน ประกอบกับมีภาคประชาสังคมทั้งเครือข่ายพลเมืองและเยาวชนที่เข้มแข็ง มีหน่วยงานราชการและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เห็นความสำคัญในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง

กลุ่มลูกหว้า จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในภาคีพื้นที่สร้างสรรค์ต้นแบบ พร้อมด้วย เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่มจาก 8 อำเภอของจังหวัดเพชรบุรี ภายใต้การสนับสนุนของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี, เทศบาลเมืองเพชรบุรี และ สถานีตำรวจภูธรเมืองเพชรบุรี จึงได้ร่วมกับ โครงการพื้นที่นี้…ดีจัง2กำลังสอง จัดมหกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ “เพชรบุรี…ดีจัง” ขึ้น ในวันเสาร์ และ อาทิตย์ ที่ 28-29 มกราคม 2555 เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ณ ถนนด้านหน้าและภายในลานวัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี

ทุกพื้นที่ในวัดใหญ่สุวรรณารามและถนนพงษ์สุริยาด้านหน้าวัด จะถูกเนรมิตเป็นลานกิจกรรรมพื้นที่สร้างสรรค์ ให้เด็กๆ และผู้ใหญ่ ใช้เวลาร่วมกัน สานสัมพันธ์ครอบครัว แสดงออกซึ่งจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้วิถีชุมชน ภูมิปัญญาพื้นบ้าน พบกับ ซุ้มกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและครอบครัว จากเครือข่ายเยาวชน“เพชรบุรี..ดีจัง” อาทิ มหัศจรรย์พวงมโหตร โคมยิ้มอิ่มสุข ใบตาลสานสนุก โดย กลุ่มลูกหว้า อ.เมือง, ปูนปั้นหรรษา จากกลุ่มเอเซียปูนปั้น อ.เมือง, ผ้ามัดย้อมพืชชายเลน โดย กลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าชายเลน โรงเรียนบางตะบูนวิทยา, ผ้าทอก่อรักษ์ กลุ่มกระสวยน้อย ท่าโล้ อ.ท่ายาง, โคมไฟรีไซเคิล จาก กลุ่มบ้านชะอาน อ.ชะอำ, ซุ้มน้ำพริกกะทิ วัฒนธรรมอาหารกะเหรี่ยง โดย กลุ่มยุวธรรมทูต อ.แก่งกระจาน, บายศรีสู่ขวัญ กลุ่มพุทธอาสา วัดแก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน, โมบายกะเหรี่ยง โดย กลุ่มหญ้าปล้องรักษ์ถิ่น อ.หนองหญ้าปล้อง

อันนี้ก็อปมาจากเว็บกระทรวงการท่องเที่ยวฯ เลยนะ (ที่เหลือยาวและ “ไม่” น่าสนุกสุดๆ ตามไปอ่านเองที่นี่) ซึ่งดูดีๆ สิ มันเป็นข้อมูลตั้งกะปี 2555!!

ซึ่งแบบ ก็อย่างที่รู้กันว่าอะไรก็ตามที่พอมันขับเคลื่อนด้วยความเป็นราชการ มันก็จะราชการ และน่าเบื่อง่วงเหงาอย่างที่เห็น

แต่อยู่ดีๆ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา อ.ท่ายาง (บ้านผมเอง) ก็ไปรื้อๆ เอาที่ดินติดแม่น้ำเพชรบุรี มาทำเป็นตลาดนัดเท่ๆ ตอนเย็น มีสะพานสลิงข้าม มีเรือเป็ด จัดสถานที่สวยงามน่าเดินเที่ยว และตั้งชื่อว่า “ท่าย์ข้ามภพ” (ท่าย์ คือท่ายาง ไม่รู้ไปเอาภาษาอะไรมาสมาสสนธิ) ซึ่งนั่นทำให้ผมหัวใจเต้นแรงมาทีนึงแล้ว เพราะมันไม่ใช่ตลาดที่เอาไว้ดึงดูดคนกรุงมาเที่ยวแบบสถานที่ฮิตๆ ที่เราเคยเห็นหรือเคยไป

แต่นี่คือทำมาเพื่อคนแถวนี้เลย ความชิกจงบังเกิดกับชาวบ้านชาวช่องจริงๆ!

กอปรกับสถานที่ท่องเที่ยวใหญ่ๆ ที่เอาไว้ดึงดูดคนกรุง (ผมเรียกกันเองเวลาคุยกะเมียกะเพื่อน ว่าแบบนี้เรียกว่าสถานที่แบบ “สลิ่มๆ” ขอบคุณคนคิดคำว่าสลิ่มขึ้นมา เวลาเราใช้คำนี้จะไม่ได้เป็นการดูถูกเหยียดหยามอะไรนะ แค่มันเป็นคำวิเศษณ์ที่ดูเจ๋งดี บอกพฤติกรรมรวมๆ แบบ stereotype ของคนที่ชอบอะไรแบบนี้ได้ดี อยากให้เป็นศัพท์ที่บรรจุลงพจนานุกรม) เช่นฟาร์มแกะ ซานโตรินี่ ชิคาด้า หรือ เวเนเซียที่เพิ่งเปิดใหม่ย่านชะอำหัวหิน ซึ่งสร้างมาอย่างมีระบบแบบแผนเพื่อเอาไว้ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างถิ่น โดยไม่ได้สนใจหรอกว่าบริบทรอบข้าง หรือพื้นฐานวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นยังไง ผมจะเฉยๆ กับที่แบบนี้ (ในขณะที่ลูกเมียชอบมาก ก็สลิ่มไงคะ)

แต่กับท่าย์ข้ามภพมันไม่ใช่ มันเท่ และเป็นความเท่ที่ลุงป้าชาวบ้านบ้านเราเก็ต

จนพอมีงาน “เพชรบุรี ดีจัง” (ที่จริงไม่น่าเว้นวรรคเลยนะ) ปั๊บ แรกๆ ผมก็เออ ไม่ได้อะไร จนพอเพื่อนที่อยู่เพชรมันบอกว่าเฮ้ย งานนี้เจ๋ง อารมณ์แบบงานวัดที่ปรุงสุกแล้ว ไม่ใช่แบบแสงสีเสียงตระการตาสมบัติเมทะนีแบบงานพระนครคีรี ซึ่งอันนั้นน่าเบื่อมาก มีแต่เฟอร์นิเจอร์ไม้ กับเต็นท์ขา่ยของกับขบวนพ่อค้าแม่ค้าคาราวานเดิมๆ

นั่นก็ไม่น่าเสียดายเท่าไหร่ เพราะพอจะนึกภาพออกว่า มันก็น่าจะเป็นงานเก๋ๆ ที่วัยรุ่นเดินแล้วยิ้มๆ แหละ เท่านั้นเอง

จนมาปีนี้ มาจัดอีกครั้งในช่วง 17-19 ม.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ผมมาพัทยาพอดี (เลื่อนไม่ได้) ก็ปรากฏว่าใครๆ ก็พูดถึงกัน พี่ชาย พี่สะใภ้ พ่อเพื่อน ลุงป้าที่ไหนก็บอกว่ามันเจ๋ง และอีแก๊งเพื่อนมัธยมแม่งก็แข่งกันอวดรูปความเท่ของงานมาให้ดูในไลน์

ไอ้ผมก็ไม่ได้อะไร ได้แต่ส่งสติกเกอร์ร้องไห้สวนกลับไป 36 แบบเท่านั้นเอง :05:

คือความเก๋มันระดับเดียวกะงานมันใหญ่มากที่เขาใหญ่ หรือที่ปาย หรือที่เชียงคาน สวนผึ้งอะไรแบบนี้เลยนะครับ (อ้าว ไอ้ที่ยกตัวอย่างมานั่นก็มีแต่สถานที่ประดิษฐ์ๆ สำหรับกินเงินสลิ่มชาวกรุงนี่นา) แต่อันนี้คือคนที่มาเที่ยวก็คือคนท้องถิ่นเอง! มันคือท่าย์ข้ามภพที่ขยายสเกลมาเป็นระดับจังหวัด และทำออกมาได้ดีมาก ตีโจทย์แตกกระจาย

กระจายขนาดที่เรียกได้ว่าล้างภาพเดิมๆ ของงานคนแก่อย่างงานพระนครคีรีประจำปีไปเสียหมดสิ้น และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับเพชรบุรีว่าเป็น “เมืองแห่งวัฒนธรรมที่มีชีวิต” ได้อย่างสุดยอด

นั่นเพราะผมมั่นใจมาตั้งแต่เกิดแล้วว่าจังหวัดนี่ฐานวัฒนธรรมแม่งเจ๋งจริง แต่ที่ผ่านมาหลายสิบปี คือโดนอิทธิพลของอะไรบางอย่างกดไว้ ทำให้กลายเป็นเมืองที่อุตส่าห์มีทรัพยากรที่ดีเลิศ แต่ดันวางไว้บนหิ้ง ไม่ได้เอามาปัดฝุ่นและทำให้มันดูสดใหม่อยู่เสมอ คือรอวันตายมานานมากๆ แต่วันนี้ “เพชรบุรี ดีจัง” ได้ทำลายความกากนั้นลงอย่างราบคาบ และสถาปนาตัวเองมาเป็นเมืองที่ไม่ต้องพยายามก็ชิกและเท่โคตรๆ ได้ด้วยพลังของคนรุ่นใหม่แบบเน้นๆ แบบเดียวกับที่อยู่ดีๆ ราชบุรีเพื่อนบ้าน ก็กลายเป็น “เมืองแห่งศิลปะ” ขึ้นมา และมันก็เท่ตามที่เขาต้องการจริงๆ

และจะยินดียิ่งถ้าทุกๆ จังหวัด หรือทุกๆ ชุมชน (แบบท่ายางเป็นต้น) ลุกขึ้นมาปัดฝุ่นและ “รีบูต” ตัวเอง จนสร้างชีวิตให้ชุมชนได้เป็นปัจจุบันแบบนี้ แม่งเท่ฉิบหายเลยครับ

pdj2

ไม่รู้ใครบ้างที่เหน็ดเหนื่อยและอยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้บ้าง ถ้าเผอิญกูเกิลผ่านมาเจอบล็อกตอนนี้ ผมขอกราบทีนึงนะครับ

ป.ล.
ไอ้ที่กรี๊ดมาทั้งหมดนี่คือพิมพ์ด้วยความเจ็บใจนะครับ โคตรอยากไป คราวหน้าไม่พลาด ใครจะไปมั่ง เดี๋ยวเรียก

ป.อ.
อ้อ มีเฟซบุ๊กด้วย แต่ไม่ค่อยมีอะไรเท่าไหร่

ป.ฮ.
อย่างที่บอกว่าตอนนี้อยู่พัทยา เหมือนมานั่งทำงานนอกสถานที่ ซึ่งเดินออกไปไม่เกิน 50 เมตรก็จะมีสถานรูดเสา และจิ๋มพ่นไฟแล้ว คิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งแปลกแยกอะไรอีกต่อไปแล้ว เพราะยี่ห้อนี้มันพะเข้ามาตามหลังสโลแกนคำว่าไทยแลนด์ในสายตาประชาคมโลกไปเรียบร้อย ก็ได้แต่ยิ้มสยามภูมิใจแหละเนอะ จิ๋มสาวกลางคืนนี่เพิ่มจีดีพีให้ประเทศนี้ไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่แล้ว

2557

2557

นั่งเล่นนั่นนี่อยู่ดีๆ ก็นึกว่าควรสำรวจตัวเองก่อนที่โอกาสแห่งวันปีใหม่นี้จะหมดลง และวันที่ 2 มกราคมที่จะถึงนี้ก็กลายเป็นแค่วันธรรมดากากๆ วันนึงเช่นเดียวกับวันอื่นๆ ที่เหลือทั้งปี (ความเท่าเทียมกันไม่มีในปฏิทิน)

ปีนี้เราก็เริ่มก้าวเข้าสู่ ไม่สิ ไม่ก้าวแล้ว กูมาทั้งตัวแล้ว เข้าสู่วัยผู้ใหญ่นี่แหละ ที่แบกความอะไรไม่รู้ไว้มากมาย กับอีแค่คำว่า “ผู้ใหญ่” ที่มันบีบให้เราต้องอ๊ะ ต้องเฮอะ ต้องอุ๊ยกับอะไรหลายๆ อย่าง

คนอายุ 32 ปีนี่มันคือผ่านชีวิตมาเกินครึ่งแล้วนะ สมมติว่าเรากะว่าจะแก่และอ้วนตายหล่อๆ ตอน 60 แสดงว่านี่เกินครึ่งชีวิตมาสองปีแล้ว ต่อไปนี้คือการนับถอยหลังด้วยความมืดมนล้วนๆ

เรายังจำความรู้สึกแรกที่ฟังชื่ออัลบั้ม “ฉลองครบรอบ 30 ปี” ของพี่ป้างได้อยู่เลย ห่ามาก พี่ครับ พี่เอาอายุตัวเองมาประกาศว่าแก่เลยเหรอ (หัวเราะ)

คือตอนนั้นหัวเราะ แต่ตอนนี้ เหล่าคนอายุ 30 มันเรียกเราว่าพี่กันหมดแล้ว

เหมือนที่เราอยู่ประถมและมองพี่ๆ ป.6 ว่าเจ๋งมาก กร้านโลกสุด เช่นเดียวกันกับมัธยม (พี่ ม.6) และมหาลัย (พี่ปี 5) หรือแม้แต่จบมามองคนเป็นหัวหน้าคน เป็นเจ้าของบริษัท คนที่ทำอะไรประสบความสำเร็จอย่างน่าจดจำด้วยความความตาลุกวาว

เราผ่านความรู้สึกนั้นมาไม่ทันไร พอรู้สึกตัวอีกที ตัวเองก็ได้ยืนในจุดที่ว่ามาแล้วเกือบทั้งนั้น เป็นจุดที่เมื่อก่อนเคยรู้สึกว่ามันไกลและยิ่งใหญ่มากๆ แต่พอผ่านมันมาปั๊บ อ้าว ก็ธรรมดานี่หว่า

มองไปที่คนอื่นๆ เราก็พบว่าใครๆ ที่ก็ต่างมีภูเขาให้ปีนกันคนละลูก บางคนเริ่มก่อน บางคนเริ่มช้า บางคนปีนเก่ง บางคนล้มลุกคลุกคลาน บางคนเพิ่งปีนแต่แซงเราไปแล้ว (เป็นธรรมดาที่เอาเข้าจริงก็อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้นะ)

แต่พอก้มมองมาที่ซอกไข่ของตัวเอง ผ่านมากี่ปี กี่สถานะแล้ว ทำไมเรายังเหมือนเดิมเลยวะ ยังคงเป็นผู้ใหญ่ที่ใหญ่แค่บางส่วน (หมายถึงร่างกาย) แต่ข้างในยังเด็กเหมือนเดิม (หมายถึงกระเจี๊ยว) (ไอ้บ้า หมายถึงสมอง)

บางทีรู้สึกว่าเราหยุดปีน แล้วนั่งอ่านการ์ตูนเล่นตรงเชิงเขา จะว่าเป็นความชิว บางครั้งก็ไม่ใช่ เพราะบางครั้งก็คือความขี้เกียจ เราเบื่อหน่ายกับอะไรหลายอย่างในสังคมของการปีนเขานี้ จนไม่อยากปีนแล้ว เราอยากหยุดตั้งแต่ตอน ม.ปลาย ที่ได้ยินบทสะกดจิตที่สลักไว้หลังคู่มือตำราระดับเทพของเพื่อน ที่ได้มาจากสถาบันสอนพิเศษแห่งนึง จำชื่อไม่ได้ บอกว่า “ขณะที่เธอกำลังเดิน อยากให้รู้ว่ามีคนก้าวเร็วกว่า และขณะที่เธอกำลังหยุดเดิน คนอื่นๆ ก็แซงเธอไปหมดแล้ว” (จำไม่ได้แต่ประมาณนี้แหละ)

ไอ้เหี้ยเอ๊ย

รู้สึกเลยว่านั่นเหมือนเป็นจุดเปลี่ยนทางความคิดของเรามาจนถึงวันนี้ ว่าเฮ้ย กูไม่ไปแล้ว กูจะลง หรืออย่างน้อยกูขอไปตามทางของกูได้ไหม ในขณะที่เพื่อนคนนั้นที่เป็นเจ้าของตำราดังกล่าว มันเคารพนับถือและบูชาข้อความนั้นดั่งคาถาเรียกเกรด

เราจึงเลือกทางเดินเอง และเดินมาทางนั้นเรื่อยๆ อย่างราบรื่นบ้าง กระท่อนกระแท่นบ้าง ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่มีจำกัด คือถ้าคนมันจะอยากแนวนี่ก่อนอื่นต้องมีเงินพอใช้นะ ซึ่งบังเอิญเราไม่ค่อยจะมี 5555

ผ่านมาหลายปี จนนี่คือปี 2557 แล้ว

มองย้อนกลับไป เรารู้สึกช่างแม่ง และขอบคุณกับหลายเรื่อง

มองซ้ายมองขวา เราเห็นปัจจุบันที่ดี เรามีครอบครัวที่ดี (ภูมิใจมาก) เรามีเพื่อนที่ดี (ไอ้ที่เลิกคบเราไปหมดแล้วก็ถือว่าไม่ดีละกันนะ) เรามีสังคมที่ดี (ไอ้ที่ตีๆ กันออกทีวีและเฟซบุ๊กทวิตเตอร์ทั้งหลายนี่ก็ถือว่าดี คืออะไรก็ได้ที่มันยังขยับตัวเราว่าดีหมด)

มองไปข้างหน้า รู้สึกอุ่นใจที่อย่างน้อยยังรู้สึกว่ามีอะไรสนุกๆ และเติมพลังชีวิตแบบนี้ให้ทำอีกเยอะมากๆ

จึงตั้งใจอย่างยิ่งว่าเราขอถือหลักกิโลแห่งปี 2557 นี้เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตครึ่งหลัง เราจะสวมชุดผู้ใหญ่อ้วนๆ ที่สามารถบรรจุเด็กไม่ยอมโต (ยกเว้นกระเจี๊ยว) เอาไว้หนึ่งหน่วย เด็กคนนี้สามารถทำอะไรเพ้อเจ้อ ผิดพลาด มุทะลุ ทำอะไรแบบที่โลกของผู้ใหญ่ไม่ค่อยอนุญาตให้ทำอยู่เสมอๆ แต่บางอย่างที่เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ที่แย่ๆ เราก็จะสนับสนุนมันเช่นกัน เช่นความขี้เกียจที่จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำอะไรเพื่อคนอื่นน้อยลงเรื่อยๆ เห็นแก่ตัว(และครอบครัว)มากขึ้นเรื่อยๆ

ทั้งหมดนี้เราจะไม่พยายาม เพราะเราขี้เกียจ

อยู่บนถนนต้องมองให้เห็นแววตาคนขับรถ

แปลเป็นไทยว่าใจเขาใจเรานั่นแหละ จะเขียนให้ยากทำไมไม่รู้

คือเมื่อวานซืนเจอกรณีนี้มา

ทีแรกจะด่า แต่นึกคำว่าไอ้เหี้ยไม่ทัน ไม้ทันกระทั่งจะบีบแตร เลยช่างมัน พอผ่านมาสองวันก็ก็รู้สึกผิดว่าไม่ควรช่างมัน เลยเอามาเขียนหน่อย

คือผมเป็นมนุษย์ที่เกลียดการเดินทางในกรุงเทพฯ ดังนั้นถ้าเลือกได้ก็จะเปลี่ยนวิธีการเดินทางสารพัดสารเพ เท่าที่ร่างกายจะอำนวย มีทั้งโดยสารรถกระป๊อ รถเมล์ รถสองแถว รถแท็กซี่ (อันนี้น้อยที่สุด ไม่ชอบ) รถไฟฟ้า รถตู้ ส่วนที่บังคับเองก็มีทั้งรถยนต์ (ใช้เวลาไปไหนกับลูกเมีย) รถเครื่อง (เวลารีบโคตรๆ) และรถจักรยาน (เวลารีบน้อยลงมานิดนึง) ซึ่งตอนนี้ผลักดันตัวเองให้กลายเป็นมนุษย์จักรยานได้สำเร็จแล้ว ถึงจะไม่ได้ไปร่วมกีซนหรือเข้าสมาคมใดๆ เลยก็ตาม (ลุงๆ ป้าๆ ที่เขาขี่กันก็ไม่เห็นต้องเข้าสมาคมอะไร)

เนื่องจากตัวเองขับ ขี่ และโดยสารรถมาหลายแบบ ก็เลยพอเข้าใจว่าธรรมชาติของรถแต่ละแบบมันต่างกันยังไง และการอยู่ร่วมกับรถแต่ละแบบนั้นต้องทำยังไง ผมเลยเลือกไม่บีบแตรด่าใคร (ยกเว้นจะเหี้ยเกินมาตราริกเตอร์ที่กำหนด ซึ่ง 1 ปีมีประมาณ 1 เคส)

แต่กับคนที่ไม่เคยหรือไม่ค่อยได้ลองสังเกตว่าพาหนะอื่นมีสรรพคุณ อุปนิสัยยังไง อุบัติเหตุมันเลยเกิดจากอะไรแบบนี้บ่อยๆ

เช่นที่บ่อยที่สุดคือเวลาขับรถยนต์จะเลี้ยวซ้ายออกจากซอยเข้าถนนใหญ่ จะมีรถเครื่องที่แซงซ้ายแว้บ แต่เราในฐานะคนขับรถยนต์ เรามองขวาไง เกือบชนไปหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไมไ่ด้ประเดิมสักที

หรือเวลาขับหรือขี่ตามหลังรถยนต์ เรารู้ว่ารถยนต์ทุกคันมีมุมอับสายตา (ตอนอบรมก่อนสอบใบขับขี่ก็มีคลิปอธิบายให้ดูนะ) เราก็จะเลือกทิ้งระยะ หรือถ้าอยู่ใกล้อยู่แล้ว ก็จะขยับไปในมุมที่กระจกมองข้างหรือกระจกหลังสามารถมองเห็นได้

หรือเวลาขี่จักรยาน มีบ่อยครั้งที่ต้องสอดแว้บ แฉลบไหลผ่านข้างๆ รถเมล์เวลาติดไฟแดง ผมจะหยุดทำการแว้บเมื่อเห็นไฟเคานต์ดาวน์เริ่มใกล้จะเขียว หรือจังหวะที่รถข้างหน้าเริ่มขยับ นั่นแหละ โชเฟอร์เขาจะไม่เห็นเราแล้ว และเราก็จะกลายร่างเป็นกบแบนกลางถนน

หรือแม้แต่การปฏิบัติตัวกับคนขี่จักรยานเอง เรารู้ว่าแม่งถ้าปั่นมาเร็วๆ แล้วต้องมาบีบเบรกมือจนเสียความเร็วเพราะติดรถชาวบ้านนี่เป็นสิ่งที่เซ็งมาก ดังนั้นเวลาขับรถเจอจักรยาน ผมเลยให้ทางจักรยานไว้ก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนพอรถติดเราก็จะเว้นช่องไว้ให้พอดีๆ เสมอเป็นนิสัยหยุมหยิม

ยังมีอุบัติเหตุอีกมากมายที่เกิดขึ้นเพราะเราไม่เข้าใจธรรมชาติของอีกฝ่าย จนมีฝรั่งเขาทำแคมเปญรณรงค์สำหรับคนี่จักรยานกับรถสิบล้อ ว่าลองมาสลับกันขับไหม จะได้รู้ว่าอีกฝ่ายเห็นอะไร คิดอะไร

ที่มาและรายละเอียดจากบล็อกนี้: เหตุผลที่คุณไม่ควรปั่นข้างรถบรรทุก

อ้อ ยังมีอีกอย่างคือแถวบ้านผมจะมีไฟแดงคนข้ามอยู่หลายแห่ง ไม่ว่าผมจะเป็นผู้ข้ามเอง หรือเป็นรถที่จอดรอให้เขาข้ามเสร็จแล้วค่อยไป (คือเหมือนเป็นกติกาที่เออออกันกลาๆ ว่า ถ้าคนข้ามเสร็จแล้ว รถก็ไปได้) และเกลียดมากเวลามีคนกดไฟแดงขึ้นแล้ว แต่รถไม่หยุด ปล่อยให้คนข้ามต้องรองวดถัดไปอีกครั้ง คือถ้าเจอผมจะจ้องหน้ามัน คือทำอะไรก็ไม่ได้ไง แค่จ้อง จ้องผ่านกระจกรถ ลึกเข้าไปให้ถึงแววตาของมัน เจ็บปวดหรือเปล่าไม่รู้แต่กูจ้องไว้แล้วแหละ คือมึงไม่ได้แค่ไร้น้ำใจนะ นี่มึงทำผิดกฎหมายด้วย กูจะฟ้อง กปปส.

ป.ล.
นึกถึงเรื่องจักรยานที่โอซาก้า ไปมาตั้งกะเมษายังไม่ได้เขียนซะทีจนลืมหมดแล้ว
ไว้คราวหน้าเลยละกัน ตอนนี้อู้งานอยู่

ลาดปลาเค้าถึงราชดำเนิน: ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

เมื่อวานปั่นไปดูม็อบมาครับ (อย่าเพิ่งอี๋ อ่านบล็อกที่แล้ว: ทัศนคติด้านการเมืองของข้าพเจ้าก่อน)

คืองี้ ตั้งใจว่าจะลองไปดูบรรยากาศการชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสักวัน และตั้งใจว่าจะลองปั่นจักรยานไป เลยเลือกเอาวันที่ท่าทางอากาศจะไม่ร้อนมาก ก็คือมีเมฆเต็มฟ้าเนื่องจากพายุดีเปรสชันลูกก่อนหน้า แถมยังเป็นวันศุกร์ด้วย คิดว่าบรรยากาศช่วงหัวค่ำน่าจะคึกคักดี เพราะสถานการณ์ที่นักการเมืองกำลังยื้อกันไปยื้อกันมา และบิ๊วอารมณ์ผู้ติดตามข่าวนี้อยู่ให้รู้สึกว่ากูต้องไปดูของจริงหน่อยละ ทำให้วันศุกร์ที่คาดไว้ว่าคนน่าจะมากันเยอะ ก็เยอะจริงๆ รวมพนักงานออฟฟิศที่วันเสาร์ไม่ต้องทำงาน ก็สามารถมาร่วมฯ ได้อีก ด็โอเค บ่ายสามปั๊บ จะเริ่มปั่นไปละกัน

แต่ปัญหาคือ แม่งไกล..

เนื่องจากผมเป็นพวกมนุษย์หน้าคอม ที่ร่างกายปวกเปียก คือไม่ได้ออกกำลังกายอะไรเลย ดังนั้นกล้ามเนื้ออะไรก็ไม่มี จักรยานที่มีปกติผมก็เอาไว้ปั่นแค่ซื้อก๋วยเตี๋ยวแถวบ้าน หรือปั่นเล่นตอนไปเที่ยว ที่เคยคึกสุดก็ปั่นจากเซ็นทรัลเวิลด์กลับมาบ้าน กับปั่นจากบ้านไปเมืองทองธานี แวะนอนบ้านพี่ติ๊กพี่เจน แล้วเช้ามาก็ปั่นต่อไปปทุม เรื่อยๆ ก็งวดละไม่ถึง 20 กิโล เท่านี้ก็เมื่อยขาและปวดไข่แล้ว แต่นี่ลองดูระยะทาง มันประมาณ 20 กิโลนิดๆ ไปกลับก็ 40 เศษๆ นี่กูจะตายเอาไหมนะ แถมถ้าขากลับเกิดดึกขึ้นมา จะโดนโจรปาดคอแบบไอ้ปิง (เพื่อนที่โดนจี้ทำร้ายก่อนนักข่าวที่เป็นข่าวดังๆ เมื่อช่วงต้นปีนี้แค่วันเดียว) ไหมนะ แล้วถ้าฝนตกขึ้นมา จะแบกขึ้นแท็กซี่ดีไหมนะ เขาจะรับไหมวะ เปียกแบบนั้น ฯลฯ

ก็เลยช่างแม่ง ให้ได้ปั่นออกมาก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน

เลยถีบรถมาเรื่อยๆ ครับ พบว่าบ่ายสามครึ่งที่ฟ้ากำลังครึ้มๆ นั้นปั่นสบายมาก ไม่ร้อน ตัวไม่เหนียว แม้ไม่ได้พกน้ำติดตัวมาก็ปั่นได้ยาวจนเกือบถึงที่หมายเลย

ที่บอกว่าเกือบ ก็เพราะหลงครับ ไปหลงเอาตั้งกะข้ามทางรถไฟแถวถนนพระรามห้าพระรามหก แล้วก็ขี่มั่วไปเรื่อยๆ จอดดูแผนที่กูเกิลเรื่อยๆ ถนนแมวอะไรไม่รู้จักสักเส้น แต่เชื่อว่าที่สุดแล้วมันต้องไปถึงจนได้ล่ะน่า

แล้วก็มาถึงครับ

คือพอคุ้นๆ กะถนนแถวสุโขทัย พิษณุโลก (แค่ชื่อถนนก็งงแล้วเห็นมะ) ปั๊บ หันไปมองทางซ้าย อ้าว แม่งเขมรเฉยเลย

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

คือมันเป็นแนวสกัดม็อบของตำรวจน่ะครับ มีแผงแบริเออร์ สลับกับลวดหนามเป็นทุ่งใหญ่นเรศวรเลย

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

โดยฝั่งที่ผมเอากล้องไปตั้งไว้ข้างบนเนี่ย สูงสัก 180 ซ.ม.ได้ กะว่ากันซอมบี้บุกได้เลยนะ

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

มองฝั่งนู้นก็เห็นตำรวจในชุดปราบจราจลเต็มยศนับร้อยๆ นาย แบบที่เคยเห็นแค่ในภาพข่าว แต่นี่พอเจอจริงๆ ก็หลอนอยู่เหมือนกัน แบบ ถ้าเกิดมีเหตุอะไรขึ้นมา กูอยู่ตรงคงปั่นหนีไม่ทันแน่ๆ

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

ถ้าจำไม่ผิด ตรงนี้คือสะพานมัฆวานรังสรรค์ครับ หันกลับมาทางฝั่งเรา ก็มีกลุ่มประชาชนจำนวนมาก นั่งๆ ยืนๆ คุยกันบ้าง ถ่ายรูปบ้าง ส่วนหนึ่งก็เตรียมอุปกรณ์ไว้เขียนและพ่นสีกำแพง เป็นกราฟิตี้หรือจะเขียนด่ารัฐบาลก็แล้วแต่จะสะดวก

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

ได้ยินเสียงปราศรัยบนเวที เนื้อหาเกี่ยวกับคดีเขาพระวิหาร ฟังแล้วไม่หยาบคายนะครับ ต่างจากภาพที่คิดไว้พอสมควร (เข้าใจว่าเป็นนักวิชาการมาให้ข้อมูล มากกว่านักรณรงค์ที่เน้นปลุกระดม) พอเดินไปถึงช่วงที่เป็นเวที ก็พบคนจำนวนหนึ่งนั่งฟังอยู่ ไม่เยอะครับดังภาพข้างบน นอกนั้นก็ท่าทางจะทยอยมาสมทบเรื่อยๆ

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

คือเราตามข่าวแค่ในเว็บกับในทีวี (ซึ่งก็ดูผ่านยูทูบอีกที) ก็เลยไม่ค่อยรู้ว่าม็อบแต่ละม็อบมันอะไรยังไงกัน คือผูกพิกัดแผนที่ไม่ถูกน่ะ พอมาเห็นของจริงเลยเข้าใจครับ เวทีนี้น่าจะเป็นของ คปท. โดยอยู่บนถนนราชดำเนิน (กลางใช่ปะ) หันหน้าไปฝั่งทำเนียบรัฐบาล โดยแนวรบของตำรวจก็ปกป้องอยู่ฝั่งทำเนียบฯ นี่เอง

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

ฟังสักพักก็ปั่นต่อมา เลยกระทรวงศึกษาธิการ แล้วก็แยกที่เลี้ยวไปขึ้นสะพานพระรามแปดน่ะครับ ตรงนี้การจราจรเปิดปกติดี โดยมีพี่วินตั้งคิวรออยู่ตลอดทาง เชื่อเหลือเกินว่าช่วงนี้คือช่วงโกยเงินเลยแหละ เพราะคนเข้าออกกันเยอะมาก

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

อีกม็อบนึงอยู่ตรงแยกผ่านฟ้าครับ เจ้าภาพคือกองทัพธรรม มีเต็นท์ใหญ่ๆ เหมือนกัน แต่ไม่ได้ตั้งขวางตรงแยกนะ คืออยู่บนถนนเส้นเดียวกะม็อบตะกี้ ดูเป็นสัดเป็นส่วนดี

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

มีคนฟังประมาณนี้ครับ เต็นท์ใหญ่ๆ นี้มีสองหลัง พอดีเลนส์กล้องมันเก็บภาพกว้างไม่ได้ (แบกขี่จักรยานมานะเว้ย)

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

หลักฐานของการปักหลักครับ มีเต็นท์อยู่เต็มไปหมดเลย

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

ก่อนหน้านี้ผมจะ “อะไรวะ” เวลาเห็นใครที่แสดงความเห็นด้านการเมืองแบบเข้าข้างรัฐบาล แล้วจะบอกว่าตรงข้ามกับแดงคือเหลือง เฮ้ย คือประชากรไทยมันถูกเหมารวมจนเหลือแค่นี้เหรอวะ แล้วสีเหลืองนี่คือยังไม่สูญพันธุ์เหรอวะ… พอมาได้เจอจริงๆ ก็พบว่าคนเสื้อเหลือง (แล้วเรียกตัวเองว่าเหลืองด้วยนะ) นั้นมีอยู่เยอะมากครับ คือปกติตัวเองจะคลุกคลีแต่กับข่าวสารจากฝั่งเสื้อแดง ฝั่งที่เรียกตัวเองว่าลิเบอรัลงี้ พอมาเจอว่าเออ มีกลุ่มคนที่มีรสนิยมด้านการเมืองแบบที่เห็นจากเว็บผู้จัดการอยู่เยอะจริงๆ นะ นี่ก็ช่วยเปิดกบาลตัวเองให้หายโลกแคบได้ดีเหมือนกัน

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

ฟ้าเริ่มมืด ขยับตัวไปหาอนุสาวรีย์ครับ ก็เห็นว่าอยู่ไกลลิบๆ นู้น แต่ที่แน่ๆ คือการจราจรแถวนี้เป็นอัมพฤกษ์ไปแล้ว ราชดำเนินแถบผ่านฟ้ากลายเป็นที่จอดรถไปเลย

20131108 ปั่นจักรยานผ่านประชาธิปไตย

ถึงชายแดนของม็อบใหญ่แล้วครับ ปลายแถวอยู่แยกที่มีป้อมมหากาฬ โดยมีพี่วินประจำการอยู่ 1 กองร้อย

เนื่องจากบล็อกจะยาวไปละ ขอซอยแบ่งหน้านะครับ กดดูต่อเอาจ้ะ

ประชาธิปไตยและการเมืองไทยในทรรศนะของข้าพเจ้า

democrazy

เมื่อเย็นวานเป็นวันแห่งการเป่านกหวีดสำหรับม็อบใหญ่ เป็นม็อบที่ท่าทางจะจุดติด และน่าสนใจที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา เพราะประเด็นที่ฝ่ายรัฐบาล “เชิญแขก” มานั้นแข็งแรงมากๆ คือมีเหตุผลเข้าท่า หากจะนำไปสู่การล่มสลายของรัฐบาลได้เลย ..หรือที่จริง การมีม็อบรณรงค์อย่างบริสุทธิ์ใจนั้นไม่เคยมีครั้งไหนที่สามารถล้มรัฐบาลได้เลย …จนกว่าจะมีคนตาย – เอาจริงๆ แกนนำม็อบเลยยิ้มที่มุมปากเสมอเวลามีคนตายไงล่ะ เป็นตำรายุทธพิชัย :(

เดี๋ยวๆ ก่อนที่จะเข้าเรื่องม็อบ มาเข้าเรื่องการเมืองก่อน

ไหนๆ เคยเขียนบล็อกบันทึกเรื่องทรรศนะส่วนตัวด้านพุทธศาสนาแล้ว ก็ขอบันทึกทัศนคติทางการเมืองหน่อย จะได้รู้ว่า ณ วันนี้ เราคิดแบบนี้ แล้ววันข้างหน้าจะเปลี่ยนไปแค่ไหน รวมถึงไม่รู้อีกกี่ปีข้างหน้าพอมาย้อนดู จะจำได้ไหม

ทีแรกกลัวว่าเสนอความเห็นแล้วจะดูโง่ แต่วันหนึ่งก็นึกได้ว่า ที่จริงประชาธิปไตยนั้นเป็นระบอบที่ถูกออกแบบมาเพื่อทุกคน ไม่ว่าจะโง่หรือฉลาด ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบการถกเถียงและแสงความคิดเห็นก็ตาม เมื่อคิดได้ดังนั้น เลยรู้สึกอุ่นใจขึ้นมานิดนึงว่า นอกจากเราแล้วก็ยังมีคนที่โง่ (และโง่กว่าเรา) อยู่เยอะแยะไป ก็ไม่เป็นไรนี่นา ทำไมต้องฉลาดก่อนแล้วค่อยมีสิทธิ์พูดล่ะ?

ประชาธิปไตยนั้นอนุญาตให้คนไม่สนใจการเมืองเลย สามารถอยู่ด้วยได้อย่างแฮปปี้พอๆ กะพวกหายใจเป็นการเมืองมิใช่หรือ

แต่อีกแว้บนึงก็รู้สึกว่า อุณหภูมิการเมืองในช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมามันเซนซิทีฟเกินไปนะ คืออยู่ดีๆ ใครก็ตามดันแสดงความคิดเห็นทางการเมืองขึ้นมา คนคนนั้นจะต้องถูกดึงเข้าวังวนดราม่า และถูกแปะป้ายอะไรสักอย่างลงบนตัวไปตลอดกาลทันที ช่างเป็นบรรยากาศที่ผลักไส และไม่เป็นมิตรต่อการแลกเปลี่ยนความเห็นโดยสันติเอาซะเลย

บรรยากาศในอุดมคติคือเรามานั่งพูดคุยเรื่องการเมืองกันเหมือนพอดูหนังจบเราคุยเรื่องหนัง พอออกไปกินข้าวแถวบ้าน เราคุยกันว่ามันอร่อยไหม แพงไปปะ คราวหน้ามากินอีกไหม ไม่ใช่แบบติ่งใต้น้ำหรือสาวกหน้ามืด ที่ทะเลาะกันแบบขาดสติ คือไม่รู้จะไปอินอะไรกันนักกันหนากับค่ายที่ตัวเองเชียร์ โอเค มันเกี่ยวพันกับชีวิตเรา แล้วข้าวร้านที่เราไปกินก็เกี่ยวกับชีวิตเราไม่ต่างกันไม่ใช่หรือ?

เริ่มยังไงดีหว่า นึกเป็นข้อๆ ไปละกัน

1.
ระบอบประชาธิปไตยต้องเป็นโอเพนซอร์ส
กติกาใดๆ ที่เลือกคนมาถืออำนาจนั้น “มันมีรูรั่วอยู่เสมอ” ไม่มีทางสมบูรณ์ได้เลย เพราะนี่เรากำลังเล่นเกมอยู่กับมนุษย์ที่มีขีดความสามารถในการดิ้นได้เสมอ และเพราะอำนาจคือผลประโยชน์ก้อนใหญ่พอที่จะลงทุนกับมัน ดังนั้น “ที่มาของอำนาจ” ที่ยังมีข้อบกพร่อง จึงไม่ใช่สิ่งพิสูจน์ความขาวสะอาดของผู้ชนะที่มีสกิลศรีธนญชัยได้นะครับ แต่ประชาธิปไตยคือระบอบที่ออกแบบมาให้ค่อยๆ คลำหาข้อบกพร่องนั้น และปรับแก้กันไปจนมันดีขึ้น แต่ก็ต้องอย่าลืมแยกกันให้ออกระหว่าง “การได้มาซึ่งอำนาจ” กับ “การใช้อำนาจ” นั่นแปลว่า ถ้าคนจะเหี้ย ก็สามารถใช้ช่องโหว่ของกติกาที่ดีไซน์ไว้ไม่รัดกุมพอ มาตักตวงผลประโยชน์เข้าตัวได้อยู่ดี กรณีศึกษามีเป็นร้อยเป็นพันให้เห็น (หันไปมองวงการฟุตบอล)
ในทางกลับกัน ถ้าเกิดจะไม่เอาละ ประชาธิปไตย กูอยากได้ระบบอื่นที่มั่นใจว่าได้ “คนดี” ชัวร์ (คนดีเนี่ย เป็นคำที่เขาประชดกัน และประโยคถัดมาก็จะตามมาด้วยพฤติกรรมลับๆ ที่เหี้ยๆ แล้วถามเย้ยๆ ว่า ไงล่ะ คนดีของมึง?) ก็ต้องบอกว่าอย่าเลย ขนาดประชาธิปไตยที่เป็นระบบที่ออกแบบให้มีการยืดหยุ่นและปรับปรุงนั่นนี่ได้เสมอ ยังเจอรูรั่วขนาดนี้ แล้ว “ระบบปิด” อย่างอื่นมันจะไปเหลืออะไร
นี่จึงเป็นหลักฐานที่ชี้ว่าอย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยเป็นกติการ่วมกันทางสังคมที่โอเคที่สุด ที่เปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูกไปอีกชั่วลูกชั่วหลานจนกว่าจะได้ระบบที่ลงตัวขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีหรอกที่สมบูรณ์ 100%
แต่ก็ใช่ว่าจะไปสรรเสริญไม่ลืมหูลืมตา ถ้าเจอข้อพกพร้อง ก็ต้องช่วยๆ กันแก้ ในหลายเวอร์ชันที่ผ่านมา เมื่อใดก็ตามที่มีการปรับแก้กติกา ไม่ว่าจะโดยประชาชนเอง หรือโดยกลุ่มผลอำนาจ กลุ่มประโยชน์ไม่กี่คนก็ตาม เราจะเห็นได้ว่ามันแอบยัดดอกจันตัวเล็กๆ ไว้เสมอ เช่น อยู่ดีๆ มาเร่งแก้ประเด็นจำนวน ส.ส.ในแต่ละเขตไรงี้ ซึ่งคนเสนอแก้ก็คือ ส.ส.เองที่กำลังถืออำนาจในการปรับกติกาอยู่ ไรงี้ (ซึ่งกติกาเราออกแบบให้พวกเขานั้นอำนาจเพื่อการนี้เองนี่หว่า) มันเลยเป็นโดมิโน่ไปสู่สิ่งอื่นๆ

2.
เชื่อในระบบการโวยวายของคนอย่างเราๆ เพื่อถ่วงดุล ตรวจสอบ (และประจาน) การกระทำผิดของผู้มีอำนาจในทุกวงการ ยิ่งเป็นยุคนี้ที่ทุกอย่างไฮเทคและโซเชียลพอ เรื่องอะไรแบบนี้มันทำได้ไม่ยากอยู่แล้ว เลยไม่ค่อยเห็นด้วยกับการบอกว่าถ้าไม่ชอบรัฐบาลทุจริต ก็ให้นั่งเฉยๆ อดทนสี่ปี แล้วค่อยเลือกพรรคอื่น เพราะกติกาออกแบบไว้ให้ประชาชนมีช่องทางเล่นงาน(ในกติกา) และรัฐบาลก็ต้องเงี่ยหูฟังว่าเขาด่าเรื่องอะไร
แต่การตรวจสอบที่ว่า พอมาใช้กับระบบราชการ ถ้าผิดจริงกลับถูกทำโทษด้วยการแค่ “ย้าย” ไปที่อื่น…

3.
ย้ำว่าการได้มาซึ่งอำนาจกับความสง่างามบนเก้าอี้มันคนละเรื่องกัน ทีแรกก็ไม่ค่อยเคลียร์เท่าไหร่นะข้อนี้ แต่พอเห็นตัวอย่างจากหนังสารคดี “ประชาธิปไทย” ของเป็นเอก ก็พบว่าพอใครก็ตาม (เอาตั้งแต่คณะราษฎรเลยเหอะ) ที่ลงทุนกับการเปลี่ยนแปลงมากๆ เมื่อขึ้นไปอยู่บนเก้าอี้ปั๊บ ก็จะยิ่งกอดแน่น เพื่อพยายามรักษาความมั่นใจของตัวเองว่าสิ่งที่กูทำมาตลอดนั้นถูก ถึงกูจะต้องเปลี่ยนคอนเซปต์นิดนึง แต่กูจะล้มลงไปแบบไม่สวยไม่ได้ บทเรียนนี้มีมาตลอด ใครยังไม่ได้ดูสารคดีเรื่องที่ว่า ลองหาดูนะ เขาเปิดฉายเรื่อยๆ

4.
หัวใจของระบอบประชาธิปไตยควรอยู่ที่สิทธิและเสรีภาพของประชาชน มากกว่าการโฟกัสไปที่ “กระบวนการการเลือกตั้ง” ซึ่งก็แค่ปากทาง คือการได้มาซึ่งผู้ปกครอง (ที่จริงต้องใช้คำว่า “ผู้บริหาร” มากกว่าผู้ปกครอง เห็นมะ ย้อนแย้งมะ) ดังนั้นนิยามของประชาธิปไตยมันจึงไม่ได้มีแค่การเลือกตั้ง (พูดแบบนี้นี่สลิ่มเลยนะ) แต่ต้องกลืนเป็นธรรมชาติกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา เช่น การใช้ชีวิตเป็นมนุษย์เงินเดือน ทำงานอยู่ในออฟฟิศ การใช้ชีวิตเป็นนักเรียนนักศึกษา เรามีสิทธิอะไรอย่างที่สมควรหรือเปล่า การขึ้นรถตู้ รถเมล์ รถไฟฟ้าล่ะ สิทธิของเราถูกเบียดเบียน หรือไปเบียดเบียนใครหรือเปล่า เราได้ทำอะไรที่อยากทำมากแค่ไหน อะไรที่เขาห้ามทำแล้วแต่เรารู้สึกว่ามันละเมิด เราลุกขึ้นพูด หรือแสดงออกอะไรบางอย่างเพื่อหาทางแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ไหม ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นตลอดเวลาแม้กระทั่งในหน่วยย่อยๆ อย่างครอบครัว ท้องถนน โรงเรียน ออฟฟิศ เว็บบอร์ด กรุ๊ปเฟซบุ๊ก ฯลฯ เลยนะครับ ไม่เห็นต้องไปเปิดช่องการเมืองแต่อย่างใด อยู่ที่เราจะสนใจมันหรือเปล่า แค่ไหนเท่านั้นเอง
จะเห็นว่าทั้งหมดที่ว่ามานี้มันใหญ่กว่าแค่เรื่องการเลือกนักการเมืองเยอะเลย

5.
ดราม่ากองเชียร์กีฬาสีในรอบหลายปีที่ผ่านมา ฝ่ายหนึ่งบอกว่าอยากได้การเมืองใสสะอาด ไม่ทุจริต ไม่คอร์รัปชัน อีกฝ่ายบอกว่าอยากได้สิทธิ หลักประชาธิปไตย แล้วสองฝ่ายก็ตีกัน บาดเจ็บล้มตาย คำถามคือ อีสองอย่างมันก็ไปด้วยกันได้ไม่ใช่เรอะ ทำไมฝ่ายหลังถึงไม่พูดเรื่องทุจริต และฝ่ายแรกมองข้ามเรื่องสิทธิหว่า หรือที่จริงก็มี แต่มันดึงอารมณ์ร่วมของมวลชนที่เป็นมุษย์คนละประเภทกันให้คล้อยตามได้ยาก ก็เลยเล่นผลิตวาทกรรมซ้ำๆ มันซะประเด็นเดียว ซึ่งก็ทำให้สงสัยว่าที่มวลชนเป็นแบบนี้เพราะการวางคอนเซปต์เพื่อแยกเขาแยกเราที่ว่านี่รึเปล่า เช่นฝั่งนึงก็จะตะโกนแต่ว่า เราต้องการคนดี คนเลวออกไป (อ้าวแล้วกติกาล่ะ) กับอีกฝั่ง แกนนำก็สะกดจิตมวลชน จนรู้สึกว่าเรามีพลังแค่การกากบาทเลือกตั้งเท่านั้น พลังการตรวจสอบหายไปจากพจนานุกรมเลย

6.
โตพอจะเข้าใจเรื่องการรัฐประหารก็เมื่อครั้งล่าสุดตอนปี 2549 ที่ผ่านมานี้เอง และเห็นข้อดีข้อเดียวของรัฐประหารครั้งนั้น คือทำแล้วคนเดือดร้อน ด่ากันฉิบหายวายวอดตั้งแต่ระดับชาวบ้านยันระดับนานาชาติ จนยากที่จะมีใครคิดลงทุนกับมันอีก เพราะพอถึงวินาทีนี้แล้ว คนส่วนใหญ่ในสังคม “ไม่เอา” รัฐประหาร ดังนั้นใครคิดจะ รปห ก็ลำบากหน่อย เดิมพันสูงกว่าเดิมมากๆ เผลอๆ จะมากจนผมชักจะกลัวว่า ถ้าเกิดมีขึ้นจริงมันจะยิ่งน่ากลัว และพาสู่สังคมโกลาหลได้อีกหลายปี แต่ไม่เคยเห็นคนรอบข้างทั้งออนไลน์และออฟไลน์ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล มาเชียร์ให้ทหารออกมารัฐประหารเลยนะ เห็นแต่บทความของฝ่ายเชียร์รัฐบาลนี่แหละที่พูดแต่ “กลิ่นรัฐประหาร” กันบ่อย และพูดมาตลอด เข้าใจว่าน่าจะมีไอ้บ้าสักตัวที่จะใช้กำลังแบบนี้จริงๆ

7.
สมเพชคนทะเลาะกันแล้วด่า “กด” ฝ่ายตรงข้ามว่าโง่ โดยใช้คำว่า “สลิ่ม” หรือ “ชนชั้นกลาง” หรือ “คนดี” เป็นนัยแฝง ในขณะที่อีกฝ่ายด่ากันตรงๆ ว่า “ควายแดง” เอาเป็นว่าไม่ว่าจะด่ากันด้วยอะไรถ้ามันคิดเผื่อไว้ว่าฝ่ายตรงข้ามอ่านแล้วจะรู้สึกถูกเหยียดหยาม แม่งก็ไม่ดีทั้งนั้นแหละ … เขาเรียกรวมๆ กันว่า Hate speech ใช่มะ

8.
เวทนาคนเสียเพื่อนเพราะกีฬาสี

9.
เชื่อว่าทุกเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องต้องห้ามอย่างเรื่องเจ้าเรื่องวัง ควรพูดคุยกันได้ ในเจตนาแห่งความสุภาพ มีเหตุผล (แน่นอนว่าต้องออกแบบกติกาให้รองรับการพูดคุยนี้ได้) คือ ตอนดูหนังประชาธิปไทยรอบสุดท้าย (ตอนนั้นคนดูแน่นโรงที่เอสพละนาดเลยนะ) จุดที่ฮาที่สุดคือตอนที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ในหนังพูดถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์แล้วโดนดูดเสียง (ใช่ หนังโดนกองเซ็นเซอร์สั่ง) คือปากขยับนะ แต่ไม่มีเสียง ปล่อยเงียบๆ แบบนั้น ยิ่งเงียบนาน เสียงคนดูหัวเราะยิ่งดัง เป็นตลกร้ายสุดๆ เลยครับ

10.
เห็นด้วยกับการเสนอให้แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยเฉพาะปริมาณโทษ และกระบวนการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด หรือผู้ต้องสงสัย คนที่ฟ้องไม่ควรเป็นใครก็ได้ (ที่มันมั่วๆ มาจนทุกวันนี้ก็เพราะการเป็นใครก็ได้นี่แหละ) แต่ควรมีหน่วยงานที่เหมือนอัยการสำหรับคดีแบบนี้ อาจเป็นหน่วยงานในสำนักพระราชวังก็ได้ — แต่ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกกฎหมายมาตรานี้

11.
ที่จริงข้อนี้เขียนไว้นานมากแล้ว แต่เพิ่งมารวมกันลงในบล็อกเดียว — ผมไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง (ตอนนั้นยังไม่มีคำว่าสุดซอย) ผมเห็นด้วยกับพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องการเคลียร์ความจริงให้เสร็จก่อนดัน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม คือความจริงทั้งหลายมันยังไม่ปรากฏ ก็เชื่อว่าไม่มีทางที่จะปรองดองกันได้ จะอ้างเหตุผลว่าอยากให้อุณหภูมิการเมืองสงบลงด้วยความปรองดอง แต่การจะได้มาซึ่งคำว่าปรองดอง (ที่ถูกนำมาใช้จนช้ำเละเนี่ย) มันต้องเคลียร์ปัญหาที่อยู่บนพรมและใต้พรมก่อน ไม่ใช่โบกปูนทับไปเลย
ส่วนเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นในไม่กี่วันที่ผ่านมา จนดัน พ.ร.บ.อย่างเรื่องที่จะขอกด undo การตัดสินของศาล ลามไปถึงปี 2547 นั้น อันนี้เหี้ยครับ ผมไม่ยอมรับครับ โอเค มันเป็นการผลิตซ้ำ และตอกย้ำข้อมูลที่ดิสเครดิตทักษิณจากฝั่งตรงข้าม ที่ทุกวันนี้ชิงชังกันจนถอยกลับไปไม่ได้อีกแล้ว แต่ในฐานะผู้ฟังข้อมูล เราเห็นด้วยกับเรื่องที่เขาประท้วงขึ้นมา มันเสียงดังพอที่คนเสื้อแดงจำนวนมากจะรู้สึกว่า เหี้ยแล้วไหมล่ะ

12.
ผมรังเกียจพรรคประชาธิปัตย์ แต่อาจจะน้อยกว่าเพื่อไทยที่มีข้อครหาเรื่องความไม่โปร่งใส เช่น ตัวเลขขาดทุนของการจำนำข้าว, เหตุผลในการสร้างเขื่อนแม่วงก์, ที่มาของพระราชบัญญัติเงินกู้ 2 ล้านล้าน รวมถึงเรื่องใหม่ที่เรียกแขกมาร่วมม็อบฝ่ายตรงข้ามได้เยอะมากจนน่าจะจุดติดแล้วแหละ อย่างเรื่อง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม… พอทั้งสองพรรคมันมีอะไรแปลกๆ ผมเองเลยคงเป็นพวกแกว่งๆ มากกว่าจะจม หรืออินอยู่กับพรรคใด (พี่ @malimali พูดไว้น่าสนใจว่าการเมืองเนี่ย ใครอินก่อนแพ้) คือถ้ามีอะไรน่าสนใจก็พร้อมฟัง
และขณะเดียวกัน เรากลับเห็นว่าการด่าว่านายกโง่ พากันไปขย่มที่จุดด้อย นอกจากความสะใจที่ได้พ่นความเกลียดชังแล้ว มันไม่ส่งผลดีอะไรกับฝ่ายตัวเองเลย คือถ้าแน่จริงมึงลองสู้แล้วเอาชนะฝ่ายตรงข้ามที่ฉลาดให้ได้สิ

13.
พอพูดถึงประชาธิปัตย์แล้ว ก็นึกขึ้นได้อีกข้อนึงว่า ในบรรดา ส.ส.ทั้งหมดนี่ ผมเชียร์แค่คุณอลงกรณ์นะครับ